รุ่งหรือดับ? เจาะลึกเบื้องหลังของโดรนแท็กซี่ Uber 5 ปีหน้า

  • 16
  •  
  •  
  •  
  •  

เรียกความสนใจได้ตลอดกับสตาร์ทอัพที่เพิ่งผันตัวจากธุรกิจโลจิสติกเป็นธุรกิจหุ่นยนต์อย่าง “อูเบอร์” (Uber) ที่กำลังพัฒนารถยนต์ไร้คนขับ และทดสอบบนถนนในซานฟรานซิสโกที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งคราวนี้โฟกัสไปกับเส้นทางและแผนที่มากกว่าการบรรจุผู้โดยสารในรถยนต์ไร้คนขับในช่วงทดลองที่พิทส์เบิร์ค

ไม่แน่ว่าในอนาคตอันใกล้ เราอาจได้นั่งชิวๆเช็กมือถือและอ่านหนังสือพิมพ์ ให้รถมันวิ่งไปถึงจุดหมายและหาที่จอดเอง ไม่ต้องแย่งที่จอดกับคนอื่นในตอนเช้าๆแล้ว แก้ปัญหาที่จอดรถในเมืองไม่พอได้อีกด้วย

และล่าสุดอูเบอร์กำลังพัฒนาบริการโดรนอูเบอร์รับส่งผู้โดยสารเพื่อแก้ปัญหาจราจรติดขัด แม้การพัฒนาอยู่ในช่วงเริ่มต้นแต่คาดว่าใช้เวลา 5 ปีถึงจะได้ยลโฉมโดรนอูเบอร์กัน

ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร เพราะสตาร์ทอัพอย่าง AeroMobil เคยสัญญาจะพัฒนาเทคโนโลยีที่คล้ายๆของอูเบอร์แก้ปัญหาจารจรด้วยการบินเช่นกัน

โดยอูเบอร์เผยถึงแผนใช้เทคโนโลยีการเทกออฟ และการแลนดิ้งในแนวดิ่ง ช่วยให้ผู้โดยสารเดินทางระยะไกลในเมืองสะดวกเหมือนรถของอูเบอร์ทั่วๆไป อูเบอร์ออกมาบอกว่าบริการนี้ในอนาคตจะถูกกว่าบริการรถธรรมดาของอูเบอร์เสียอีก เริ่มแรกจะเก็บค่าบริการอยู่ที่ 111 เหรียญต่อเที่ยว แต่ในระยะยาวจะอยู่ที่เพียง 20 เหรียญต่อเที่ยวในระยะทางเดียวกัน

ที่เด็ดกว่านี้คือผู้โดยสารใช้เวลาเพียงแค่ 15 นาที  นั่งจากซานฟรานซิสโกไปถึงซิลิคอน วัลเล่ย์ ถ้าเทียบจากกรุงเทพไปชะอำใช้เวลาแค่ 41 นาทีเท่านั้นเอง

c

 

เป็นไปได้หรือไม่ที่อูเบอร์ใช้พัฒนายานบินแค่ 5 ปี?

หลายคนอาจคิดว่าสิ่งที่ยากที่สุดคือการสร้างรถยานบิน แต่จริงๆแล้วอูเบอร์คาดว่าใช้เวลาเพียงแค่ 5 ปีก็สามารถผลิตเจ้ารถบินพลังไฟฟ้าที่บินได้ 100 ไมล์ที่ 150 เมตรต่อชั่วโมงออกมาได้แล้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านอากาศยานออกมาบอกว่า 5 ปีก็เป็นระยะเวลาที่สมเหตุสมผลอยู่ เพราะโบอิ้งและแอร์บัสก็เคยเปิดตัวส่วนประกอบที่มีน้ำหนักที่ใช้กับการบินพาณิชย์ โดรนสำหรับผู้โดยสารที่ติดตั้งใบพัดเฉพาะของมันก็อาจเป็นไปได้เช่นเดียวกัน

ส่วนเทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่ก้าวหน้าขึ้นมากก็เพราะคอมพิวเตอร์และรถยนต์พลังงานไฟฟ้า “เจฟ โฮวเดน” (Jeff Holden) Chief Product Officer แห่ง Uber Technology ได้ทำนายว่าอูเบอร์ได้ใช้อากาศยานติดปีกหมุนที่ทำให้ทะยานออกจากฐานเฮลิคอปเตอร์ได้แทนที่จะใช้รันเวย์ที่กินพื้นที่เยอะ และให้ใบพัดหมุนเคลื่อนไปข้างหน้าเพื่อการบินที่มีประสิทธิภาพที่สุด

 

a

 

b

แต่หากอูเบอร์ต้องการพัฒนายานพาหนะล้ำสมัยนี้ ก็ต้องรับมือกับอุปสรรคที่ตามมาแน่นอน

 

จุดลงจอดของโดรนแทกซี่มีเพียงพอหรือไม่?

อุปสรรคอย่างแรกคือโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับโดรนอูเบอร์ในชุมชนเมือง ซึ่งหากไม่พร้อม เช่นมีจุดที่โดรนอูเบอร์สามารถลงจอดได้ไม่เพียงพอ บริการนี้ก็จะไม่ได้รับความนิยมตามระเบียบ

ฉะนั้นอูเบอร์จึงต้องหาทางประสานหน่วยงานต่างๆโดยเฉพาะกับรัฐบาล ผู้ออกกฎหมาย ผู้ผลิตยานพาหนะ โดยเฉพาะผู้ที่มีแนวโน้มจะใช้บริการ มาพูดคุยให้ความเข้าใจถึงความต้องการของบริการการเดินทางทางอากาศที่มีมากขึ้นในอนาคต พร้อมทั้งแก้ปัญหาเชิงเทคนิค กฎหมาย และโครงสร้างพื้นฐาน นี่ไม่รวมการเตรียมนักบินให้พร้อม ประชาสัมพันธ์กับฐานลูกค้า แนะนำเส้นทาง และการเก็บค่าบริการอีกนะ

ข่าวดีก็คือเมืองส่วนใหญ่ในอเมริกายังพอมีโครงสร้างพื้นฐานรองรับยานบินอยู่ มีลาดจอดเฮลิคอปอยู่ 6,000 จุดทั่วอเมริกาซึ่งส่วนใหญ่มีเจ้าของ ซึ่งหากไม่มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับ อย่าว่าแต่ยานบินเลย ยานพาหนะอื่นๆก็ใช้ลำบากเช่นกัน ฉะนั้นอูเบอร์ต้องมั่นใจว่ามีทางออกสำหรับปัญหานี้ด้วย

“ถ้าเราพูดคุยและแก้ปัญหาพวกนี้ร่วมกันได้ทั้งหมด เราก็จะมีศักยภาพสำหรับการคมนาคมรูปแบบใหม่ๆ”  เจฟ กล่าว

e

 

รถบินได้เป็นเรื่องเพ้อเจ้อหรือทำได้จริง?

อุปสรรคอย่างที่สองของอูเบอร์ก็คือความคร่ำครึขององค์กรของรัฐบางแห่งที่คอยขวางไอเดียใหม่ตัวนี้ หากอูเบอร์ต้องการพัฒนายานพาหนะนะตัวนี้จริงๆ คงหนีไม่พ้นองค์กรอากาศยานกลางของสหรัฐฯที่พอได้ยินไอเดียตัวนี้แล้วบอกว่าไอเดียนี้มันก็แค่อยู่ใน “นิยาย” เท่านั้น

ฉะนั้นองค์กรนี้จึงไม่มีแนวคิดที่จะอนุญาตรับรองอากาศยานพลังไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ อย่างน้อยก็ตอนนี้ องค์กรนี้ไม่เคยอนุญาตเครื่องบินพลเรือนที่ใช้เทคโนโลยีการเทกออฟ และการแลนดิ้งในแนวดิ่งแบบที่อูเบอร์กำลังพัฒนาด้วยซ้ำ ในขณะที่ปัจจุบัน เนื่องจากอากาศยานเป็นที่ต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ ระบบการเดินทางมีการพัฒนาและไม่ได้ซับซ้อนเหมือนเมื่อก่อนอีกแล้วและสามารถควบคุมใบพัดหลายๆตัวได้พร้อมกันมากขึ้นนั่นเอง

และต่อให้องค์กรนี้เห็นชอบอนุญาตให้โดรนแทกซี่นี้ใช้งานได้ในชีวิตประจำวัน องค์กรนี้อาจต้องร่วมมือกับนาซ่ากำหนดระเบียบควบคุมจราจรการบินเสียใหม่ เพราะคงไม่มีใครอยากเห็นอุบัติเหตุโดรนชนกันกลางอากาศแน่ๆ

อย่างไรก็ตาม เจฟก็ยังมองในแง่ดีว่าตั้งแต่ยุคกลางปี 1990 องค์กรอากาศยานกลางของสหรัฐฯก็อนุญาตให้ภาคเอกชนสามารถร่างกฎกติกาที่ควบคุมอากาศยานรุ่นใหม่ๆได้ซึ่งก็พัฒนาและมีการรับรองมากขึ้นเรื่อยๆ พลังงานไฟฟ้าและซอฟท์แวร์ขับเคลื่อนกึ่งอัตโนมัติเป็นตัวสำคัญทำให้อากาศยานนั้นใช้งานได้ปลอดภัย

ซึ่งจะทำให้องค์กรนี้ยอมรับไอเดียในนิยายที่กำลังจะเป็นเรื่องจริงในอีก 5 ปีนั้นเป็นเรื่องยากจริงๆ

ยิ่งในเดือนมกราคมที่ผ่านมา อูเบอร์ก็สั่งหยุดให้บริการเฮลิคอปเตอร์ชั่วคราวในรัฐอูท่าห์ในงานเทศกาลภาพยนตร์ซันแดนซ์หลังจากที่เจ้าหน้ารัฐออกมาบอกว่าบริการนี้ละเมิดกฎหมายและความปลอดภัยของพลเมือง ซึ่งเจฟหวังว่าคงใช้เวลาอีกไม่กี่ปีพูดคุยโน้มน้าวผู้ออกกฎหมายท้องถิ่นยอมรับรถบินได้ตัวนี้เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรหนาแน่นบนท้องถนน เพราะบริการอากาศยานเริ่มเป็นที่ต้องการมากขึ้นเรื่อยๆแล้ว

 

 

ฉะนั้นหากอูเบอร์ต้องการเห็นโดรนแทกซี่ของตัวเองแล่นกลางอากาศบริการผู้โดยสาร แก้ปัญหารถติด อูเบอร์จะต้องเร่งทำความเข้าใจกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะหน่วยงานรัฐในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานและกฎหมาย เพราะตอนนี้แอปฯของอูเบอร์มีผู้ใช้งานจริงแต่ละเดือนอยู่ที่ 40 ล้านคนทั่วโลก คนขับรถอูเบอร์ทั่วโลกทำรายได้รวมไปได้ 1.5 ถึง 2 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเดือนกันยายนปี 2016

 

ตลาดใหญ่อยู่ตรงหน้าอูเบอร์ขนาดนี้ แถมคอยพัฒนาเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา ไม่แปลกใจที่มูลค่าบริษัทอย่างอูเบอร์จะแตะเกือบ 70 พันล้านเหรียญสหรัฐ

 

Source: Copyright © MarketingOops.com


  • 16
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th