3 ประเด็นการตลาดที่กลายเป็นเรื่องเร่งด่วนเพราะวิกฤติ COVID-19

  • 46
  •  
  •  
  •  
  •  

ปี 2020 นอกจากเป็นปีที่ไม่ปรกติแล้ว ปี 2021 ยังเป็นปีที่ไม่มีทีท่าว่าเราจะได้ใช้ชีวิตแบบเดิมอีกต่อไป การตลาดเองก็เหมือนกัน วิกฤติ COVID-19 ทำให้ความคาดหวังของผู้บริโภคนั้นสูงมากๆ คาดหวังไว้ว่า เมื่อความต้องการสินค้าและบริการเปลี่ยน ธุรกิจจะต้องมีสินค้าที่ตอบสนองความต้องการได้เดี่ยวนั้นทันที และใช้งานแล้วต้องดีกว่าที่เคยใช้ด้วยซ้ำ

ฉะนั้นมาดูว่า 3 ประเด็นการตลาดที่กลายเป็นเรื่องเร่งด่วนเพราะวิกฤติ COVID-19 นั้นมีอะไรบ้าง

1. Personalized Experience

ช่วงก่อน COVID-19 ความต้องการ Personalized Experience ก็มีมากอยู่แล้ว แต่พอมี COVID-19 ความต้องการที่ว่าก็มีมากขึ้นไปอีก ไม่ต้องถึงขั้น Personalization ก็ได้ เอาแค่ความตอบสนองลูกค้าแต่ละ Segment ก็มากขึ้นตาม เพราะชุมชนที่มีการระบาดก็ย่อมมีความต้องการที่แตกต่างกัน ข้อความที่สื่อสารให้กับแหล่งชุมชนก็ต้องปรับให้เข้ากัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของราคาสินค้าที่ปรับลดเพื่อช่วยบรรเทาทุกข์ สินค้าเกี่ยวกับสุขภาพ แบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับประโยชน์ส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม และประสบการณ์การใช้งาน

ฉะนั้นใครที่ยังทำการตลาดแบบเหมารวม คิดว่าทำคอนเทนต์ออกไปแล้วทุกคนจะชอบ ช่องทางการจำหน่าสินค้าก็คิดว่าทุกคนจะเข้าถึงเหมือนกันๆ โปรโมชั่นที่จัดไปก็คุ้มค่าสำหรับทุกๆคนแบบนี้ เห็นทีจะรอดยากหลังยุค COVID-19 หมดไป

ทั้งคอนเทนต์ ช่องทางการขายของ ชุมชน และความสะดวกในการซื้อสินค้า ต้องตอบโจทย์ราย Segment และรายคนได้ยิ่งดี โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่ธุรกิจเก็บโดยตรงจากผู้บริโภค (First Party Data) ให้มากที่สุด ชณะเดียวกันก็สร้างระบบที่คุ้มครองข้อมูลผู้บริโภคให้ผู้บริโภคไว้ใจ จนนำไปสู่ข้อถัดไป คือ Brand Loyalty

 

2. Brand Loyalty

ผู้บริโภคพร้อมเปลี่ยนแบรนด์ของสินค้าบริการที่ใช้อยู่มากขึ้น โดยเน้นแบรนด์ที่สะท้อนคุณค่าที่บริโภคให้ความสำคัญ คุณค่าที่เป็นมากกว่าแค่ของกินของใช้ เช่นความยั่งยื่น ความไว้เนื้อเชื่อใจ ความรับผิดชอบต่อสังคม คุณค่าพวกนี้ส่งผลต่อการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคหมด

การสื่อสารในภาวะวิกฤติก็เป็นอีกเหตุการณ์ที่เป็นบทพิสูจน์สำหรับแบรนด์หากมีการสื่อสารผิดพลาด เช่นการโฆษณาที่มีฉากผู้คนที่ไม่เว้นระยะห่างทางสังคม หรือการส่งสินค้าที่ล่าช้าไม่ทันความต้องการของผู้บริโภค แบรนด์จะต้องหันมาปรับปรุงการสื่อสารให้สื่อสารปรับความเข้าใจกับผู้บริโภคเร็วขึ้น

และนั่นหมายถึงการปรับคำพูด รูปภาพ ครีเอทีฟ งบประมาณและช่องทางในการสื่อสารให้เหมาะสมกับการสื่อสารช่วงวิกฤติ ยิ่งเป็นช่วงที่ผู้คนอยู่บนโลกออกไลน์กันมากขึ้นไปอีกจากวิกฤติ COVID-19 ทำให้การพูดคุยผ่านระบบออนไลน์เพื่อเสนอขายโซลูชั่นใหม่ๆเป็นเรื่องท้ายทายขึ้นไปอีก

 

3. Digital Transformation

เมื่อ COVID-19 ทำให้ Personalized Experience กับ Brand Loyalty เป็นเรื่องเร่งด่วน ทำให้ธุริกจหรือองค์กรต้องปรับตัว ไม่ใช่ในแง่ของการนำระบบดิจิทัลมาใช้อย่างเดียว เพราะมันหมายถึงการปรับองค์กรให้อยู่ในรูปแบบที่การแชร์ข้อมูลของผู้บริโภคภายในองค์กรเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด ไม่มีการแบ่งแยกแผนกใครแผนกมัน หรือข้อมูลของระดับไหนก็ระดับนั้น แผนผังองค์กรอาจจะต้องถูกทบทวนใหม่

เพราะเมื่อทุกแผนกขององค์กรสามารถสร้างผลกระทบกับ Customer Journey ได้ทุกจุด หากแต่ละแผนกใช้ข้อมูลของผู้บริโภคที่ต่างกัน ความเสียหายคือแต่ละแผนกก็จะออกแบบประสบการณ์การใช้สินค้าหรือบริการตามจุดต่างๆของ Customer Journey ที่ไม่ได้เข้ากันเลย

 

ผู้บริโภคหลังยุค COVID-19 จะมีความคาดหวังที่สูงกว่าเดิมอีกเยอะ องค์กรที่ทำงานแบบตัวใครตัวมัน ข้อมูลไม่มีการแชร์ คนเสียหายคือลูกค้า และองค์กรในระยะยาว ฉะนั้นนอกจากโครงสร้างองค์กรที่ควรออกแบบให้มีการแชร์ข้อมูลได้ง่ายและเป็นมาตรฐานเดียวแล้ว ผู้นำองค์กรเองก็ควรจะปรับตัว เป็นกระบอกเสียงให้กับผู้บริโภคด้วย

 

แหล่งที่มาส่วนหนึ่งจาก 10 Truths About Marketing After the Pandemic


  • 46
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th