“อิทธิพลและความท้าทายของการโฆษณา” ในงานสัมมนาเรื่อง “โฆษณากับความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ” จัดโดย สมาคมผู้ผลิตสบู่ไทย สิ่งชำระล้างและผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคล ว่าถึงเวลาแล้วที่ภาคธุรกิจ ทั้งผู้ผลิตสินค้า-บริการ และบริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์โฆษณา จะต้องตระหนักถึงหลักจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้คำที่ล่อแหลม และเนื้อหาที่สื่อไปในทางไม่สร้างสรรค์ ไร้รสนิย – มรศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑา ผู้อำนวยการโครงการหลักสูตรการจัดการดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
ปัจจุบันโฆษณาหลายชิ้นสะท้อนให้เห็นถึงความเสื่อมด้วยการสร้างสรรค์เนื้อหาที่แหวกแนวมากเกินไป จนกลายเป็นสิ่งที่ไม่สร้างสรรค์ เป็นโฆษณาที่ไม่มีรสนิยม แม้จะเป็นสิ่งที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่สะท้อนถึงการขาดจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเห็นว่า แม้จะเป็นภาพยนตร์โฆษณา ก็ต้องคำนึงถึงหลักในเชิง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ไม่ใช่มุ่งแต่ในเชิงเศรษฐกิจอย่างเดียว
ทั้งนี้ยังมองว่าจากนี้ไปธุรกิจประชาสัมพันธ์จะเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากมีต้นทุนต่ำแต่มีความสามารถในการทำประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่า แต่ผู้ที่อยู่ในธุรกิจประชาสัมพันธ์ที่จะเป็นที่ต้องการของเจ้าของสินค้าและบริการต้องมีความคิดสร้างสรรค์ และกล้าทำในสิ่งที่แปลกใหม่และให้ความคุ้มค่าสูงสุด
“เป็นไปได้ว่าที่ความนิยมของการโฆษณาในสื่อทีวีจะลดน้อยลงเนื่องจากราคาสูง โดยจะหันไปใช้การสื่อสารการตลาดในรูปแบบอื่นมากขึ้น เช่น การทำประชาสัมพันธ์ อีเวนท์ การจัดสัมมนา และหันไปใช้สื่อออนไลน์ โดยเฉพาะ โซเชียลเน็ตเวิร์ค”
สมาคมโฆษณาฯ ชี้ต้องยึดหลักจริยธรรม
ดร.นิวัต วงศ์พรหมปรีดา เลขาธิการสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ขึ้นกล่าวในหัวข้อ “การกำกับดูแลตนเองในการโฆษณา” โดยเน้นให้ผู้ประกอบการต้องตระหนักถึงเรื่องจริยธรรม จรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ โดยนำหลักการนี้มาใช้กำกับและดูแลตัวเอง ส่วนอนาคตของบริษัทโฆษณาคงต้องปรับตัว การเปลี่ยนแปลงในวงการสื่อขณะนี้ซึ่ง เกิดจากเงินมีน้อยลง จึงต้องหาสื่อใหม่ที่มีต้นทุนต่ำ โดยจะเลือกใช้สื่อที่ใกล้กับพฤติกรรมการซื้อเช่น สื่อในร้านค้า และอินสโตร์มีเดีย โดยแนวคิดเขาจะใช้เงินที่มีอยู่น้อยลงให้ใกล้กับพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคมากที่สุด และเลือกใช้สื่อที่ใช้เงินน้อย โดยตอนนี้สื่อทรานซิส ซูเปอร์มาร์เก็ต รวมถึงสื่อในทีวีดาวเทียม เพราะค่าสปอตถูก อาจทำให้สื่อโฆษณาจำเป็นต้องดิ้นรนจนลืมเรื่องของหลักจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์