คิดต่าง ไม่ตามสูตร เรียนรู้การเป็นเจ้าของธุรกิจได้ไม่ยากที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  

การให้คำแนะนำลูกหลานเลือกมหาวิทยาลัยสมัยนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองคงต้องทำการบ้านกันไม่น้อย ยิ่งในยุคที่โลกเปลี่ยนไป ความคิดของเด็กยุคใหม่ก็เปลี่ยนแปลง แนวคิดเดิมๆ ที่เราเคยเชื่อว่าดีที่สุดอาจไม่เป็นเช่นนั้นแล้วก็ได้

นี่จึงเป็นเหตุผลที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ลุกขึ้นมาศึกษาความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งผู้ปกครอง นักเรียนมัธยมปลาย และความต้องการของภาคธุรกิจ จนพัฒนาออกมาเป็นหลักสูตรที่สร้างความแตกต่าง แต่รับรองว่าทันยุคทันสมัย และเรียนไปใช้ได้จริง

BU

ซึ่งแนวคิดสำคัญ 2 เรื่องที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพพัฒนาขึ้นมาก็คือการ คิดแบบสร้างสรรค์ (Creativity) และคิดแบบเจ้าของ (Entrepreneurship) หรือเรียกสั้นๆ ว่า C+E โดยเน้นให้นักศึกษาทุกคนฝึกฝนวิธีคิดอย่างเป็นระบบ และได้ฝึกปฏิบัติจริง แนวคิดนี้ถูกใช้เป็นแนวทางการพัฒนาหลักสูตรในทุกคณะทุกสาขาวิชา และใช้เป็นกลยุทธ์การตลาดสำคัญของมหาวิทยาลัยกรุงเทพในการตอกย้ำภาพลักษณ์ใหม่ของมหาวิทยาลัยว่าเป็น Creative Entrepreneur University

C+E ยังเป็นตัวสร้างความแตกต่างอย่างชัดเจนให้มหาวิทยาลัยกรุงเทพโดดเด่นขึ้นมาในกลุ่มของมหาวิทยาลัยเอกชนในระดับเดียวกัน ส่งผลให้มียอดเติบโตของนักศึกษาเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี โดยเฉพาะคณะใหม่อย่าง คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ (BUSEM) ที่มียอดผู้สมัครเพิ่มขึ้นกว่า 25-30% ทุกปี แสดงให้เห็นว่าในยุคนี้นักเรียนมัธยมปลายเริ่มให้ความสนใจการเรียนรู้ที่บ่มเพาะให้ตนเองสามารถคิดและลงมือทำธุรกิจ รวมถึงมีความมั่นใจในการเลือกเส้นทางอาชีพในอนาคตของตนเอง

ด้วยแนวคิดนี้ ไม่ว่านักศึกษาของมหาวิทยาลัยกรุงเทพจะมีเป้าหมายในการสร้างกิจการของตนเอง หรือต้องการทำงานกับองค์กรใด พวกเขาจะเป็นบุคลากรที่มีบุคลิกเด่นในสองเรื่องคือ มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ และมีความคิดแบบเจ้าของ คือมีวิสัยทัศน์ มีความมุ่งมั่นตั้งใจกับงานที่ได้รับมอบหมาย พร้อมพัฒนาตนเองและพัฒนางานสู่ความสำเร็จ

ตัวมหาวิทยาลัยเอง ยังลุกขึ้นมาทำการตลาดที่โดนใจกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น โดยสร้างสรรค์แคมเปญที่กระตุ้นความคิดของคนดู ให้ตระหนักถึงหนทางสู่ความสำเร็จ ว่าไม่มีอะไรที่เป็นสูตรตายตัว หากมัวแต่ทำตามคนอื่น หนทางก็รังแต่จะมุ่งสู่ทางตัน

httpv://youtu.be/Cdi4_O1ZDpU

แถมด้วยเรื่องราวความสำเร็จของนักศึกษารุ่นพี่ ที่ผ่านการเรียนการสอนแบบ C+E มาแล้ว และพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นหลักการที่มาใช้ได้จริงในการทำธุรกิจ โดยนักศึกษาทั้งสาม ล้วนมีเส้นทางที่แตกต่างกัน

เปลี่ยนสิ่งที่ชอบ มาเป็นธุรกิจที่ใช่

อิ่มแปร้ นวพร ประยุกตินิวัฒน์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ (BUSEM) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สาวสายปาร์ตี้ที่เปลี่ยนเอาความชอบมาสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นธุรกิจรูปแบบใหม่ที่ใช่และตอบโจทย์อย่าง Pool Party DJ

ด้วยความที่ได้รับการปลูกฝังให้คิดแบบสร้างสรรค์ คิดแบบเจ้าของ อิ่มแปร้จึงมองเห็นโอกาสทางธุรกิจจากสิ่งที่เธอชอบ และกล้าที่จะลงมือทำในสิ่งที่คนอื่นคิดว่าเป็นไปไม่ได้ ก่อให้เกิดเป็นธุรกิจรับจัดงานปาร์ตี้ที่ประสบความสำเร็จ

httpv://youtu.be/sVt_bdTc9TI

มรดกที่ไม่เคยสนใจ สู่กิจการที่มีอนาคตสดใส

บ๊วย วลีพร เดี่ยววานิช บัณฑิตหมาดๆ จากคณะมนุษย์ศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว (วิชาเอกการโรงแรม) ที่ยอมรับว่าตอนเด็กๆ เธอไม่เคยรู้สึกสนใจธุรกิจโรงแรมของที่บ้านเลย แต่ปัจจุบันเธอคือเจ้าของธุรกิจ B52 รีสอร์ทแนว Ecosystem บนเกาะพงัน ฉีกภาพเดิมๆ ของเกาะแห่งฟูลมูนปาร์ตี้ไปเลย

httpv://youtu.be/iqzvtapla6c

เริ่มเพราะความจำเป็น จนกลายเป็นธุรกิจเงินล้าน

เฟลม เกียรติศักดิ์ คำวงษา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ (BUSEM) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่เริ่มต้นจากการทำธุรกิจเพื่อช่วยปลดหนี้ให้กับครอบครัว แต่ด้วยการดำเนินธุรกิจแบบแตกต่าง ทำให้กาแฟขี้ชะมดแบบฟาร์ม Blue Gold Coffee ของเขากลายเป็นธุรกิจเงินล้าน แถมช่วยปลดหนี้ให้ครอบครัวได้สำเร็จในระยะเวลาอันสั้น

อ่านจนถึงบรรทัดนี้ คุณคงพร้อมที่จะแนะนำลูกหลานให้เลือกเรียนในสิ่งที่ใช่และใช้ได้จริงแล้วสินะ สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าไปอ่านต่อได้ที่ www.bu.ac.th


  • 1
  •  
  •  
  •  
  •