เมื่อ Human Experience กลายเป็นพื้นที่โฆษณา ที่ให้มากกว่าโฆษณาบน Facebook และ Google

  • 198
  •  
  •  
  •  
  •  

โฆษณาที่ไม่เกี่ยวกับเรามักถูกมองเป็นตัวรบกวน โดยเฉพาะในยุคที่คนเราเสพย์สื่ออยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นเวลาทำโฆษณา ต้องคิดถึงจุดโฆษณาที่มีลูกค้ามีแนวโน้มตอบรับ เราต้องถอยออกมามองพื้นที่โฆษณาให้มากกว่าแค่โฆษณาบน Facebook และ Google และทำให้เราได้เห็นพื้นที่โฆษณา 4  แบบที่เราควรคิดถึงกัน

 

1. พื้นที่สื่อสาธารณะ (Public Sphere)

พื้นที่สื่อสาธารณะไม่จำเป็นต้องเป็นแค่บิลบอร์ดข้างถนน หรือโปสเตอร์ตามสถานนีรถไฟฟ้าเสมอไป ถ้าอยากเข้าถึงกลุ่มคนเยอะๆ ลองคิดถึงของหรือสถานที่ที่ใช้ร่วมกันในที่สาธารณะอย่างอื่นดูบ้าง

httpv://www.youtube.com/watch?v=ouLV6TzfDbk

อย่างเช่น Duracell ที่ขายแบตเตอรี่ ทำโฆษณาเนียนๆโดยขับรถแจกจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับบ้านของผู้เคราะห์ร้ายจากภัยธรรมชาติ

httpv://www.youtube.com/watch?v=-ijXUqCzjRw

Charmin แบรนด์ทิชชู่ในอเมริกาเนรมิตห้องน้ำสาธารณะกลายเป็นป็อปอัพขายทิชชู่ของตัวเอง

หรือโฆษณาของ Zappos บนตะกร้าที่เช็คอินใน ต.ม. ก่อนเดินทางไปต่างประเทศ

 

ฉะนั้นไม่ใช่ว่าจะเลือกโฆษณาที่ไหนก็ได้ แต่ต้องดูว่าโฆษณาของเรากี่ยวข้องกับสถานที่และชีวิตประจำวันของคนที่เราต้องการสื่อสารด้วยมากแค่ไหน 

 

2. พื้นที่สื่อทางสังคม (Social Sphere)

เป็นสื่อที่ให้แบรนด์ได้สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าด้วยกัน หรือแก้ปัญหาให้ลูกค้าโดยใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์ของลูกค้าที่มีกับคนอื่นๆ

 

httpv://www.youtube.com/watch?v=7myP2_KLumc

สำหรับคนชอบดื่ม  Diageo ให้เราสามารถใช้มือถือแสกนฉลากบนขวด แล้วเราก็จะได้รับข้อความโฆษณา ทำให้แบรนด์รู้ว่าทุกๆขวดที่ไปถึงมือลูกค้าอยู่ที่ไหน และลูกค้าขอบยี่ห้อไหนเป็นพิเศษ

httpv://www.youtube.com/watch?v=bDbKi7znx_U

Walmart Shoppycat ให้เรากรอกชื่อเพื่อนที่เรามีบน Facebook หรือพิมพ์ Interest  ของเพื่อนๆ ระบบก็จะแนะนำของขวัญที่เพื่อนๆน่าจะสนใจให้เราได้ซื้อไปฝาก

 

3. พื้นที่สื่อสำหรับกลุ่มที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว (Tribal Sphere)

จะดีกว่าหรือไม่? ถ้าลูกค้าเอาโลโก้หรือคำคมของแบรนด์ติดไว้กับตัว เพราะการที่ลูกค้าทำแบบนั้นก็เพื่อต้องการแสดงออกหรือสร้างเอกลักษณ์ของตัวเอง หรือแสดงออกว่าตัวเองเป็นสาวกหรือสมาชิกของกลุ่มพิเศษ ฉะนั้นข้อความโฆษณาต้องตรงกับคุณค่าของคนหรือกลุ่มพิเศษที่ว่าด้วย

เช่น ถ้าใครรู้จักแว่นตา Oakley บางคนก็ต้องการแสดงออกถึงตัวตนว่าเป็นคนสปอร์ตและเป็นคนกีฬา โดยเอาโลโก้ มาแปะติดไว้กับรถหรือของส่วนตัวที่ไม่ได้เกี่ยวกับแว่นตาเลย 

หรือใครที่ชอบหิ้วกระเป๋าแบรนด์เนมก็จัดว่าเป็นคนืี่ต้องการแสดงออกตัวตนและสถานะทางสังคมผ่านโลโกด้วยเหมือนกัน 

 

4. พื้นที่สื่อเชิงจิตวิทยา (Psychological Sphere)

ถึงความคิดและความรู้สึกจะเป็นพื้นที่สื่อที่เรามองไม่เห็ แต่ถ้ารู้จักใช้จะมีประโยชน์มาก ธุรกิจที่ทำแบรนด์เก่งๆมักจะออกแบบคำพูดให้สอดคล้องกับพฤติกรรม การกระทำ นิสัย ความคิดและความรู้สึก

ยกตัวอย่างเช่น Google แทนที่เราจะพูดว่าว่าเราต้องใส่คีย์เวิร์ในเรื่องที่เราสงสัยเพื่อค้นหาคำตอบ เรามักจะพูดรวบไปเลยว่าเรา “Google”  หรืออย่าง Apple ที่ขาย iPhone iPad ก็ออกสโลแกน “Think Different” และ Nike ที่มีสโลแกนติดหูอย่าง “Just Do It” สโลแกนพวกนี้ได้เชื่อมกับเป้าหมายหรือการใช้ชีวิตของเราจนเราคิดว่าการได้ใช้สินค้าหรือบริการของแบรนด์ดังกล่าวทำให้เราคิดว่าเราได้กำลังทำตามสโลแกนนั้นอยู่จริงๆ

 

ก่อนโฆษณา เราลองคิดในมุมมองของลูกค้าเป้าหมายก่อนดูว่าลูกค้าคิดอย่างไร ต้องการอะไรกันแน่? โฆษณาของเราไปทำให้ลูกค้ามีชีวิตดีขึ้ได้อย่างไร? ลองโฆษณาและเรียนรู้รับฟังกระแสตอบรับ แล้วค่อยๆเรียนรู้ปรับแก้ดูนะครับ

 

แหล่งอ้างอิง: Advertising’s New Medium: Human Experience โดย Jeffrey F. Rayport จาก Harvard Business Review


  • 198
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th