เรื่องจริงของวิศวกรที่ผันตัวสู่เกษตรกรรุ่นใหม่ ต่อยอดสิ่งที่มีสานฝันให้เกิดเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้

  • 720
  •  
  •  
  •  
  •  

“ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ประโยคนี้หลายคนคงเคยได้ยินมานาน ซึ่งหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของประเทศไทย และยังหมายถึงอาชีพหลักของคนส่วนใหญ่ในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นชาวนา ชาวไร่ หรือชาวประมง และเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลกว่าประเทศไทยคือห้องครัวของโลก ทั้งในเรื่องของอาหารและวัตถุดิบคุณภาพในการทำอาหาร

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ พบว่าในปี 2563 อาหารทะเลมีการส่งออกมาที่สุดในหมวดสินค้าเกษตร โดยสร้างมูลค่ากว่า 1.2 แสนล้านบาท ขณะที่ข้าวส่งออกเป็นอันดับ 2 ในหมวดสินค้าเกษตรด้วยมูลค่ากว่า 6.9 หมื่นล้านบาท เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า ตลาดทั่วโลกยอมรับในคุณภาพสินค้าเกษตรของไทยเป็นอย่างดี

หลายคนจึงเริ่มมองหาหนทางในการก้าวสู่การเป็นเกษตรกร ยิ่งในยุคที่เทคโนโลยีเอื้ออำนวยเหมือนที่ คุณพสชนัน ธรรมนิติเวทย์ หรือ ออม หนุ่มวิศวกรผู้มีใจรักการเกษตรจนยอมทิ้งอาชีพวิศวกร แม้ที่บ้านจะไม่เห็นด้วย แต่ด้วยความมุ่งมั่นและต้องการให้ที่บ้านยอมรับในอาชีพเกษตรกร

คุณออมจึงเริ่มลงมือทำโดยเริ่มต้นจากการทำสลัดโรลขายก่อน ซึ่งหลังจากทำไปได้ระยะเวลาหนึ่งก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากตลาด จากนั้นเมื่อวัตถุดิบเริ่มมากขึ้น คุณออมก็เริ่มพัฒนาโดยนำวัตถุดิบบางส่วนออกวางขายที่หน้าร้าน TNW Food Service ซึ่งก็ประสบความสำเร็จจนทำให้ที่บ้านยอมรับในการทำอาชีพเกษตรกรของออมจนได้

แม้ว่าร้านขายสลัดจะประสบความสำเร็จแล้ว แต่ด้วยความเป็นคนรุ่นใหม่ของคุณออม จึงเริ่มสร้างความฝันที่อยากจะมีร้านกาแฟที่มีบรรยากาศอยู่ในฟาร์ม ซึ่งคุณออมเผอิญทราบว่า ก๋งของคุณออมมียุ้งข้าวเก่าอยู่ ซึ่งสามารถดัดแปลงเป็นร้านกาแฟ “ยุ้งก๋ง” ได้และยังสามารถปลูกผักรอบๆ ยุ้งได้ ลูกค้าที่มาทางกาแฟจะสามารถสัมผัสบรรยากาศของสวนฟาร์ม พร้อมลิ้มรสชาติร้านกาแฟไปด้วย

ภายใต้กลยุทธ์ร้านอาหาร ร้านกาแฟและฟาร์มผักต้องเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน โดยร้านอาหารจะใช้วัตถุดิบหลักจากฟาร์ม ขณะที่ร้านกาแฟ นอกจากเมนูเครื่องดื่มกาแฟแล้ว ยังมีเมนูน้ำปั่นที่มาจากวัตถุดิบในฟาร์ม นอกจากลูกค้าจะได้ทานวัตถุดิบที่สดใหม่แล้ว ยังสามารถซื้อผักผลไม้ในฟาร์มกลับไปได้ด้วย และลูกค้าที่ตั้งใจมาซื้อผักผลไม้ก็สามารถนั่งทานอาหารหรือกาแฟในร้านได้เช่นกัน

แต่การจะสร้างฝันให้เป็นจริงได้จำเป็นต้องใช้เงินทุนที่มาก ซึ่งเงินทุนเดิมที่มีก็ลงไปกับร้านสลัด จะนำกำไรจากร้านสลัดมาเป็นต้นทุนสร้างร้านกาแฟก็อาจจะช้าเกินไปจนอาจหมดฝันไปก่อน ดังนั้น ธนาคารคือแหล่งเงินทุนที่สามารถนำมาสร้างฝันร้านกาแฟในสวนให้เป็นจริงได้ ซึ่งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นธนาคารที่เหมาะกับเกษตรกรอย่างคุณออม

นั่นจึงทำให้คุณออมมีโอกาสได้พบกับ คุณกิตติพงษ์ ศรีธัญลักษณ์ พนักงานพัฒนาธุรกิจ ธ.ก.ส. สาขาพนัสนิคม ซึ่งสิ่งที่คุณออมกำลังวางแผนจะทำ เป็นสิ่งที่ธนาคารฯ มองเห็นศักยภาพที่น่าสนใจ ที่สำคัญยังสอดคล้องกับโครงการสินเชื่อ NEW GEN HUG บ้านเกิด” ของธนาคารฯ ที่พร้อมสนับสนุนเงินทุนให้กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ในการลงทุนด้านเกษตรกรรม หลังจากธนาคารฯ ประเมินศักยภาพของโครงการแล้วว่าเป็นไปได้และตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่ธนาคารกำหนด จึงมีการอนุมัติสินเชื่อโครงการ “NEW GEN HUG บ้านเกิด”

จากการใช้บริการ ธ.ก.ส. ทำให้คุณออมได้รู้ว่า นอกจากจะได้เป็นลูกค้ากับ ธ.ก.ส. แล้ว ยังได้ “เพื่อน” กลับมาด้วย ซึ่งเจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส. พร้อมให้ความช่วยเหลือและคำปรึกษาในทุกๆ ด้าน ไม่เพียงแต่จะแนะนำองค์ความรู้ต่างๆ ยังมีการพาลูกค้าไปดูงานนอกสถานที่ และพาไปเยี่ยมชมเครือข่าย ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ และพันธมิตรใหม่ๆ ที่สามารถนำมาต่อยอดธุรกิจได้ด้วย

ไม่เพียงเท่านี้ ธ.ก.ส. ยังพาเพื่อนๆ ลูกค้า ธ.ก.ส.เข้ามาเยี่ยมเยียนที่ร้านบ่อยๆ จนรู้สึกได้ถึงความอบอุ่นและเป็นกันเอง จากเดิมที่เคยคิดว่าธนาคารฯ มีหน้าที่แค่เข้ามาช่วยเหลือเรื่องเงินทุนเพียงอย่างเดียว แต่ตอนนี้คุณออมยังมีเพื่อนที่เป็นทั้งที่ปรึกษาพร้อมเป็นพันธมิตรเครือข่ายต่อยอดธุรกิจ และคอยช่วยเหลือกันอีกด้วย

ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวและมิตรภาพดีๆ ที่เกิดขึ้นจริง ของหนุ่มวิศวกรที่ผันตัวไปเป็นเกษตรกร ยังมีอีกหลายคนที่พร้อมผันตัวเองไปสู่อาชีพเกษตรกร บางคนมาด้วยความพร้อมทั้งด้านทุนทรัพย์และความพร้อมด้านการขยายตลาด แต่ยังมีอีกหลายคนที่มีความพร้อมกับใจที่มุ่งมั่น แต่ยังขาดต้นทุน ซึ่งปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยากในการหาแหล่งทุนอย่างธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่พร้อมเป็นเพื่อนคอยเคียงข้าง และคอยเป็นที่ปรึกษาเพื่อการทำธุรกิจ


  • 720
  •  
  •  
  •  
  •