วิเคราะห์ เทรนด์อนาคต ‘Air Taxi’ เมื่อทั่วโลกยกระดับบริการแท็กซี่บินได้ให้กลายเป็นจริง!

  • 9
  •  
  •  
  •  
  •  

 

หากใครที่เป็นคอหนังไซไฟ (sci-fi) คงจะชินภาพกับเทคโนโลยีล้ำๆ ตลอดเวลา และหนึ่งในนั้นที่เห็นกันบ่อยๆ ก็คือ รถบินได้’ (Flying cars) อย่างในภาพยนตร์ดังๆ หลายเรื่อง เช่น  The Jetsons และ Back to the Future เป็นต้น ซึ่งหลายคนอาจเคยใฝ่ฝันที่จะนั่งรถบินได้เพื่อเลี่ยงรถติด หรือด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ รู้หรือไม่ว่าตอนนี้ความฝันที่ว่านั้นกำลังกลายเป็นจริง!

หลังจากที่บริษัทรายใหญ่หลายแห่ง เช่น TOYOTA, Uber, Hyundai, Airbus และ Boeing สุ่มเงียบศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีนี้ เพื่อที่จะทำให้รถบินได้สักทีและสามารถใช้งานได้จริงๆ ด้วยความมุ่งมั่นเหมือนกัน ก็คือ การพัฒนา ‘flying taxis’ หรือรถแท็กซี่บินได้

แม้แต่ Morgan Stanley บริษัทให้บริการทางการเงินระดับโลกในนิวอร์ก ยังมองว่า โอกาสที่ตลาดรถบินได้/แท็กซี่บินได้ จะเติบโตได้ดีเป็นมูลค่าแตะระดับที่ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2040

นอกจากนี้ยังมีการศึกษา ‘urban air mobility (UAM)’ โดย Frost & Sullivan บริษัทวิจัยด้านตลาดในสหรัฐอเมริกา ที่ยืนยันว่า มีหลายประเทศที่ลงทุนวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ ‘รถบินได้’ โดยประเทศแรกที่ประกาศจะให้บริการแท็กซี่บินได้ในปี 2022 ก็คือ ‘ดูไบ’ ทั้งยังมีเป้าหมายชัดเจนว่าจะทำให้อัตราเฉลี่ยการขยายตัวของบริการแท็กซี่บินได้ อยู่ที่ 46% และในปี 2040 จะมีแท็กซี่บินได้ที่ให้บริการทั้งหมด 430,000 คัน

ที่จริงการศึกษาเกี่ยวกับแท็กซี่บินได้ หรือ รถบินได้ในหลายประเทศ สรุป 2 รูปแบบก็คือ แท็กซี่บินได้แบบโดรน (ไม่ต้องมีคนขับ) และรถบินได้ที่จำเป็นต้องมีคนขับ (แต่บรรจุผู้โดยสารได้มากกว่า) คล้ายๆ กับเป็นเครื่องบินโดยสารย่อส่วนเหลือแค่ 1 ใน 4 หรือ 2 ใน 4 จากขนาดจริง

 

 

 

รวมประเทศที่เริ่มการทดลอง ‘แท็กซี่บินได้’

อย่างที่ยกตัวอย่างไปแล้วก็คือ ดูไบ’ โดยบริษัท Volocopter ซึ่งเป็นประเทศแรกๆ ที่ประกาศกำหนดการเปิดตัวบริการอย่างชัดเจน คาดว่าจะเปิดตัวบริการอย่างเป็นทางการในปี 2022 ซึ่งเป็นแท็กซี่โดรนขนาดเล็กบรรจุได้ 2 ที่นั่ง ใช้ใบพัดขนาดเล็กจำนวน 18 ใบ และบินได้ความเร็วสูงสุดนาน 30 นาที

เยอรมนี’ เป็นอีกหนึ่งประเทศที่เริ่มทดสอบไปแล้ว โดยบริษัทสตาร์ทอัพ ‘Lilium Aviation’ โดยเครื่องบินต้นแบบคือ eVTOL ซึ่งได้เริ่มทดลองในปี 2019 และได้ทดสอบไปแล้วทั้งหมด 1,000 ครั้งคาดว่าจะเริ่มให้บริการได้จริงในฐานะ แท็กซี่บินได้ ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า

สิงคโปร์’ โดยบริษัท Volocopter จากเยอรมนีได้เริ่มทดสอบแท็กซี่บินได้ ตั้งแต่ปี 2019 เช่นกัน แท็กซี่บินได้นี้ชื่อว่า ‘Volocity’ สามารถบินวนต่อเนื่องได้นานกว่า 2.30 นาที โดยเส้นทางให้บริการคาดว่าจะนำร่องเส้นทางหลักๆ ก่อน เช่น มารีนาเบย์ – เกาะเซนโตซา และจุดจอดตามโรงแรม luxury ต่างๆ รอบประเทศ

 

www.xinhuanet.com

 

จีน เมื่อเดือน พ.ย. 2020 มีรายงานข่าวมาว่า บริษัทของจีน EHang ได้เปิดตัวแท็กซี่บินได้แห่งแรกในประเทศที่ชื่อว่า EHang 216 ซึ่งเป็นโดรนไร้คนขับ เป็นความร่วมมือกับรัฐบาลกลางเกาหลีใต้ โดยออกแบบให้ใช้ใบพัดเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 16 ตัว และบรรจุผู้โดยสารได้จำนวน 2 ที่นั่ง หรือสิ่งของไม่เกิน 272 กิโลกรัม

และ อินเดีย ประเทศล่าสุดที่ประกาศแผนเกี่ยวกับแท็กซี่บินได้ 4 ที่นั่งรวมนักบิน (จำกัดความเร็วที่ 250 กม./ชม.) ซึ่งเปิดให้บริการทดลองบินตั้งแต่วันที่ 18 ม.ค.ที่ผ่านมา สำหรับเส้นทางบินรูทบินแรก ก็คือ ชานดิการ์ (Chandigarh) – ฮิซาร์ (Hisar)

เฟสที่ 2 คือ ฮิซาร์ (Hisar) – เดห์ราดุน (Dehradun)

เฟสที่ 3 จะเปิดสองเส้นทางด้วยกัน คือ ชานดิการ์ (Chandigarh) – เดห์ราดุน (Dehradun) และ ฮิซาร์ (Hisar) – ดารัมซาร่า (Dharamshala) *จะเริ่มในวันที่ 23 ม.ค.นี้*

 

www.india.com

 

ขณะที่ในอนาคตคาดว่า เฟส 4 คาดวาจะเพิ่มเส้นทางให้บริการให้เป็น 26 เส้นทางบิน

ส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับบริการแท็กซี่บินได้ในอินเดีย ระบุราคาตั๋วค่อนข้างชัดเจน ซึ่งรัฐบาลพยายามทำให้ราคาตั๋วไม่แพงเกินไป ประชาชนทุกคนสามารถใช้บริการได้ เช่น เส้นทางบิน ชานดิการ์ (Chandigarh) – ฮิซาร์ (Hisar) สำหรับ 2 เที่ยวบินไป-กลับ ราคาอยู่ที่ 1,755 รูปี (ประมาณ 722 บาท)

เชื่อว่าในอนาคตเทรนด์นี้เราจะเห็นในอีกหลายประเทศแน่นอน อย่างบริษัทของเยอรมนี Volocopter ที่แสดงความสนใจที่จะต่อยอดโมเดลนี้ในอีกหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งก็มีประเทศไทยอยู่ในนั้นด้วย ดังนั้น โอกาสที่จะเห็นรถบินได้ยิ่งใกล้ตัวเข้ามาเรื่อยๆ แถมเราอาจจะเห็นกรุงเทพฯ เมืองแห่งรถติดอันดับต้นๆ ของโลก กลายเป็นถนนโล่งผิดหูผิดตาในอนาคตใกล้ๆ นี้ก็ได้

 

 

 

 

 

ที่มา: cnbc, india, xinhuanet


  • 9
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม