ไมโครซอฟท์ เผย 89% ของผู้นักธุรกิจไทย มองการปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ

  • 332
  •  
  •  
  •  
  •  

Sean Loiselle (Microsoft Thailand) 2-700

ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) ผลการสำรวจ Microsoft Asia Digital Transformation ที่ได้รวบรวมความคิดเห็นของผู้นำภาคธุรกิจทั่วเอเชียจำนวน 1,494 คน รวมถึงผู้บริหารจำนวน 117 คนจากประเทศไทย โดยผู้นำภาคธุรกิจเหล่านี้ล้วนมีบทบาทในการกำหนดกลยุทธ์เชิงดิจิทัลในองค์กรของตน พบว่า 89% ของผู้นำภาคธุรกิจไทย เห็นว่าทุกองค์กรจำเป็นต้องปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลเพื่อผลักดันให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ แต่ในขณะเดียวกัน กลับมีองค์กรเพียง 29% ที่มีกลยุทธ์ด้านดิจิทัลเต็มรูปแบบเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ ขณะที่ 41% อยู่ในขั้นการเริ่มดำเนินกลยุทธ์บางส่วน และอีก 30% ยังขาดความพร้อมในเชิงกลยุทธ์

คุณฌอน ลอยเซลล์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจองค์กรและพันธมิตร บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัดเผยว่า “ผลสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้นำในภาคธุรกิจได้เริ่มเดินหน้าเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ยุคดิจิทัลกันอย่างจริงจัง เพื่อคว้าโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ไมโครซอฟท์เชื่อว่าการปฏิรูปธุรกิจสู่ยุคดิจิทัลนี้จำต้องครอบคลุม 4 มิติหลัก ได้แก่ การเสริมศักยภาพให้กับพนักงาน ยกระดับการเข้าถึงและให้บริการลูกค้า เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร และการใช้เทคโนโลยีพลิกรูปแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการ ซึ่งทั้งหมดสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ด้วยข้อมูลและคลาวด์”

สำหรับคำจำกัดความของทั้ง 4 มิติดังกล่าวจากมุมมองของไมโครซอฟท์ มีดังต่อไปนี้

1. การเข้าถึงลูกค้า: ผู้บริโภคในยุคดิจิทัลสามารถเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับบริการหรือสินค้าจากข้อมูลออนไลน์ที่มีอยู่มากมายเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในผลิตภัณฑ์และบริการนั้นๆ ก่อนตัดสินใจซื้อหรือใช้งาน ดังนั้น ธุรกิจจำเป็นจะต้องการสร้างความแตกต่างและโดดเด่นโดยการนำเสนอเนื้อหาหรือข้อมูลที่สร้างจากประสบการณ์ที่ปรับแต่งมาให้เข้ากับลูกค้าแต่ละคน ตรงกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยไม่ทิ้งเรื่องความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยในการเข้าถึงหรือใช้งาน

2. การเสริมศักยภาพให้กับพนักงาน: รูปแบบของการทำงานและสถานที่ทำงานในยุคใหม่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน โดยองค์กรสามารถเสริมศักยภาพให้พนักงานทำงานได้ดีขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่เปิดให้พวกเขาเข้าถึงข้อมูลและแอพพลิเคชันต่างๆ พร้อมทั้งทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ทุกที่ ทุกเวลา ควบคู่ไปกับการลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

3. การยกระดับประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร : เทคโนโลยีที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสู่ธุรกิจดิจิทัลอย่าง IoT (Internet of Things) กำลังยกระดับประสิทธิภาพของการดำเนินธุรกิจด้วยความสามารถในการรวบรวมข้อมูลจากหลากหลายแหล่งได้อย่างรวดเร็ว เพื่อวิเคราะห์หาข้อสรุปใหม่ๆ ที่นำไปประยุกต์ใช้เพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง องค์กรในภาคการผลิต ค้าปลีก หรือแม้แต่ภาคสาธารณสุข สามารถปรับแนวทางการทำงานจากเพียงแค่การตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ในภายหลัง ให้เป็นการโต้ตอบแบบเรียลไทม์ หรือแม้แต่การคาดเดาและแก้ไขปัญหาของลูกค้าแบบล่วงหน้า

4. การพลิกรูปแบบผลิตภัณฑ์หรือธุรกิจ: ความเป็นไปได้ในการนำซอฟต์แวร์หรือเทคโนโลยีมาใช้ในผลิตภัณฑ์และบริการทำให้องค์กรสามารถนำเสนอและสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ๆ รวมถึงเปลี่ยนแปลงรูปแบบการตลาดที่มีอยู่เดิม


  • 332
  •  
  •  
  •  
  •