ถอดกลยุทธ์แผนชิงดำ การประมูล ปตท.สผ. พลังงานแสนล้าน

  • 75
  •  
  •  
  •  
  •  

ปตท3

เร็วๆ นี้จะมีข่าวใหญ่ให้อื้ออึงเกี่ยวกับการประมูลขุมพลังงาน “แหล่งก๊าซธรรมชาติบงกช” ซึ่งเดิมทีเดียวเป็นของ ปตท.สผ. หรือ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ผู้ซื้อสิทธิ์สัมปทานเมื่อ 50 ปีก่อน และเริ่มผลิตขุดเจาะๆ จริงเมื่อ 25 ปีที่ผ่านมา ตอนนี้กำลังหมดสัญญาและสรรหารายใหม่ราวเดือน ต.ค. นี้

แน่นอนว่าด้วยชื่อชั้น ปตท. ผูกขาดกับตลาดพลังงานมาเนิ่นนาน มีทั้งเงินทุน คอนเนคชั่น รวมถึงโนฮาวต่างๆ ที่รุดหน้าไปไกล ขนาดบริษัทฯ พลังต่างชาติยังดึงตัวบุคลากรของ ปตท.สผ. ไปเทรนด์วิชาให้องค์ความรู้ อีกอย่าง ปตท.ก็เกิดขึ้นจากวิสัยทัศน์ของรัฐบาลในสมัยก่อน ที่ต้องการคานอำนาจต่างชาติเรื่องการแสวงหาพลังงาน นัยว่าทรัพยากรคนไทย เราใช้เอง ก็ควรจะรู้วิธีการผลิตเอง หากเปิดสัมปทานให้ต่างชาติ โน-ฮาว ไม่รั่วไหล สู้ตั้งบริษัทฯ ของคนไทยเองขึ้นมาดีกว่า ฉะนั้นการสู้ศึกประมูล “ขุมพลัง” ในบ้านครั้งล่าสุดนี้จึงเหมือน ปตท.สผ.นอนมา

แต่กระนั้นก็ยังมีข่าวเล็ดรอดออกมาถึงความไม่มั่นใจ 100% ขนาด เยอรมัน อังกฤษ ยังม้วนเสื่อกลับบ้านก่อนในฟุตบอลโลก  แล้วประสาอะไรกับการประมูล ยิ่งเป็นสัมปทานระดับชาติ ที่ “ประชาชน” เป็นเจ้าของประเทศ และ “รัฐบาล” เป็นผู้ดูแล ยิ่งถูกจับตามอง หากไม่นับ “รอยัลตี้” การเป็นบริษัทคนไทย ถามว่าอะไรคือความเหมาะสมที่ ปตท.สผ. จะได้สิทธิ์สัมปทานต่อเนื่อง เหนือคู่แข่งอีกสองราย คือบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างชาติ เอ่ยชื่อต้องรู้จักันดี ทั้งฝั่งอเมริกาและจีน

ค่อยๆ ถอดรหัสกลยุทธ์การประมูลของ ปตท.สผ. ครั้งนี้ ที่มีบิลลิ่งมหาศาลเป็นเดิมพัน!!!

Mr.Phongsathorn Phongsathorn

ปตท.สผ. แชมป์เก่า เลือกแม่ทัพ คือ คุณพงศธร ทวีสิน   กรรมการผู้จัดการใหญ่  บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด ประวัติโดยย่อเป็นลูกหม้อร่วมงานกับ ปตท.สผ.ตั้งแต่ปี 2532 เรียนรู้งานจากโททาล (TOTAL) บริษัทน้ำมันสัญชาติฝรั่งเศสในการพัฒนาแหล่งบงกช ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยได้เป็น Field Manager หรือผู้จัดการโครงการบงกชที่เป็นคนไทยคนแรก ที่ดูแลการดำเนินงานทั้งหมดรวมถึงยังได้มีส่วนร่วมกับโททาลในโครงการต่างๆ อาทิ Development Enginer ของโททาลในอินโดนีเซีย และเป็น Safety Manager ของโททาลในเยเมน นอกจากนี้ยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการในเวียตนาม แอลจีเรีย อิหร่าน โอมาน ฯลฯ

นอกจากคัดคนตรงกับ Product  แล้ว กลยุทธ์ที่ ปตท.สผ. ใช้คือ การส่งต่อองค์ความรู้ เพราะนับย้อนไปตอนที่ได้สิทธิ์สัมปทานมา เปรียบไปตอนนั้น ปตท.ก็เหมือนลูกหม้อของประเทศ จะเปิดบ้านให้ต่างชาติมาขุดเจาะทรัพยากรก็เสี่ยงจะเป็นการเสียดุล ในยามนั้น ปตท.ก็ยอมรับว่าตัวเองไม่มีโนฮาวถึงได้เกิดการร่วมทุน ชวนต่างชาติเข้ามามีส่วนร่วมพร้อมแบ่งปันความรู้ จนบัดนี้สิ่งที่ได้มาก็อยากส่งต่อรุ่นต่อไป ไม่เฉพาะคนไทยด้วยกันเอง ประเทศเพื่อนบ้านที่ได้สิทธ์สัมปทานอย่างเมียนม่าร์ก็แชร์ให้ ถือหลัก ใจเขาใจเรา ใครล้วนก็ต้องการความรู้ประเทศไหนก็ต้องการโนฮาวแบบยั่งยืน ย้อนกลับไปเมื่อก่อนที่มีแต่ฝรั่งที่ทำได้ เราเองก็อึดอัดเหมือนกัน คุณพงศธร กล่าวให้ฟังถึงเมื่อครั้งทำงานแรกๆ

Bongkot field 01

อยากให้คนไทยรู้ว่าพลังงานเป็นเรื่องใกล้ตัว เมื่อมีการประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นสมบัติของชาติ อยากให้มีส่วนร่วม พิจารณา รับรู้ แล้วก็คัดเลือกร่วมกัน ในส่วนของปตท.แน่นอนว่ามีมองทั้งในแง่ดีและไม่ดี แต่ย้อนไปผมก็มองว่าเป็นกุศโลบายของผู้หลักผู้ใหญ่ ตั้งมาเพื่อคานกับต่างชาติ ถ้าเมื่อตลาดมีต่างชาติเป็นผู้นำแบบเบ็ดเสร็จแล้ว ประเทศชาติจะไม่ได้อะไรเลยแม้แต่องค์ความรู้ วันนี้อยู่เฉยๆ ก็ได้ แต่คิดว่าต้องออกมา เป็นตัวแทน ในฐานะบริษัทของไทย ที่มีองค์ความรู้ พร้อมที่จะทำงาน ส่งต่อสิ่งที่ดีที่สุดให้กับประเทศ

ในเมื่อมีความพร้อมอยู่แล้ว ทำมานานแล้ว คุณสมบัติก็เพียบพร้อมอยู่แล้วจะกังวลอะไร??  “ มองอย่างนั้นไม่ได้ แม้เรามั่นใจ เราทำมาเอง แต่เรียนตรงๆ ว่าบางที ก็มีความคิดว่า  รู้มากอาจจะไม่ดี เพราะทุกอย่างแบบเป๊ะไปหมด บางครั้งไม่รู้อาจจะเสนออะไรได้ดีกว่า” ผู้บริหารกล่าวทิ้งท้าย


  • 75
  •  
  •  
  •  
  •