ลิขสิทธิ์เรื่องที่คน Creative/ Creator ต้องรู้และระวัง ก่อนจะพลาดท่าตกม้าตายเสียเงินหลายแสน

  • 61
  •  
  •  
  •  
  •  

ย้อนกลับไปเมื่อไม่นานมานี้ เราคงได้ยินกระแสดราม่าชื่อร้านที่มีการพูดถึงเรื่องลิขสิทธิ์ ซึ่งเรื่องลิขสิทธิ์ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการทำธุรกิจ ซึ่งลิขสิทธิ์ไม่ได้มีแค่เรื่องของชื่อเท่านั้น แต่ลิขสิทธิ์ยังรวมไปถึงเรื่องของการใช้ภาพ เสียงและวิดีโออีกด้วย โดยเฉพาะเหล่า Creative ที่ยังไงก็หลีกหนีไม่พ้นเรื่องการใช้ภาพ เสียงและวิดีโอมาเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตชิ้นงานให้กับลูกค้า

แม้ว่าเรื่องลิขสิทธิ์จะเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนเข้าใจกันดี ก็ยังมีอีกหลายอย่างที่ซับซ้อนจนอาจทำให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์โดยที่ไม่รู้ตัวมาก่อน และนำมาซื้อความเสียหายหลายแสนหรืออาจถึงขั้นฟ้องร้องกันเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โต

 

9 ประเภทลิขสิทธิ์ที่ต้องรู้

นอกจาก Creative ต้องรู้เรื่องลิขสิทธิ์แล้ว คนทั่วไปรวมไปถึงเหล่า Creator ทั้ง YouTuber หรือ TikToker ควรต้องทราบเรื่องลิขสิทธิ์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ขึ้นมา โดยสามารถแบ่งลิขสิทธิ์ออกได้เป็น 9 ประเภทหลักๆ ไม่ว่าจะเป็น

 

 

    • Literary Works หรือลิขสิทธิ์ทางด้านวรรณกรรม ไม่ว่าจะเป็นบทความต่างๆ หรือเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ รวมไปถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ก็ถูกจัดอยู่ในประเภทวรรณกรรม และเนื้อหาคำกล่าวสุนทรพจน์ต่างๆ ที่มีการเคยกล่าวไว้
    • Dramatic Works หรือลิขสิทธิ์ทางด้านศิลปะท่าทางต่างๆ แต่ท่าทางการเต้น ท่าทางการร่ายรำ รวมไปถึงท่าทางที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
    • Artistic Works หรือลิขสิทธิ์ทางด้านศิลปกรรมที่เป็นภาพวาด ภาพถ่าย งานออกแบบต่างๆ
    • Musical Works หรือลิขสิทธิ์ทางด้านดนตรี ไม่ว่าจะเป็นเนื้อร้องหรือเสียงประสาน ทำนองต่างๆ
    • Sound Recording หรือลิขสิทธิ์ทางด้านโสตทัศนวัสดุ ซึ่งหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการบันทึกเสียงหรือวิดีโอ อย่าง DVD VCD แผ่นเสียง คาราโอเกะ
    • Film & Video Works หรือลิขสิทธิ์ทางด้านการเผยแพร่ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เช่น ภาพยนตร์
    • Broadcasts หรือลิขสิทธิ์ทางด้านการบันทึกเสียงหรือบันทึกรายการทีวี
    • Published Editions หรือลิขสิทธิ์ในด้านสื่อสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ บทประพันธ์หรือตำราต่างๆ อย่าง หนังสือเรียน
    • Other หรือลิขสิทธิ์อื่นใด ในแผนกวิทยาศาสตร์ เช่น สูตรทางวิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ เช่น ลวดลายการเพ้นท์ร่างกาย

ซึ่งทั้ง 9 ประเภทลิขสิทธิ์นี้ถือเป็นลิขสิทธิ์ที่มีใช้กันทั่วโลก และเป็นสิ่งที่ Creative, Content Creator, KOLs/Influencers, นักข่าว, นักเขียน, นักการตลาด ควรต้องทราบและตรวจสอบก่อนนำผลงานเหล่านั้นไปใช้งาน

 

ลิขสิทธิ์แฝง สิ่งที่ต้องทราบ

แน่นอนว่าหาก Creative ต้องการสร้างสรรค์ผลงานควรมีการตรวจสอบลิขสิทธิ์ และหลายครั้งที่ตรวจสอบแล้วไม่พบลิขสิทธิ์ แต่ก็อย่างเพิ่งไว้วางใจเพราะยังมีสิ่งที่เรียกว่า “ลิขสิทธิ์แฝง” หรือลิขสิทธิ์อื่นที่แฝงอยู่ในผลงานนั้น บางครั้งการที่ตรวจสอบไม่ระเอียดอาจก่อให้เกิดปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ได้โดยที่ไม่รู้ตัว กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็มี Notice แจ้งเตือนการละเมิดลิขสิทธิ์มา

 

Photo: 24 / Shutterstock.com

 

ยกตัวอย่างรูปหอไอเฟลที่ประเทศฝรั่งเศส โดยเป็นรูปที่ถ่ายตอนกลางวันและรูปที่ถ่ายตอนกลางคืน ทั่วไปจะทราบกันดีว่า หอไอเฟล เป็นสถานที่สาธารณะดังนั้นลิขสิทธิ์ในเรื่องของภาพถ่ายหอไอเฟลจะเป็นลิขสิทธิ์ของช่างภาพ และใครๆ ก็สามารถถ่ายภาพหอไอเฟลได้โดยไม่ผิดลิขสิทธิ์ และยังสามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้แค่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของภาพ แต่หากเป็นหอไอเฟลในตอนกลางคืนจะเป็นอีกเรื่อง เนื่องจากก่อนหน้านี้รัฐบาลฝรั่งเศสได้ว่าจ้างบริษัทจัดไฟเพื่อให้ออกแบบไฟประดับหอไอเฟล

ดังนั้นใครที่ถ่ายรูปหอไอเฟลตอนกลางคืนเพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึกสามารถทำได้ แต่หากนำรูปหอไอเฟลตอนกลางคืนนำไปใช้งานเชิงพาณิชย์ นอกจากจะต้องขออนุญาตจากเจ้าของภาพแล้ว ยังต้องขออนุญาตบริษัทผู้จัดไฟประดับอีกด้วย เรียกว่าต้องขอลิขสิทธิ์ 2 ขั้นตอน เนื่องจากผลงานการประดับไฟถือเป็นผลงานศิลปะที่มีลิขสิทธิ์คุ้มครองอยู่ และการนำภาพไปใช้ต่อต้องได้รับความยินยอมจากผู้จัดไฟด้วย

 

 

ดังนั้นการเลือกใช้แหล่งภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากและ Shutterstock ถือเป็นแหล่งรวมภาพที่มีจำนวนผลงานมากมาย ยิ่งไปกว่านั้นการเลือกใช้ภาพจาก Shutterstock ยังช่วยให้มั่นใจในเรื่องของลิขสิทธิ์ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีฟีเจอร์ การสร้างภาพด้วย AI ที่ใช้งานง่ายและสามารถใช้ได้โดยไม่ติดลิขสิทธิ์ใดๆ แค่เช็คให้มั่นใจว่า AI จะไม่ใส่ CI ของแบรนด์ลงไปในผลงาน

 

ที่มา: Number 24 x Shutterstock


  • 61
  •  
  •  
  •  
  •  
Gigolo
เมื่อเทคโนโลยีอยู่ใกล้กับชีวิตทุกคน มารู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อใช้มัน แต่อย่าให้เทคโนโลยีมันใช้เรา