มายด์แชร์เผยนิสัยคนไทย 10 ปีให้หลังจากวิจัย 3D 2012

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

 

 

มายด์แชร์  เอเยนซี่เครือข่ายด้านการตลาดและการสื่อสาร เผยผลสำรวจ จาก “กรุ๊ปเอ็ม/มายด์แชร์ 3D 2012” เครื่องมือวิจัยเชิงปริมาณที่ไม่เพียงเก็บข้อมูลแนวโน้มด้านประชากรศาสตร์ (อายุ รายได้และการศึกษา) แต่ยังให้ข้อมูลวิเคราะห์ด้านบุคลิกค่านิยม ทัศนคติและความเชื่อของผู้บริโภคกลุ่มต่างๆในสังคม เผยให้เห็นว่า กลุ่มประชากรที่ต้องการมีสถานะทางสังคมและภาพลักษณ์ที่ดี เป็นกลุ่มที่มีการเติบโตเยอะที่สุดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในสังคมไทย 

  1.  กลุ่มที่ต้องการมีสถานะทางสังคมและภาพลักษณ์ที่ดี (Image Conscious Status Seeker) เป็นกลุ่มที่มีการเติบโตเยอะที่สุดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดวันนี้ กลุ่มนี้มีมุมมองและทัศษนะคติที่ดีกับชีวิต ยอมเป็นหนี้สินเพื่อใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ เป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุดเป็นอันดับ 1 คือ 22 %
  2. กลุ่มผู้เสียเปรียบและไม่กระตือรือร้น (Disadvantaged & Indifferent) มีพิ้นฐานของการคิดเรื่องชีวิตที่เรื่อยๆ สบายๆ เป็นวัฒนธรรมของคนไทยที่ต่างชาติให้ความสนใจ เป็นกลุ่มที่ใหญ่ของสังคมไทยตลอดระยะเวลา10 ปีที่ผ่านมา และนับเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนมากที่สุดเป็นอันดับสองคือ 19% ของจำนวนประชากร
  3. กลุ่มที่มีแบบแผนชีวิตเหมือนรุ่นก่อนๆ (Traditionalists ) มีจำนวน 9% ค่อนข้างมีแบบแผนการใช้ชีวิต มีความมั่นใจในตัวเอง ยังเชื่อเรื่องความถูกต้อง และศาสนามีความสำคัญกับชีวิต เป็นกลุ่มที่มีความเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดในรอบ 10 ปี และเป็นกลุ่มที่มีคนอายุเยอะมากที่สุด
  4. กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีความคาดหวัง (Young Aspirers) มีจำนวน 11% เป็นกลุ่มคนอายุน้อยที่ชอบสังคม เอาใจใส่ผู้คนรอบข้าง และสนใจภาพลักษณ์ มีความมั่นใจสูงแต่ไม่ถึงกับทะเยอทะยาน มีมุมมองชีวิต เพื่อนมีความสำคัญกับชีวิต สิ่งที่มีบทบาทในชีวิตมากขึ้นคือเทคโนโลยี
  5. กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มองหาความมั่นคง (Young Pragmatics) มีจำนวน 10% เป็นกลุ่มที่เล็กในสังคมไทย มีความใกล้เคียงกับที่ถูกตั้งชื่อใช้เรียกกันว่า ‘GEN Y’
  6. กลุ่มโดดเดี่ยวและมองโลกจริงจัง (No-nonsense loners) มีจำนวน 8 % กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ชอบอยู่บ้าน ชอบอยู่เงียบๆ และค่อนข้างจริงจังกับชีวิตและคิดเรื่องต่างๆอย่างมีเหตุและผล และมีค่านิยมทางสังคมที่เชื่อตัวเองเป็นหลัก
  7. กลุ่มการศึกษาสูงและมีความคิดก้าวหน้า (Educated Progressives) มีจำนวน 9% กลุ่มคนเมืองและมีการศึกษาสูง ทำงานประจำ มีการยอมรับแนวคิดใหม่ๆเสมอ ไม่ชอบเรื่องหยุมหยิมในชีวิต มุมมองและการดำเนินชีวิตของคนเมืองที่ไม่ค่อยแตกต่างมากนักในช่วง 10 ปีที่ผ่านมายังเป็นกลุ่มที่เล็กของสังคมไทย
  8. กลุ่มที่มีความเชื่อมั่นแต่มีวิถีชิวิตแบบอนุรักษ์นิยม  (Ambitious Traditionalists) มีจำนวน 12% เป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ของตน วัตถุนิยม ชอบสังคมและมีความสุขกับชีวิต ส่วนใหญ่จะอยู่นอกหัวเมือง แต่งงานและมีลูก มีรายได้ต่อครัวเรือนน้อย มีความใกล้เคียงกับกลุ่ม Traditionalists ในด้านมุมมองและประเพณี สิ่งที่ต่างคือความเชื่อมั่น และมุมมองชีวิตที่ทันสมัยกว่าและอยากที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองถ้ามีโอกาส

ปัทมวรรณ สถาพร กล่าวสรุปว่า ทุกองค์กรให้ความสำคัญกับผู้บริโภคที่มีความภักดีกับ  แบรนด์ และให้ความสำคัญยิ่งกว่าในการทำยังไงไม่ให้เขาเปลี่ยนไปใช้ยี่ห้ออื่น สิ่งที่จะดึงดูดไม่ใช่เรื่องของฟังชั่นแต่กลับเป็นเรื่องของความรู้สึก แบรนด์ที่แข็งและโดดเด่นจากคู่แข็งคือแบรนด์ที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกได้ถึงความแตกต่างจากแบรนด์อื่นๆได้อย่างชัดเจนและเมื่อรวมทั้ง 3 มิติเข้าด้วยกัน 3D จึงนำเราเข้าสู่ยุคใหม่ของการวางแผนการสื่อสาร” 

 

เรามารู้จักับ 3D 2012 กัน

เครื่องมือนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณให้ข้อมูลของผู้บริโภค 3 มิติ (Three Dimensional Research) โดยทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของประชากรของประเทศไทยกว่า 2,400 คน อายุระหว่าง 14 65 ปี โดยเป็นการทำสำรวจผ่านการสัมภาษณ์ และการทำแบบสอบถามภายใต้การควบคุมของ ทีเอ็นเอส รีเสิร์ช อินเตอร์เนชั่นแนล โดยใช้ซอฟแวร์ของ Potentiate ประเทศออสเตรเลีย เครื่องมือนี้สามารถดึงข้อมูลเชิงลึกในการทำความเข้าใจถึงทัศนคติ โดยฐานข้อมูลความคิดเห็นเชิงจิตวิทยากว่า 180 คำถาม และมีข้อมูลถึง 34 หมวดสินค้ากว่า 800 แบรนด์

  1. มิติแรกของ 3D วัดผลในเชิงความสัมพันธ์ของผู้บริโภคกับตราสินค้า (Brand Relationship)  การจำแนกหมวดสินค้าจะครอบคลุมจาก สินค้าอุปโภคบริโภคไปถึงบริการทางการเงิน ความภักดีในตราสินค้าก็จะแตกต่างกันสำหรับกลุ่มที่ให้ความสำคัญในการเลือกตราผลิตภัณฑ์ และกลุ่มที่ไม่ค่อยให้ความใส่ใจในการเลือกผลิตภัณฑ์
  2. มิติที่สองของ 3D ให้ข้อมูลเชิงลึกในการทำความเข้าใจถึงทัศนคติและพฤติกรรมทางสังคมของผู้บริโภค (Social Behavior) ด้วยฐานข้อมูลความคิดเห็นเชิงจิตวิทยากว่า 200 ตัวอย่าง เครื่องมือวิจัย 3D ได้จำแนกกลุ่มทัศนคติและพฤติกกรรมออกเป็น 8 กลุ่มที่แตกต่างกัน
  3. มิติที่สามของ 3D คือการศึกษาพฤติกรรมการรับสื่อของกลุ่มตัวอย่าง (Media Consumption)  นอกเหนือจากสื่อที่ได้รับความนิยมแล้ว 3D ยังวิเคราะห์จุดเชื่อมโยงในการสื่อสารระหว่างที่ผู้บริโภครับสื่อ ตั่งแต่สื่อหลักไปจนถึงการพูดกันปากต่อปาก การแจกผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง แผ่นพับใบปลิว ข่าวประชาสัมพันธ์ พนักงานขายและช่องการสื่อสารทางใหม่ๆ เช่น SMS

 


  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
Mayie May
เมย์ยี่...ด้วยความที่เป็นเด็กการตลาด จึงชอบที่จะสนุกสนานไปกับไอเดียโฆษณาเก๋ แปลก และล้ำ เพื่อเอามาเล่าต่อให้เพื่อนๆ ฟังอย่างรื่นเริง การได้เพลิดเพลินบนโลกดิจิตอลมาร์เกตติ้ง รวมไปถึงโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ คือความสุขของเมย์ยี่ สามารถติดตามผลงานการเขียนของเมย์ยี่ได้ที่ @MarketingOops และ facebook.com/MarketingOopsFan