Krungsri Uni Startup สอนมวย แนะนำ 10 ข้อ ทำสตาร์ทอัพไม่มีดับ

  • 285
  •  
  •  
  •  
  •  

สิ่งหนึ่งที่การทำสตาร์ทอัพเหมือนกับการทำธุรกิจคือต้องมี “ทีม” ที่คอยผลักดันและร่วมลงมือทำให้ไอเดียและแผนการประสบความสำเร็จ เช่นเดียวกับ นักศึกษาที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายมาแข่ง Pitching สตาร์ทอัพของตัวเองเพื่อค้นหาผู้ชนะในโครงการ Krungsri Uni Startup Batch 2 เมื่อวันอังคารที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

ถึงแม้จะเป็นทีมนักศึกษา แต่เราในฐานะสตาร์ทอัพที่อยู่ในโลกความเป็นจริงได้เรียนรู้อะไรจากการ Pitching ครั้งนี้ มาดูคำแนะนำ 10 ข้อ ทำสตาร์ทอัพไม่มีดับไปพร้อมกันเลย

15058004_10210694858344853_1753866958_n

 

1. อย่ารีบเปิดตัวแอปพลิเคชั่นของเราตั้งแต่แรกเวลา Pitching: สิ่งที่ทุกทีมทำได้ดีคือการเล่าเรื่องที่เริ่มจากปัญหาของกลุ่มเป้าหมายแล้วจึงนำเสนอวิธีแก้ปัญหาและค่อยๆเล่าว่าแก้ปัญหาได้อย่างไร ไม่ใช่เปิดตัวแอปพลิเคชันของเราตั้งแต่แรก การบอกเหตุผลว่าทำไมคนถึงต้องใส่ใจในแอปฯก่อนนำเสนอแอปฯจึงเป็นกลยุทธ์พื้นฐานที่ฉลาดมากทีเดียว

 

2. ศึกษา Success Case หรือ Role Model ทั้งไทยและเทศสำหรับสตาร์ทอัพของเรา:ในช่วงที่กรรมการถามทีม Alpha Trade ที่เสนอแอปฯบริการเทรดหุ้น รองชนะเลิศอันดับ 2 ว่ามี Success Case, Role Model และแอปพลิเคชั่นที่คล้ายกันหรือไม่ และแอปฯนี้เหมือนหรือแตกต่างจากเขาอย่างไรทีม Alpha Trade สามารถตอบได้ว่ามี Bloomberg ที่แม้ทำได้เยอะกว่าแต่ Alpha Trade ที่โฟกัสสุดๆกับ Technical และทีม Mekram ที่เทียบแอปฯบริการหาแฟชั่นสไตล์การแต่งตัวที่ใช่ของตัวเองกับบริการ Style Hunt ขึ้นมาเปรียบเทียบจุดที่แตกต่างกัน

15086426_10210694858144848_1685088652_n

ทีม Alpha Trade เสนอแอปฯบริการเทรดหุ้น 

 

15151156_10210694858864866_1152832526_n

ทีม Mekram ที่เทียบแอปฯบริการหาแฟชั่นสไตล์การแต่งตัวที่ใช่

 

แม้ว่าสตาร์ทอัพของเราต้องการเป็นเจ้าเดียวทำทำแอปฯนี้ เพื่อดึงคนสนใจมาใช้บริการ แต่านักลงทุนต้องการลงเงินไปกับการลงทุนที่ให้ได้ผลจริงๆ หากสตาร์ทอัพของเราคล้ายกับสตาร์ทอัพที่เคยทำสำเร็จมาแล้ว มีตลาดรองรับอยู่จริง นักลงทุนจะมองข้ามเรื่องของการลอกเลียนแบบ แต่จะไว้ใจเรามากกว่าเดิม

เพราะอย่าลืมว่าแก่นของสตาร์ทอัพอย่างหนึ่งคือการ “ทำซ้ำได้” ฉะนั้นการลอกเลียนแนวคิดอาจเป็นเรื่องจำเป็น

 

3. อย่าอ้าง Blockchain (หรือเทคโนโลยีใหม่) หากยังไม่รู้ว่าจะดึงคนเข้ามาใช้มันได้อย่างไร: ทีม Deck นำเสนอว่าแอปฯ Deck ที่จัดการบัตรส่วนลดสมาชิกและสะสมแต้ม จะนำระบบ Blockchain เข้ามา ทำให้กรรมการสงสัยว่า ทำอย่างไรที่จะดึงร้านค้าเหล่านี้มาร่วมใช้แอปฯของ Deck

เพราะ Blockchain ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ ยังมีคนเข้าใจน้อยมาก ธนาคารก็เพิ่งเริ่มทดสอบ Blockchain แถมร้านค้าที่ทีม Deck ต้องการพ่วงก็มีเยอะ

ฉะนั้นใครที่คิดจะนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในสตาร์ทอัพ ต้องตีโจทย์ให้แตกว่าทำอย่างไรจะอธิบายให้ผู้ใช้บริการและพาร์ทเนอร์เข้าใจ Blockchain และจะได้ประโยชน์อะไรจากมัน ที่สำคัญ ทำไมเขาต้องมาง้อใช้บริการของเราด้วย?

digital-binario-1-750x422

 

4. ค้นหา Unfair Advantage ของสตาร์ทอัพให้ได้:Finis ทีมชนะเลิศของ Krungsri Uni Startup เสนอฮาลาลอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง เชื่อมต่อธนาคารพาณิชย์กับสหกรณ์อิสลาม เมื่อกรรมการถามถึงระบบพร้อมเพย์ที่เข้ามาปีหน้าและให้บริการที่เก็บค่าธรรมเนียมการโอนได้ถูกกว่า พร้อมมาเป็นคู่แข่ง  Finis ทีมจึงยกเรื่องของ “ความน่าเชื่อถือ” ในระบบฮาลาลที่จัดการเรื่องดอกเบี้ยได้ตามหลักศาสนา มาเป็นข้อได้เปรียบระบบพร้อมเพย์ และสามารถติดต่อกับสหกรณ์อิสลามได้ 4 เจ้า

เมื่อกรรมการถามถึงธนาคารอิสลามที่อาจมีความสามารถทุนหนากว่ามาทำฮาลาลอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้งได้ดีกว่าหรือไม่ ทีม Finis ได้ชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของบอร์ดบริหารที่ไม่ใช่มุสลิมและไม่เข้าใจฮาลาว

“ความน่าเชื่อถือ” จึงกลายเป็น Unfair Advantage ไพ่ตายของ Finis ลดความเสี่ยงให้ลูกค้าได้ ดีกว่าคู่แข่ง

15109431_1443200305708888_4463557352553025895_n

ทีมชนะเลิศ Finis ฮาลาลอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง เชื่อมต่อธนาคารพาณิชย์กับสหกรณ์อิสลาม 

 

ซึ่งหากเทียบกับทีม Insureself ที่เสนอแอปฯรวมกรรมธรรม์ที่ให้ลูกค้าเลือกกรรมธรรม์ที่คุ้มที่สุด แม้จะยกความน่าเชื่อถือว่าเป็นปัจจัยให้ลูกค้าเปลี่ยนมาใช้บริการ Insureself จากมานั่งเทียบกรรมธรรม์เอง แต่ความน่าเชื่อถือของ Insureself เป็น Unfair Disadvantage เพียงพอหรือไม่ในฐานะบริการใหม่ที่เข้าสู่วงการประกัน

ทำให้เกิดคำถามของกรรมการตามมาคือทำไมบริษัทประกันต้องมาเลือก Insureself  ?

เพราะบริษัทฯก็สามารถติดต่อลูกค้าได้โดยตรง แทนที่จะต้องโหลดแอปฯเพื่อรอลูกค้ามาติดต่อ และเสียค่าบริการ และหากบริษัทฯใช้ insureself ก็จะเจอบริษัทฯคู่แข่งอีกด้วย

15086952_10210694998508357_1405978604_n

ทีม Insureself เสนอแอปฯรวมกรรมธรรม์ที่ให้ลูกค้าเลือกกรรมธรรม์ที่คุ้มที่สุด 

 

อีกตัวอย่างของ Unfair Advantage คือทีม iGetDorm ที่เป็นนักศึกษาสามารถเข้าถึงกลุ่มนักศึกษาที่จะมาใช้บริการและกลุ่มเจ้าของหอพัก ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึก หรือมีข้อมูลที่เป็น Insight ในการทำตลาด ของ iGetDorm ก็นับเป็น Unfair Advantage อีกอย่างหนึ่งเช่นกัน หากทีมนี้ขยายบริการไปสู่อพาร์ทเม้นท์ คอนโดมิเนียมอย่างที่กรรมการถาม ข้อได้เปรียบด้านนี้ของทีมก็จะอ่อนลง

15151479_10210694858664861_533566243_n

ทีม iGetDorm  เว็บหาหอพักเพื่อนักศึกษา

 

5. มี Advisor คู่กาย ถ้าเราขาดประสบการณ์: อย่างที่โดนัลด์ ทรัมป์เคยพูดไว้ “ผมไม่ได้ลงทุนในตัวสินค้า ผมลงทุนในตัวคุณ” ทุกทีมพยายามขายโมเดลธุรกิจของตัวเองเต็มที่ แต่ทีมต้องยอมรับว่ายังมีประสบการณ์ที่จำเป็นไม่พอ กลายเป็นข้อเสียเปรียบที่ไม่มีนักลงทุนมาอยากจมหัวท้ายด้วย

ฉะนั้นการมี “กุนซือ” ที่มีประสบการณ์เข้าไปในทีม Pitching จึงสำคัญมาก ในอนาคตหากเราต้องไป Pitching ขอทุนจากนักลงทุน นักลงทุนต้องมั่นใจด้วยว่าเราไม่เอาเงินของเขาไปทำในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง

15128545_10210694858904867_1799268220_n

ทีม Prime เสนอเว็บไซต์ช่วยขอสินเชื่อที่สะดวก ใช้ง่าย อัพเดทผลได้ 24 ชั่วโมง 

 

6. อย่าลืมทำ Backup Slide อุ่นใจขึ้น: หลายๆทีมที่ตอบคำถามของคณะกรรมการได้ดี บางทีมมี Backup Slide เผื่อไว้ ตอบคำถามคณะกรรมการ ส่วนหนึ่งเพราะได้เตรียมตัวไว้ล่วงหน้าว่าคณะกรรมการจะถามอะไรหลังจากที่ทีมได้ Pitching ไปแล้ว

เพราะเราไม่มีทางนำเสนอทุกอย่างภายใน 5 นาทีแน่นอน ยิ่งมีเวลานำเสนอน้อย ยิ่งต้องคัดเรื่องที่สำคัญไว้นำเสนอ จึงไม่ต้องพูดเร็วยัดเนื้อหาทั้งหมด ส่วนช่วง Q&A ไว้ให้คณะกรรมการหรือนักลงทุน ถามในสิ่งที่เขาอยากรู้ นอกจากนั้นเขาไม่อยากรู้

ฉะนั้นอย่าเข้าใจผิดว่าทุกอย่างที่เรารู้สำคัญและต้องเสนอหมด

14991857_1443200359042216_8681368811541559936_n

คณะกรรมการมากความสามารถและประสบการณ์จาก Krungsri Uni Startup Batch 2 

 

7. ลืม MBA ไปซะ เน้นเทคนิคอลกับทีมขายเข้าไว้: ทีม Deck มองว่าจุดแข็งของทีมคือการที่ “ทุกคน” เป็นนักพัฒนาเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นทั้ง 5 คนเรียนเรื่อง IT และธุรกิจ ทำให้ทีมสามารถศึกษาความเป็นไปได้ของเทคโนโลยีนั้นและทำให้ได้จริง เพราะจุดยากคือทำเรื่องเทคนิค ซึ่งหากเทียบกับทีม iGetDorm ที่กรรมการยังสงสัยเรื่องของระบบการเช็คยอดโอน ซึ่งอาจสะท้อนถึงปัญหาเทคนิคอลที่ยังไม่ได้แก้ไข

แม้ทีม Deck ตอนนี้ยังไม่มีนักขายที่มีประสบการณ์ แต่นี่คือสิ่งที่สตาร์ทอัพหน้าใหม่ควรเรียนรู้ไว้ เหมือนที่ Guy Kawasaki (Venture Capitalist จาก Silcon Valley) บอกไว้ว่าว่านักลงทุนต้องการลงเงินไปกับพวกวิศวะนักสร้างและนักขายที่มีประสบการณ์ระยะแรกของการทำกิจการ เริ่มแรกเราต้องมี “ของ” มาขายและต้องมีคนมา “ขาย” มันให้ได้

ไม่ใช่พวกจบ MBA ที่ไม่สามารถสร้างสินค้าบริการอะไรได้เลย เพราะอย่าลืมว่าเรา “ขาย” ไม่ได้ถ้าไม่มี “ของ”

15151130_10210694858424855_1256032144_n

ทีม Deck มาพร้อมกับแอปฯที่จัดการบัตรส่วนลดสมาชิกและสะสมแต้ม

 

8. ออกแบบ User Experience ให้แอปฯใช้ง่ายและสะดวก: หลังจากที่ทีม Jumnum รอบชนะเลิศอันดับ 1 ได้นำเสนอบริการจำนำระหว่างโรงรับจำนำและผู้จำนำไป กรรมการได้ถามว่าทั้ง Process ในการใช้แอปฯ เพื่อจำนำนานเท่าไร่ ทีมก็ได้อธิบายว่า ตั้งแต่ถ่ายรูปของจำนำโพส กรอกข้อมูล โรงจำนำก็เสนอราคามา ถ้าดีลโอเคก็จะจับคู่กัน ทั้งหมดใช้เวลาไม่ถึง 5 นาทีจะช้าตรงที่ผู้จำนำรอที่บ้าน ให้พนักงานมาดูของและให้เงินไป

15057874_10210694858184849_663708430_n

การออกแบบการใช้งานแอปฯจึงสำคัญมาก หากผู้ใช้งานลองโหลดแอปฯของเราแล้วใช้ไม่เข้าใจภายในไม่กี่วินาที ผู้ใช้งานจะลบแอปฯออกจากมือถือและไม่ให้อภัยแอปฯของคุณเลย ฉะนั้น User Experience และ User Interface จึงต้องมีการทำ Prototype ทดสอบและปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา

 

9. ระวังปัญหา “ไก่ กับ ไข่” และปัญหา “คุยกันหลังร้าน” หากคิดทำบริการแมทช์ชิ่ง: กรรมการถามทีม iGetDorm ว่า “Multiside platform ฝ่าย user กับ ฝ่ายหอพัก เน้นไหนก่อน?” ทีมจึงต้องให้บริการค้นหาหอพักเพื่อรวบรวม user ให้ได้ก่อน ในขณะเดียวกันก็ต้องติดต่อหอพักเพื่อให้บริการนักศึกษาที่มองหาหอพักอยู่ด้วย มิฉะนั้นทีมก็ไม่สามารถเก็บค่าบริการระบบค้นหาหอพักจากเจ้าของหอพักได้สำเร็จ

ส่วนทีม “Jumnum” ต้องมั่นใจว่าระบบจะป้องกันไม่ให้โรงรับจำนำและผู้จำนำสามารถติดต่อกันเองได้สำเร็จเพื่อเลี่ยงค่าบริการของแอปฯ ซึ่งทีม Jumnum ในเบื้องต้นก็แก้เกมได้ดีโดยบอกว่าแอปฯจะบังคับให้โรงรับจำนำโอนเงินให้แอปฯหลังจากที่รับดีลกับผู้จำนำ ป้องกันไม่ให้ไปติดต่อกันเอง

 

10. อย่าท่อง (หรือฟังแล้วรู้สึกว่าท่องมา): นอกจากจะไม่เป็นมืออาชีพแล้ว คณะกรรมการ โดยเฉพาะนักลงทุนอาจมองว่าเราไม่ได้รู้เรื่องที่เราพูดจริง พยายามเลือกสิ่งสำคัญที่สุดมาพูดในช่วง Pitching ดีกว่า เพราะหากพูดเร็วๆเพื่อยัดเนื้อหาทุกอย่างในช่วง Pitching กรรมการก็อาจจะจับประเด็นเราไม่ทันเข้าใจ ต้องมาถามในช่วง Q&A เราก็ยิ่งเสียโอกาสนำเสนอข้อมูลใหม่ๆนอกเหนือจากที่ได้ Pitching นั่นเองครับ

15135505_10210695084310502_1743201827_n

Q&A คือโอกาสทองที่เราสามารถนำเสนอข้อมูลที่จำเป็นนอกจากเนื้อหาในช่วง Pitching

 

สุดท้ายคุณณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ผู้ก่อตั้ง OOKBEE และหนึ่งในคณะกรรมการของ Krungsri Uni Startup อยากฝากถึงสตาร์ทอัพทุกคนว่า ทุกทีมที่มาแข่งกำลังอยู่ในช่วง Idea stage ทำ marketing research และ prototype มีเวลาพรีเซนต์ 5 นาที ถามตอบอีก 5 นาที แข่งกันถามเก่งตอบเก่ง แต่โลกของสตาร์ทอัพต้องลงมือทำจริง ต้องดูว่าบริการที่ออกมาจริงๆนั้นตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายจริงๆหรือไม่ ฉะนั้นการนำเงินมาลงทุนกับสตาร์ทอัพในช่วงนี้ยังเร็วเกินไป

หากนักศึกษาคนไหนอยากแข่ง Krungsri Uni Startup รอ Batch 3 ปีหน้าได้เลย นอกจากจะได้ประชันฝืมือแล้วยังเข้าถึง Mentor เก่งๆ พาร์ทเนอร์เจ๋งๆคอยสนับสนุน โอกาสหายากแบบนี้ ทำให้ Krungsri Uni Startup เป็นโครงการที่ทุกคนต้องนึกถึงแน่นอน

15085733_1443200265708892_9220211777227979112_n

 

แหล่งที่มา

งาน Krungsri Uni Startup Final Round 2016 วันที่ 15 พฤศจิกายน 2559 ณ สยามพารากอน


  • 285
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th