รู้จัก PRIMOWay วิถีการทำงานตอบโจทย์คนยุคใหม่ โดย PRIMO เทคสตาร์ทอัพมาแรงของคนไทยเทียบชั้นบิ๊กเทคของโลก

  • 16
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ความท้าทายอย่างหนึ่งของบริษัทสตาร์ทอัพ นอกจากสร้างผลกำไรให้กับองค์กรแล้ว ก็คือเรื่องของการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานที่มีความเหมาะสมกับองค์กรมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในขณะเดียวกันองค์กรเองก็จะต้องมีแรงจูงใจในหลายๆ ปัจจัยที่จะดึงคนเก่งเข้าทำงานและรักษาคนที่มีความสามารถให้อยู่กับองค์กรได้นานๆ เช่นเดียวกับ พนักงานที่ปัจจุบันมองหาองค์กรที่สามารถตอบโจทย์ได้ทั้งความท้าทายของการทำงานและสามารถซัพพอร์ตมุมของการใช้ชีวิตไลฟ์สไตล์ได้เช่นกัน

อีกหนึ่งองค์กรสตาร์ทอัพมาแรง ที่เรามองเห็นว่ามีมุมมองการบริหารจัดการพนักงานได้อย่างน่าสนใจ สามารถตอบโจทย์ได้ทั้งเรื่องงานและมีความเข้าใจพนักงานคนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี แน่นอนว่าเมื่อดูแลพนักงานดีก็ทำให้สามารถผลักดันการเติบโตทางด้านธุรกิจไปด้วยได้ บริษัทที่ว่าได้แก่ PRIMO บริษัทสตาร์ทอัพ Omnichannel Marketing Platform ที่จะมาเผยสูตรเคล็ดลับการยกระดับองค์กรให้เติบโตผ่านการพัฒนาพนักงานได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งผู้ที่จะมาบอกเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้เราฟังได้แก่ คุณภาวินท์สุทธพงษ์ CPO บริษัท พรีโมเวิร์ล จำกัด หรือที่เรารู้จักกันในนามของ Paul Suthapong

 

 

PRIMO เทคสตาร์ทอัพ พรั่งพร้อมทีมผู้บริหารและทีมงานคนรุ่นใหม่ไฟแรง

คุณภาวินท์ หรือ คุณพอล กล่าวว่า PRIMO เป็นบริษัทเทคโนโลยีด้าน Omnichannel Marketing Platform มี Vision & Mission ในการที่จะช่วยให้แบรนด์หรือธุรกิจสามารถที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าหรือพาร์ทเนอร์ของเขาได้ดียิ่งขึ้นไปในด้านการตลาด โดยการใช้ข้อมูล เครื่องมือเทคโนโลยี และใช้ความรู้ที่มีอยู่เกี่ยวกับลูกค้าในการออกโปรโมชั่น มาร์เก็ตติ้งแคมเปญที่ถูกต้องตรงใจกลุ่มลูกค้ามากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ปัจจุบันมีพนักงานทั้งแบบเต็มเวลาและนักศึกษาฝึกงานรวมประมาณ 130 คน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเจเนอเรชั่นใหม่ๆ ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม Gen Y และ Gen Z และเด็กจบใหม่ด้วย

ในขณะที่ฝั่งผู้บริหารของ PRIMO เป็นคนรุ่นใหม่ที่มาเปิดบริษัทสตาร์ทอัพ ร่วมกัน ประกอบด้วย คุณวีร์ สิรสุนทร CEO บริษัท พรีโมเวิร์ล จำกัด , คุณง้วง-เชิดพงศ์ เดชธนะสุนทร COO (Chief Operating Officer) และคุณพอล-ภาวินท์ สุทธพงษ์ CPO (Chief Product Officer)

 

 

“เราคือ Tech Company Startup ที่เต็มไปด้วยบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น Developer 40 กว่าคน มี Tester 30 คน มี Product Manager  มี UX UI Designer หลัก 10 คน รวมจนถึงมีตำแหน่งเสริมด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Data Engineer, Develop Engineer และ Technical Support อื่นๆ อีก”

 

“PRIMOWay” สัญญาใจที่สร้างสรรค์การทำงานที่มีประสิทธิภาพ

คุณพอล กล่าวต่อ นอกจากผู้บริหารรุ่นใหม่และทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีแล้ว สิ่งหนึ่งที่ PRIMO ใช้ร่วมกันและยึดถือเป็นสัญญาใจเพื่อใช้ในการทำงาน ก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมการทำงานที่ดีที่สามารถขับเคลื่อนองค์กรได้เรียกว่า PRIMOWay หรือเรียกว่า PRIMO Way of Working เป็นวิธีที่เราตกลงกันว่าจะทำงานร่วมกัน ซึ่งเรายึดถือมานานแล้วตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท แต่เพิ่งจะมากำหนดเป็นหลักปฏิบัติที่ชัดเจนพร้อมด้วยคำไทยที่ทำให้จำง่ายๆ ว่าหลัก 5 ร.เรือ – ร่วม รับ เรียน รู้ เรื่องราว”

 

 

“ร่วม” คือ “การร่วมกันทำ” มันคือเซนส์ของการที่แต่ละคนมีสปิริตในการเป็นตัวของตัวเอง แต่ก็ต้องมีความเป็นส่วนร่วมกับทีมด้วย เราจะพูดถึงว่าคนใน PRIMO สามารถที่จะทำในสิ่งที่ตัวเองทำได้ โดยไม่ต้องไปรอให้คนอื่นป้อนยาให้เสมอ หมายถึงว่า สามารถที่จะทำงานเองได้ คิดเองได้ กล้าพูดกล้าแสดงออก มีความมั่นใจในตัวเอง โดยที่คุณต้องมีส่วนร่วมกับคนในทีมได้ด้วย ซึ่งเป็นคุณสมบัติแรกๆ ที่มองหาในพนักงานของ PRIMO

“รับ” ที่ย่อมาจาก “รับผิดชอบ” เมื่อทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของทีมแล้ว ก็ต้องรับผิดชอบงานของตัวเองด้วย โดยไม่ต้องให้คนคอยตาม ไม่ต้องให้คอยถามว่าเสร็จหรือยัง แอคทีฟในการที่จะบอกว่าเสร็จหรือไม่เสร็จ ในขณะเดียวกัน รับผิดชอบก็ยังหมายถึงรับผิดชอบงานที่ทำด้วย ถ้างานผิดพลาดก็ต้องรับผิดชอบเช่นกัน แต่เราไม่ได้เน้นว่าผิดแล้วต้องว่ากันขนาดนั้น แต่เป็นการยอมรับความผิดพลาดแล้วรีบแก้ไขด้วยตัวเอง ไม่รอให้ปัญหามาค้างคาโดยไม่ได้รับการแก้ไข เพื่อให้งานสามารถเดินต่อไปได้

“เรียน” ที่ย่อมาจาก “เรียนรู้จากทุกอย่าง” คือการเรียนรู้จากทุกสิ่งทุกอย่างและสามารถรับฟีดแบคจากทุกคน จากทุกสถานการณ์ได้ ขณะเดียวกันเราก็พูดถึงเรื่องของ Openness ตามหลักการที่เรียกว่า Feedback loop ที่ทุกคนสามารถเข้าไปขอพูดคุยกับหัวหน้างานหรือพนักงานระดับผู้จัดการคนอื่น หรือแม้แต่ลูกน้องของคนอื่นนอกสายงานได้ โดยที่สามารถรับฟีดแบคจากทุกๆ คนได้ รวมไปถึงการที่ทราบด้วยว่าเรื่องนี้จะต้องไปประสานงานหรือติดต่อกับใคร

“รู้” ย่อมาจาก “รู้ทันการณ์ – รู้ทันสถานการณ์” ถ้าภาษาอังกฤษที่ใช้ก็คือ Resilience ก็คือมีความยืดหยุ่นในตัว สามารถที่จะเข้าใจและปรับตัวได้เร็ว ซึ่งตามหลักการ Agile บอกว่าโลกมันเปลี่ยนได้เร็ว เช่น ลูกค้าเปลี่ยนความต้องการเราก็ต้องรู้ที่จะเปลี่ยนให้ทัน ที่นี่ทุกคนจะรู้ว่าตัวเองต้องทำอะไร และเราสามารถยืดหยุ่นทำตามสถานการณ์ได้ นอกจากนี้ มีอีกสิ่งที่เข้าใจได้ในหลักการนี้คือ การทำหน้าที่ได้หมด ซึ่งเรียกว่า Full stack โดยพนักงานแบบ Full stack เขาจะไม่เกี่ยงงาน เพื่อที่เขาจะได้ขยายขีดความสามารถตัวเองออกจากคอมฟอร์ตโซนได้ แน่นอนเขามีพื้นที่ของตัวเองที่เขาทำอยู่ แต่เมื่อสถานการณ์บังคับเขาก็จะสามารถทำได้เช่นกัน นี่คือ “รู้ทันการณ์”

“เรื่องราว” ย่อมาจาก “เรื่องราวของงาน” หมายถึงว่าการที่จะทำทั้งหมด 4 อย่างข้างต้นได้นั้น จะต้องรู้ภาพรวมก่อนว่าคืออะไร งานที่ทำมันมีผลกระทบกับเพื่อนอย่างไร มีผลกระทบกับลูกค้าอย่างไร พนักงานที่อื่นเขาอาจจะรอให้มีคนจ่ายงานให้ทำถึงจะลงมือทำ แต่ของเราจะไม่ใช่อย่างนั้น ทุกคนจะรู้ว่างานที่ทำมันต่อกับอันอื่นอย่างไร หรือประสานงานกับใครต่อ เมื่อรู้ว่าสถานการณ์เปลี่ยนแล้วเขารู้ทันทีเลยว่างานนี้จะต้องเปลี่ยนอย่างไร ซึ่งเรื่องราวของงานมันจะส่งเสริมให้เขาทำอีก ‘4 ร.’ ได้เลย ยกตัวอย่างที่ชัดเจนเลยคือ เวลาไปพบลูกค้าพวกเราจะยกกันไปทั้งทีมเลยเพื่อไปฟังลูกค้าพร้อมกัน ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะต้องทำตอนนี้เลยหรือคุณจะเป็นอีก 3 ขั้นตอน ก็ต้องไปฟังพร้อมกันเพื่อให้ได้เข้าใจว่าภาพรวมเป็นอย่างไร แล้วมันจะมาถึงคุณได้อย่างไร เพื่อเตรียมพร้อมให้สามารถทำได้ทันทีเลย

 

ครบถ้วนด้วยสวัสดิการและสิทธิประโยชน์เทียบเท่า Tech Company ระดับโลก

นอกเหนือจาก PRIMOWay จะเป็นวิถีการทำงานที่ตอบโจทย์การทำงานยุคใหม่แล้ว PRIMO ยังให้ความสำคัญเรื่องการดูแลพนักงานผ่านองค์ประกอบใหญ่ 3 ประการด้วยกัน ได้แก่ สวัสดิการอย่างดี, วัฒนธรรมองค์กรที่สร้างสรรค์ และการเติบโตด้าน Career path ที่สามารถเติบโตต่อไปได้

 

 

ในมุมของสวัสดิการ คุณพอล เล่าว่า เบเนฟิตต่างๆ เรามีการเปรียบเทียบกับบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ๆ อยู่ตลอด ถ้าเขามีอะไรเราก็ต้องมี อย่างเงินเดือนในตลาดปกติตำแหน่งนี้อยู่ที่เท่าไหร่เราก็เทียบเท่ากับตลาดเช่นกัน หรือแม้แต่ถ้ารับคนใหม่เข้ามาทำงานแล้วมีการเพิ่มเงินเดือนให้เขา ถ้าคนเก่าที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันเราก็ต้องปรับให้ได้ฐานเดียวกัน เพื่อไม่เกิดความขัดแย้งในองค์กร ดังนั้น เราปรับเงินเดือนเร็วมากทั้งตามตลาดและตามสภาวะภายนอก หรือแม้แต่บริการ สแน็ก กาแฟ เครื่องดื่ม ที่บริษัทสตาร์ทอัพชั้นนำมีบริการฟรีให้พนักงานยังไงเราก็มีแบบนั้นด้วย เพราะฉะนั้นไม่ต้องห่วงสวัสดิการเบเนฟิตที่ดีเรามีหมด

ประการที่ 2 คือด้านวัฒนธรรมองค์กรที่เต็มไปด้วยคนรุ่นใหม่ เพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรของเราได้ตอบโจทย์ความต้องการของคนรุ่นใหม่กว่า 90% จึงได้สร้างสรรค์แนวคิดเรื่องของ PRIMOWay ขึ้นมา ซึ่งอย่างที่กล่าวว่านอกจากจะเป็นหลักการสำคัญที่ใช้ยึดถือเป็นแนวทางในการทำงานร่วมกันแล้ว ก็ยังเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานให้สอดรับกับวิธีการทำงานของคนรุ่นใหม่ เน้นวัฒนธรรมที่สนับสนุนคนเก่ง คนมีความสามารถจริง ซึ่งจุดนี้คนที่มีทาเลนต์จะชอบทำงานกับเราเพราะเขารู้ว่าถ้ามาอยู่กับเราเขาจะได้อะไรบ้าง ที่สำคัญคือที่นี่เราจะไม่ทำงานภายใต้แรงกดดันที่เรียกว่า Red tape (เป็นคำศัพท์เปรียบเปรยการทำงานที่ล้าช้าและมีขั้นตอนเยอะแยะ) เขาสามารถมีเสียงของตัวเองได้ สามารถที่โชว์ความสามารถของตัวเองได้ อันที่จริงเขาจะถูกผลักดันให้ทำสิ่งที่ท้าทายเพื่อให้เขาเก่งขึ้นและเติบโตเร็วขึ้น ดังนั้น คนที่มีพื้นฐานที่ดีก็จะเติบโตไปกับเราได้เร็วมาก

สุดท้ายคือมิติของ Career path ในเรื่องนี้ต้องบอกว่าที่นี่มีความชัดเจนมากเพราะเป็นเทคสตาร์ทอัพที่เติบโตเร็วมาก ดังนั้น โอกาสที่จะเป็นหัวหน้าทีมหรือแม้แต่พนักงานระดับ Manager มีโอกาสได้เยอะมากๆ ถ้าคุณมีความสามารถจริง เรายินดีที่จะโปรโมทให้อย่างแน่นอน และอีกปัจจัยสำคัญคือเรื่องเนื้องาน เมื่อเวลาเราพูดถึงบริษัทเทคโนโลยีปกติแล้วในตลาดทั่วไปเราจะมีอยู่ 2 อ็อปชั่นใหญ่ อ็อปชั่นแรกไปทำงานบริษัทที่เรียกว่า เป็นบริษัทซอฟต์แวร์เฮาส์ คือ การรับจ้างผลิตซอฟต์แวร์ ดังนั้น พนักงานเทคนิคหลายคนก็อยากจะทำเพราะว่ามันมีโอกาสได้ทำโปรเจกต์ที่หลากหลายดี แต่ปัญหาคือมันเหนื่อยเพราะว่ามันไม่เหมือนกันสักโปรเจกต์เลย เป็นโปรเจกต์ระยะสั้น และโดนบังคับด้วยเวลาแล้วถูกบีบด้วยเรื่องเงิน ดังนั้น หลายคนก็ชอบวาไรตี้แต่ไม่ชอบความเหนื่อย อีกอ็อปชั่น ซึ่งเจอกันเยอะ คือไปทำงานที่บริษัทสตาร์ทอัพขนาดใหญ่ หรือไปทำอินโนเวชั่นองค์กรใหญ่ ซึ่งอันนี้มันจะดีตรงที่ว่ามันไม่เหนื่อย เป็นโปรเจกต์ระยะยาว แต่ปัญหาคืองานจะไม่หลากหลายและไม่เน้นเรื่องเทคนิค ดังนั้น สุดท้ายแล้วพนักงานก็จะไม่ได้รับการขัดเกลาเรื่องเทคนิค แต่ถ้าอยู่ที่ PRIMO คุณจะได้ทั้งสองอย่าง เพราะว่าเราเป็น B2B สตาร์ทอัพ เป็นโปรเจกต์ระยะยาว ที่มีให้ทั้งความวาไรตี้ของเนื้องาน ขณะเดียวกันก็ยังเน้นเรื่องเทคนิคได้อีกด้วย  เพราะว่าเราเป็นบริษัทผลิตซอฟต์แวร์

“ดังนั้น ถ้าถามว่าทำไมคนถึงอยากจะมาอยู่ PRIMO ผมบอกตรงนี้เลยเพราะว่าคุณไปอยู่ที่อื่นมันไม่สนุกเท่า ถ้าคุณอยาก ทำไอที ทำผลิตซอฟแวร์ที่นี่คือดีที่สุดแล้ว”

 

เปิดใจพนักงานกับความประทับใจในการเป็นครอบครัว PRIMO

 

หลังจากฟังมุมมองของผู้บริหารไปแล้ว ลองมาฟังมุมมองของเหล่าพนักงานกันบ้างว่ามีความคิดเห็นอย่างไรกับบริษัทแห่งนี้ เริ่มที่ คุณเฉิน – พงศกร คิวสุวรรณ ตำแหน่ง Data Engineer บอกว่า ตอนแรกที่เข้ามาทำงาน คิดว่าบริษัทสตาร์ทอัพแล้วน่าจะมีความเคร่งขรึมดูเป็นทางการ แต่พอเข้ามาจริงๆ แล้วรู้สึกว่ามีความเปิดกว้างทางความคิดมากๆ บริษัทมีความชิลๆ ดูสบายๆ มาก แต่สิ่งที่ชอบและประทับใจในการทำงานของ PRIMO เป็นเรื่องการทำงานที่มีระบบ One on One Meeting และ Skip Level Meeting อธิบายสั้นๆ ในส่วนของ One on One Meeting คือคุยหนึ่งต่อหนึ่งกับหัวหน้าซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องคุยเรื่องงานเท่านั้นแต่สามารถกันคุยได้ทุกเรื่อง และส่วน Skip Level Meeting จะเป็นการปรึกษาปัญหาถามกับหัวหน้าของหัวหน้าเราอีกทีเพื่อปรึกษาในเรื่อง Career path ว่าเรามีความชอบตรงไหนอยากจะพัฒนาตรงไหน สามารถให้หัวหน้าของหัวหน้าเราไกด์ไลน์ได้ ซึ่งเท่าที่รู้ก็ไม่ค่อยมีที่ไหนที่มีรูปแบบแบบนี้ โดยทั้งสองระบบช่วยให้เราก้าวหน้าทางอาชีพได้เหมือนมีพี่ มีที่ปรึกษาที่ดีในเรื่องการทำงานด้วย

 

 

คุณฟรองซ์ – ธนิก จันทร์ลี ตำแหน่ง Software Engineer พูดถึง PRIMO ในมุมมองของตัวเองว่า ตอนแรกไม่คิดว่าจะมีบรรยากาศแบบพูดคุยกับได้อย่างนี้ คิดว่ามันน่าจะเครียดๆ เพราะเป็นบริษัทสายเทคฯ แต่ปรากฏว่ามาที่นี่ทุกคนดูสนุกสนานเฮฮา แม้แต่หัวหน้าหรือรุ่นพี่ๆ ก็ให้ความกันเองดูแลเรามาก คอยสอนงานคอยถามว่าเราสนใจอะไรอยากลองอะไรไหม ซึ่งให้ความรู้สึกที่อบอุ่นมาก สิ่งที่ชอบในการทำงานของที่นี่มากๆ ก็คือ สไตล์แบบ Work hard, play harder คือเวลาทำงานเราก็จะต้องตั้งใจทำงาน ทำงานอย่างเต็มที่ แต่ว่าหลังจากเลิกงานเราก็จะมีการไปปาร์ตี้สังสรรค์กัน หรือว่าการเล่นบอร์ดเกมหรือการเข้าชมรมต่างๆ ซึ่งที่ PRIMO ก็จะมีอยู่หลายชมรม เช่น ชมรมสปอร์ตก็มีการออกกำลังกัน ชมรมนวด ชมรมอีสปอร์ต ชมรมกินเที่ยวก็มี อย่างตัวคุณฟรองซ์เองอยู่ชมรมกินเที่ยวและก็ชมรมเกม

 

 

คนสุดท้ายคือ คุณไอติม – สิรณรงค์ พิลา ตำแหน่ง Product Manager บอกเล่าถึงความประทับใจที่ PRIMO ว่า ส่วนตัวเข้ามาตั้งแต่ที่บริษัทยังมีขนาดไม่ใหญ่มาก ตอนแรกก็คิดว่าแต่ละคนคงเต็มไปด้วยกำแพง แต่ปรากฏว่าไม่มีเลย แต่เวลาทำงานก็ทำกันอย่างจริงจัง และยังสามารถพูดคุยกับหัวหน้าหรือ CEO ได้แบบตรงๆ ดังนั้นสิ่งที่ชอบที่สุดของที่นี่คือเรื่องของสังคมที่ดีมาก ส่วนเรื่องการทำงานก็ไม่มีปัญหาแม้ว่าเราจะมีถึง 2 ออฟฟิศคือที่กรุงเทพฯ กับที่ภูเก็ต เรามีตัวเครื่องมือที่มาใช้ให้การทำงานของเราใกล้ชิดกันมากขึ้น ได้แก่ Gather.town  เป็นเครื่องมือ Virtual office แบบ Metaverse ที่สำหรับให้ทุกคนมาอยู่ในแอปฯ นั้นแล้วก็คุยได้เหมือนอยู่ Office เดียว เดินหากันพูดคุย สังสรรค์ได้ รวมถึงตัวการทำงานของ Scrum Agile  ทำให้เรามีการคุย ติดตามงานกันได้ตลอดเวลา ไม่ได้รู้สึกเหมือนไกลกันยิ่งปัจจุบันพวกปัญหาโควิด-19 ที่ผ่านมา แทบจะไม่มีผลกระทบกับ PRIMO เลย

“ที่นี่มีโอกาสให้เราได้คิด ได้ลองทำในสิ่งที่เราอยากทำ เราสนใจในด้าน Product Manager ก็ได้มีโอกาสลองทำแล้วพอเรารู้สึกชอบ เราก็มีโอกาสได้ทำจริงๆ ไม่มีการปิดกั้นในโอกาสของเราที่จะทดลองอะไรใหม่ๆ รวมถึงตัวโปรเจกต์ที่เราได้ดูก็มีการเติบโตตลอดเวลาเลย เช่น จากโปรเจกต์ที่มีคนใช้งานอยู่เพียงแค่หลักร้อยหลักพัน จนปัจจุบันก็คือโปรเจกต์ใหญ่ๆ ที่มีผู้ใช้งานเป็นหลักล้าน มันมีความท้าทายเกิดขึ้น ไม่ซ้ำซากจำเจ” คุณไอติมกล่าวทิ้งท้าย 

ท้ายที่สุดสิ่งที่คุณพอล สรุปถึงคนที่จะมาร่วมเป็นชาว PRIMO สิ่งสำคัญเลยคือ แม้คนที่ PRIMO จะเป็นคนรุ่นใหม่อายุยังไม่มากแต่ทุกคนมีความเป็นผู้ใหญ่สูง มีความคิดเป็นผู้นำสิ่งนี้สำคัญมาก ต่อมาคือต้องเป็นคนที่มีความคอลลาบอเรชั่นสูง ต้องชอบพูดชอบคุยสื่อสารได้ดี เพราะการทำงานไม่สามารถคิดเองทำเองได้ แต่จะต้องประสานงานกับคนอื่นๆ ด้วย ดังนั้น ทักษะนี้จึงจำเป็นมาก และสุดท้ายคือ ต้องเป็นคนที่มีความ Full Stack คือไม่เกี่ยงงาน อยากเรียนรู้ทุกๆ อย่าง รวมไปถึงเต็มใจที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยตรงนี้ก็สำคัญไม่แพ้กัน

ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เรามองหาจากคนที่อยากจะมาเป็นชาว PRIMO ดังนั้น ถ้าใครสนใจที่จะร่วมทางกับเราก็สามารถติดต่อมาได้ในทุกช่องทาง ทั้งทาง Facebook PRIMO – Omnichannel Marketing Platform

เว็บไซต์ https://www.primo.mobi/ รวมถึงตามเว็บไซต์สมัครงานชั้นนำทั่วไป


  • 16
  •  
  •  
  •  
  •  
CLOSE
CLOSE