เบื้องหลังของเมล็ดกาแฟคุณภาพจาก Café Amazon คือ โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน (Sustainable Coffee Project) จากบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ที่มีส่วนช่วยเหลือเกษตรกรไทย โดยการพัฒนาคุณภาพ ส่งเสริม ให้ความรู้และเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนและเกษตรกรไทย เปรียบเหมือนฟันเฟืองเล็ก ๆ ที่ช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียว ลดการตัดต้นไม้ เผาทำลายป่า เพิ่มแนวคิดการอนุรักษ์ป่าควบคู่ไปกับการปลูกกาแฟภายใต้ไม้ร่มเงาและระบบอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ มีส่วนช่วยลดมลพิษและสร้างอากาศสะอาด ทำให้คนไทยมีคุณภาพอากาศที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน
นี่คือครั้งแรกที่เรื่องราวของ “โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน” เบื้องหลังกาแฟคุณภาพจาก Café Amazon จะถูกเล่าผ่าน BOX SET กล่องนี้ เพียงแค่ลองพลิกด้านในกล่อง คุณจะได้เห็นถึงความตั้งใจของ OR และ Café Amazon ที่ต้องการสนับสนุนกาแฟจากเกษตรกรไทยและเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยคืนอากาศบริสุทธิและสะอาดให้กับคนไทยทุกคน
เบื้องหลังที่ช่วยให้อากาศสะอาดมาจากโครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน
เมื่อปัญหาฝุ่น PM 2.5 กลายเป็นวิกฤติระดับชาติ OR ขอเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาผ่าน โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ของ Café Amazon ที่ช่วยลดผลกระทบและสร้างการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ อีกทั้งสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน และเศรษฐกิจท้องถิ่น โดย OR มุ่งดำเนินโครงการฯ ที่สร้างความยั่งยืนในทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำทั้งในเรื่อง การเพาะปลูก การแปรรูปและการขนส่ง ไปจนถึงการส่งมอบกาแฟคุณภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสู่ผู้บริโภค
โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน – ปลูกกาแฟให้ป่ากลับมา
OR ริเริ่มโครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืนเพื่อส่งเสริมการปลูกกาแฟร่วมกับการอนุรักษ์ป่าและสิ่งแวดล้อม โดยการขยายพื้นที่ปลูกกาแฟภายใต้ไม้ร่มเงา ฟื้นฟูและเพิ่มพื้นที่ป่า ทดแทนการทำเกษตรเชิงเดี่ยว ซึ่งนอกจากจะช่วยลดการเผาในพื้นที่เกษตรกรที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศแล้ว ยังเป็นการสร้างอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืนให้กับเกษตรกรอีกด้วย
ตลอดระยะเวลา 10 ปีแห่งการสร้างความเปลี่ยนแปลง OR ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายและเกษตรกรกว่า 1,500 ราย ในพื้นที่ 9 จังหวัด ครอบคลุม 22 พื้นที่ในภาคต่าง ๆ ส่งผลให้สามารถรับซื้อเมล็ดกาแฟไปแล้วกว่า 7,000 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,400 ล้านบาท
โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน
1.บ้านปางขอน/ บ้านผาลั้ง จ.เชียงราย
- OR ตั้งใจที่จะผลักดัน 2 พื้นที่คุณภาพ จ.เชียงราย คือ บ้านปางขอนและบ้านผาลั้ง ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบของโครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน ที่ทำให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เกษตรกรมีตลาดรับซื้อผลผลิตกาแฟที่มั่นคง มีรายได้ที่แน่นอน ด้วยระบบราคาที่เป็นธรรม (Fair Trade)
- บ้านปางขอน มีเกษตรกรเข้าร่วม 74 ราย คิดเป็นพื้นที่ปลูกกาแฟอะราบิกามากถึง 1,400 ไร่
- บ้านผาลั้ง มีเกษตรกรเข้าร่วม 92 ราย คิดเป็นพื้นที่ปลูกกาแฟอะราบิกามากถึง 1,000 ไร่ ซึ่ง OR เป็นบริษัทรายเดียวที่เดินทางไปรับซื้อเมล็ดกาแฟที่แหล่งปลูกนี้ ด้วยข้อจำกัดของการสัญจรที่ยากลำบาก
- โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืนบ้านปางขอนและบ้านผาลั้ง ช่วยสร้างรายได้ให้ชุมชนรวมกว่า 151.5 ล้านบาท คิดเป็นผลผลิต 1,095 ตัน (ก.ย. 61- ปัจจุบัน)
- ผลผลิตกาแฟของทั้ง 2 ชุมชน ถูกพัฒนาเป็น ผลิตภัณฑ์กาแฟดริปและกาแฟแคปซูลปางขอนและผาลั้ง ของ Café Amazon ซึ่งเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน
- ส่งเสริมและพัฒนาทักษะความรู้เกษตรกรระดับรายบุคคลให้สามารถผลิตกาแฟให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน Café Amazon เป็นตลาดรับซื้อเมล็ดกาแฟโดยตรงจากเกษตรกรที่มั่นคงและยั่งยืน ช่วยลดการพึ่งพาการทำเกษตรเชิงเดี่ยวที่ต้องเผาพื้นที่เกษตรกรรม
2.สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ จ.เชียงใหม่
- OR ร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวง ณ สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการวิจัยและพัฒนาเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอย่างจริงจัง โดยนำเทคโนโลยีด้านการปลูกและการผลิตกาแฟสายพันธุ์อะราบิกา ให้ได้คุณภาพและมาตรฐานระดับสากล และส่งเสริมการปลูกกาแฟควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
- ขยายการรับซื้อเมล็ดกาแฟในกลุ่มเกษตรกรชาวเขาในพื้นที่ดำเนินงานของสถานีเกษตรหลวงและศูนย์พัฒนาโครงการหลวงกว่า 800 ราย ให้มีช่องทางการจำหน่ายเมล็ดกาแฟที่มั่นคง ด้วยระบบราคาที่เป็นธรรม (Fair Trade) ที่ผ่านมาได้สนับสนุนรับซื้อผลผลิตเมล็ดกาแฟสาร (Green bean) จากเกษตรกรในพื้นที่ของโครงการหลวง ไปแล้วกว่า 3,200 ตัน
- ผลผลิตกาแฟของดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ถูกพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์กาแฟดริปและกาแฟแคปซูลดอยอินทนนท์ ของ Café Amazon ซึ่งเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน
- ขยายผลสัมฤทธิ์และองค์ความรู้จากสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์สู่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ อ.แม่ระมาด จ.ตาก โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ ทั้ง 2 พื้นที่กว่า 160 ราย โรงแปรรูปเมล็ดกาแฟ Café Amazon อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ – ตลาดรับซื้อผลผลิตกาแฟจากเกษตรกรโดยตรง ที่มั่นคงยั่งยืนด้วยราคาที่เป็นธรรม
- OR จัดตั้งโรงแปรรูปเมล็ดกาแฟ Café Amazon อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ เป็นจุดรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในระบบราคาที่เป็นธรรม (Fair Trade) เป็นศูนย์กลางรับซื้อเมล็ดกาแฟจากเกษตรกรโดยตรง และเป็นคลินิกที่ให้คำปรึกษา ส่งเสริมและพัฒนาทักษะความรู้เกษตรกรเรื่องกาแฟอย่างครบวงจร เพื่อต่อยอดให้เกษตรกรสามารถนำความรู้ไปพัฒนากาแฟให้มีคุณภาพและนำส่งผลผลิตกลับมาขายกับโรงแปรรูปเมล็ดกาแฟ Café Amazon อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
- ปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วมเป็นสมาชิกกับโรงแปรรูปเมล็ดกาแฟ Café Amazon แล้วกว่า 400 ราย โดยโรงแปรรูปฯ รับซื้อผลผลิตเมล็ดกาแฟกะลาจากเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในพื้นที่ภาคเหนือแล้วมากกว่า 370 ตัน สร้างรายได้ให้เกษตรกรมากกว่า 56 ล้านบาท
EV Truck – ขนส่งเมล็ดกาแฟด้วยรถบรรทุกเชื้อเพลิงพลังงานไฟฟ้าแบบลดคาร์บอน
- OR ทดลองต้นแบบการขนส่งเมล็ดกาแฟดิบด้วยรถบรรทุกไฟฟ้าขนาดใหญ่ (EV Truck) จากโรงแปรรูปเมล็ดกาแฟ Café Amazon อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ไปยังศูนย์ธุรกิจ Café Amazon อ.วังน้อย จ.อยุธยา เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พร้อมขับเคลื่อนองค์กรสู่ Carbon Neutrality ภายในปี 2030 และ Net Zero ในปี 2050
- ลดการปลดปล่อยมลพิษทางอากาศจากการขนส่ง
- เป็นก้าวสำคัญในการทำธุรกิจแบบรักษ์โลก
Café Amazon Park – ศูนย์เรียนรู้กาแฟครบวงจร
- Café Amazon Park ณ ต.กล้วยแพะ อ.เมือง จ.ลำปาง พื้นที่กว่า 300 ไร่ ถูกพัฒนาให้เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านกาแฟแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ส่งเสริมให้ธุรกิจ Café Amazon เติบโตไปพร้อมกับชุมชนและระบบนิเวศ พร้อมสนับสนุนการสร้างงานสร้างอาชีพ สร้างโอกาสให้คนในพื้นที่ได้ทำงานใกล้บ้าน อยู่ใกล้ชิดกับครอบครัว เพื่อยกระดับเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างยั่งยืน และมุ่งมั่นให้พื้นที่แห่งนี้ กลายเป็นจุดหมายปลายทางใหม่ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่สนใจเรื่องกาแฟ และการเกษตรแบบยั่งยืน จนต้องเดินทางมาสัมผัสด้วยตัวเอง
- สร้างแปลงกาแฟต้นแบบ พื้นที่สีเขียวและศูนย์การเรียนรู้ครบวงจรบนพื้นฐานองค์ความรู้และเทคโนโลยี
- เป็นศูนย์วิจัยและพัฒนากาแฟสายพันธุ์ที่มีคุณภาพสำหรับขยายผลให้กับเกษตรกร
- ช่วยสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจที่ยั่งยืน
OR เชื่อว่า “ธุรกิจต้องเติบโตไปพร้อมกับสิ่งแวดล้อม” ผ่านโครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน
- ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ OR มุ่งมั่นสร้างความยั่งยืนในทุกกระบวนการที่ครอบคลุมผ่านโครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืนตั้งแต่ การปลูก การเก็บเกี่ยว การแปรรูป และการขนส่ง ไปจนถึงการส่งมอบกาแฟคุณภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสู่ผู้บริโภค
- ต้นน้ำ: สนับสนุนการปลูกกาแฟใต้ร่มไม้ร่มเงาและระบบอนุรักษ์ ให้ความรู้แก่เกษตรกร ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เป็นศูนย์พัฒนาทักษะในการแปรรูปกาแฟให้ได้มาตรฐาน และเป็นตลาดรับซื้อผลผลิตด้วยราคาที่เป็นธรรม สร้างรายได้ที่มั่นคง และยั่งยืนให้แก่เกษตรกร
- นอกจากนี้ ยังมีโครงการก่อสร้างศูนย์การเรียนรู้ Café Amazon Park ที่ตั้งใจจะให้เป็นแหล่งวิจัยพัฒนาเพื่อสร้างกาแฟสายพันธุ์ดี เป็นแหล่งเรียนรู้แบบครบวงจร แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่จะเป็น Landmark แห่งใหม่แล้ว ยังเป็นต้นแบบของการพัฒนาชุมชน สร้างอาชีพ สร้างความสุข และสร้างพื้นที่สีเขียวให้ผู้คนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืนอีกด้วย
- กลางน้ำ: กาแฟกะลาที่รับซื้อโดยตรงจากเกษตรกรถูกนำมาแปรรูปเป็นกาแฟสารที่มีคุณภาพ ณ โรงแปรรูปเมล็ดกาแฟ Café Amazon อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ขนส่งด้วยรถบรรทุกไฟฟ้าขนาดใหญ่ (EV Truck) ซึ่งช่วยลดการปลดปล่อยมลพิษ มายังโรงคั่วกาแฟ Café Amazon อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์กาแฟ Café Amazon ด้วยกระบวนการผลิตที่มุ่งเน้นคุณภาพ ใช้ทรัพยากรในการผลิตอย่างคุ้มค่า และไม่เกิดผลกระทบต่อชุมชนหรือสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ การใช้ระบบน้ำหมุนเวียน การควบคุมของเสียจากการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ และจัดการของเสียโดยการ Recycle หรือกำจัดโดยไม่มีการฝั่งกลบ เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่ Carbon Neutrality ภายในปี 2030 และ Net Zero ภายในปี 2050
- ปลายน้ำ: นอกจากเสิร์ฟกาแฟ Café Amazon ที่มีรสชาติเข้มข้น อร่อยถูกปากคนไทยที่ร้าน Café Amazon มายาวนานกว่า 22 ปีแล้ว Café Amazon ยังมีส่วนในการสร้างความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างความแฟร์ให้โลกใบนี้ ผ่านผลิตภัณฑ์และโครงการต่างๆอีกมากมาย อาทิ ร้าน Café Amazon for Chance ที่ให้โอกาสในการสร้างอาชีพแก่ผู้สูงวัยและผู้ด้อยโอกาสในสังคม รวมถึงมีแนวคิด Circular Economy ใช้วัสดุตกแต่งและเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เสื้อและผ้ากันเปื้อนพนักงานบาริสต้าในร้าน Café Amazon ที่ผลิตจากวัสดุ Upcycling ใช้แก้วกาแฟและบรรจุภัณฑ์ Café Amazon Bio Cup ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โครงการคืนคัพที่รับคืนแก้วพลาสติกใช้แล้วของ Café Amazon เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติกให้กับโลก ด้วยกระบวนการ Recycle หรือ Upcycling ที่บริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ และท้ายที่สุดมีการนำสินค้าจากโครงการไทยเด็ด ที่เป็นสินค้าโดดเด่นจากชุมชนมาจำหน่ายที่ร้าน Café Amazon ทั้งหมดนี้เพื่อให้สมกับเป็นกาแฟที่แฟร์กับคนทั้งโลกอย่างแท้จริง
- จากการปลูกกาแฟที่ช่วยอนุรักษ์ป่า การขนส่งที่ลดการปล่อยมลพิษ ไปจนถึงการสร้างระบบนิเวศธุรกิจที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ ทุกโครงการของ OR คือก้าวสำคัญสู่อนาคตที่ยั่งยืน
“เพราะเราไม่ได้แค่ทำธุรกิจ… แต่เรากำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อโลกที่ดีกว่า”
ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กาแฟดริป Café Amazon
กาแฟดริปปางขอน
กาแฟดริปปางขอนจาก Café Amazon สัมผัสรสชาติแท้จากยอดดอย ความหอมละมุนของกาแฟอะราบิกาแท้ 100% ที่ปลูกและดูแลด้วยความใส่ใจของเกษตรกรบ้านปางขอน จ.เชียงราย แหล่งปลูกกาแฟคุณภาพระดับพรีเมียมของไทย ที่ให้รสชาติกลมกล่อมเป็นเอกลักษณ์ หนักแน่นเข้มข้นของกาแฟในรูปแบบ Drip Coffee พร้อมชงดื่มได้ทันที แค่ฉีกซอง เทน้ำร้อน สัมผัสกลิ่นหอมอโรม่า ดื่มด่ำไปกับรสชาติของกาแฟสดจากแหล่งปลูกคุณภาพสูง รสชาติเข้มและลึกซึ้ง พร้อมรสสัมผัสที่หลากหลาย
กาแฟดริปปางขอนมีบอดี้ระดับกลาง ให้รสชาติที่ลงตัวระหว่าง ความนุ่มนวลและความเข้มข้น พร้อมเทสโน้ตหอมๆ ของคาราเมล ดาร์กช็อกโกแลตและเฮเซลนัทหอม ๆ ที่ติดปลายลิ้น
กาแฟดริปผาลั้ง
กาแฟดริปผาลั้งจาก Café Amazon สัมผัสรสชาติแท้จากยอดดอย จ.เชียงราย ดื่มด่ำกับกาแฟ
อะราบิกาคุณภาพเยี่ยมที่ปลูกบนความสูง 1,000 – 1,200 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลที่บ้านผาลั้ง จ.เชียงราย รสชาติกลมกล่อม หอมกลิ่นดอกไม้ กาแฟคั่วระดับกลาง ให้รสชาตินุ่มนวล พร้อมกลิ่นหอมละมุนแบบ Floral Notes ที่จะทำให้คุณหลงใหลในทุกครั้งที่ดื่ม
*กาแฟดริปผาลั้งจาก Café Amazon เป็นผลผลิตจากโครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะอาชีพให้วิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและผลิตเมล็ดกาแฟในจังหวัดเชียงราย รวมถึงรับซื้อเมล็ดกาแฟในราคาที่เป็นธรรมเพื่อให้ชุมชนมีอาชีพอย่างยั่งยืน
กาแฟดริปดอยอินทนนท์
กาแฟดริปดอยอินทนนท์จาก Café Amazon ผลิตจากเมล็ดกาแฟอะราบิกา 100% ที่ปลูกบนดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ เมล็ดกาแฟนี้ผ่านการคั่วระดับกลางถึงเข้ม ทำให้มีรสชาติหอมเข้มข้นและกลมกล่อม นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบกาแฟดริปสำเร็จรูปที่สะดวกต่อการชงดื่มที่บ้าน Café Amazon ร่วมมือกับมูลนิธิโครงการหลวงและเกษตรกรในพื้นที่ดอยอินทนนท์ ในการพัฒนาและส่งเสริมการปลูกกาแฟที่มีคุณภาพสูง การสนับสนุนผลิตภัณฑ์นี้ไม่เพียงแต่จะได้รับกาแฟรสชาติดี แต่ยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและความยั่งยืนของชุมชนท้องถิ่นอีกด้วย