จริงอยู่ที่เมื่อก่อนจุดประสงค์การใช้แต่ละแพลตฟอร์มก็จะเป็น single purpose เท่านั้น คือ จุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่ง
แต่ลัทธิโลกสมัยใหม่ไม่ได้จำกัดอยู่ที่จุดประสงค์การใช้แบบเดิมๆ อีกต่อไป เพราะในวันนี้ขอบเขตของการใช้โลกออนไลน์มันเริ่มเบลอเจือจาง ทุกอย่างค่อยๆ กลืนเข้าหากันจนแทบแยกไม่ออก อย่างที่ Jennifer Lundquist ศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาที่พูดว่า “ธรรมชาติของโลกออนไลน์ที่พร่ามัว”
เหตุผลเพราะว่าในปัจจุบันมีจำนวนคนไม่น้อยที่ใช้แพลตฟอร์มต่างจุดประสงค์กันออกไป นอกเหนือจากที่มันควรจะเป็น อย่างเช่น Tinder กับ LinkedIn ที่ถูกยกตัวอย่างพูดถึงอยู่บ่อยๆ ในกลุ่มสังคมวิทยาและพฤติกรรมมนุษย์ยุคใหม่
ยกตัวอย่าง เช่น Josh Ong ชายหนุ่มวัย 27 ปี ที่ matched กับหญิงสาวคนหนึ่งซึ่งคุยถูกคอกันมาก คุยเป็นภาษาเดียวกัน แต่สิ่งที่เซอร์ไพรส์ก็คือ ในวันที่นัดเจอกันหญิงดังกล่าวได้เริ่มเปิดประเด็นเกี่ยวกับ ‘กรมธรรม์ประกันชีวิต’ กับชายที่เจอกันจาก Tinder
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ เธอยอมรับตรงๆ ว่าใช้ Tinder ในการหาลูกค้า และสามารถปิดดีลกับลูกค้าไปได้หลายคนจากแอปพลิเคชั่นTinder ทั้งยังมองว่าเป็นโอกาสใหม่ของกลุ่มคนอาชีพนี้ โดยในสหรัฐอเมริกาตัวแทนประกันหันมาใช้แอปฯ หาคู่ในทางธุรกิจกันมากขึ้น และประสบความสำเร็จด้วย
มีข้อมูลจาก Business Insider ที่ระบุว่า มีหลายเคสที่ใช้วิธีหาลูกค้าจากแพลตฟอร์มหาคู่ อย่าง Tinder ขณะเดียวกัน แพลตฟอร์มอื่น เช่น LinkedIn สื่อสังคมที่ค่อนข้าง official กลับกลายเป็นแหล่งพบรักใหม่ของใครหลายๆ คู่ที่ผ่านมาเช่นกัน
Jennifer Lundquist นิยามพฤติกรรมของคนในปัจจุบันที่ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ว่า เป็นกลุ่ม users ที่มีจุดประสงค์ใช้ “มากกว่า 1” อย่างชัดเจน ซึ่งพบมากในหลายๆ แพลตฟอร์ม แม้แต่ e-Marketplace ส่วนหนึ่งเพราะว่าการเข้าถึงของแหล่งข้อมูลมันง่ายขึ้น รวมทั้งความสะดวกสบายในการใช้แอปฯ ต่างๆ ก็ง่ายขึ้นเช่นกัน
ดังนั้น ข้อมูลด้านพฤติกรรมที่ชี้วัดนี้ สามารถพูดได้ว่า คนยุคใหม่ที่ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ส่วนใหญ่หรือจำนวนมากที่ใช้แพลตฟอร์มหนึ่งมากกว่า 1 เหตุผล โดยในบทความนี้ได้พูดถึงกฎระเบียบของ Tinder ว่าค่อนข้างน้อย ไม่ยุ่งยาก จึงทำให้บัญชีผู้ใช้สามารถสร้างประโยชน์จาก Tinder ได้มากกว่าการหาคู่นั่นเอง
ที่มา: Insider