ในโลกที่หมุนเร็วกว่าเดิมทุกวัน เทคโนโลยีเปลี่ยนชีวิตคนในพริบตา เศรษฐกิจแปรปรวน สุขภาพกลายเป็นทรัพย์สินที่ประเมินค่าไม่ได้ และการเงินที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเรื่องของคนบางกลุ่ม กลับกลายมาเป็นทักษะที่ทุกคนต้องมี! โดยเฉพาะ 3 เรื่องสำคัญที่ควรต้องได้รับการพัฒนาเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในยุคดิจิทัลอนาคต ทั้งเรื่องของการเงิน เรื่องสุขภาพที่ยิ่งใหญ่กว่าและการเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีดิจิทัล
Financial Literacy ปลดล็อกชีวิตด้วยความรู้การเงิน
ในอดีต ความรู้เรื่องการเงินมักถูกจำกัดอยู่ในหมู่นักธุรกิจ นักลงทุน หรือผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ แต่ในโลกยุคใหม่ที่ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเร็วอย่างไม่เคยมีมาก่อน การมีความรู้ทางการเงินหรือ Financial Literacy ได้กลายเป็นทักษะพื้นฐานที่ “ทุกคนต้องมี” เพื่อความอยู่รอดและความมั่นคงในชีวิต ซึ่งที่ผ่านมาเห็นได้ว่าเรื่องของการเงินไม่เคยมีการเรียนการสอนมาก่อน นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้เราได้เห็นหนี้สินครัวเรือนพุ่งสูง

Financial Literacy ไม่ใช่แค่การรู้ว่าต้องออมเงินหรือไม่ใช้จ่ายเกินตัวเท่านั้น แต่มันลงลึกไปถึงความเข้าใจโครงสร้างของระบบการเงิน การจัดการหนี้ การลงทุน และการปกป้องทรัพย์สินของตนในโลกที่ซับซ้อนขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะเมื่อเทคโนโลยี เช่น บล็อกเชน คริปโต และ DeFi เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ซึ่งโลกในอนาคตเงินในรูปแบบดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น
- การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล: คริปโตเคอร์เรนซี NFT Tokenization ที่ไม่ใช่แค่กระแสแต่คือ “โครงสร้างใหม่ของเศรษฐกิจ”
- ตลาดทุนและการลงทุนทางเลือก: การกระจายความเสี่ยง การสร้างพอร์ตที่เหมาะกับเป้าหมายชีวิต
- การจัดการความมั่งคั่งส่วนบุคคล: จากมนุษย์เงินเดือนสู่ผู้สร้างอิสรภาพทางการเงิน
ซึ่ง คุณจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด เห็นว่า “เราไม่ต้องการให้คนไทยเพียงแค่รู้เรื่องการเงิน แต่ต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และใช้ความรู้เหล่านั้นสร้างชีวิตที่ดีขึ้นได้จริง เพราะการมีความรู้เรื่องเงินคืออำนาจใหม่ในยุคดิจิทัล”
Longevity ความมั่งคั่งที่ยืนยาวเริ่มต้นที่สุขภาพ
เมื่อก่อน “อายุยืน” มักถูกมองว่าเป็นเรื่องของบุญวาสนา หรือปาฏิหาริย์ทางสุขภาพ แต่ในวันนี้อายุที่ยืนยาวขึ้นไม่ได้เป็นแค่ความฝันอีกต่อไป ทว่าเป็น “ความจริง” ที่ใกล้ตัวมากกว่าที่เคย และที่สำคัญยิ่งกว่าคือ เรากำลังเข้าสู่ยุคที่ไม่ใช่แค่อายุยืน แต่ต้องอายุยืนอย่างมีคุณภาพ ที่ผ่านมาระบบสาธารณสุขทั่วโลกมักใช้แนวทาง “รักษาเมื่อป่วย” หรือที่เรียกว่า Sick-Care System แต่แนวคิด Longevity หรือ Preventive Healthcare กลับมองว่าการมีสุขภาพดีต้องเริ่มตั้งแต่ก่อนป่วย และอาศัยข้อมูลอย่างลึกซึ้งในการวางแผนชีวิตล่วงหน้า
แนวโน้มใหม่นี้ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีด้าน HealthTech, MedTech และ BioTech อย่างรวดเร็ว เช่น:
- การวิเคราะห์ยีน (Genomics) เพื่อประเมินความเสี่ยงโรคในอนาคต
- Wearables & Biometrics ที่ติดตามสัญญาณชีพแบบเรียลไทม์
- AI ที่ช่วยวิเคราะห์สุขภาพ และแนะนำแนวทางเฉพาะบุคคล (Personalized Health)
- การบำบัดฟื้นฟูด้วยเซลล์ (Cell Therapy) หรือ การยืดอายุเซลล์ (Senolytics)
หลายคนอาจไม่ต้องการอายุยืนถึง 100 ปี ถ้าในช่วง 10 ปีสุดท้ายของชีวิตต้องนอนติดเตียงหรือใช้เครื่องช่วยหายใจ แนวคิดของ Longevity คือการเน้นความสำคัญของ Healthspan หรือ “ช่วงเวลาที่เรามีสุขภาพดี” ต้องยาวพอๆ กับ Lifespan
จากข้อมูลสังคมผู้สูงอายุพบว่า ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่จะก้าวเข้าสู่ Super Aging นั่นหมายถึงอนาคตกองทุนสุขภาพต่างๆ จะถูกใช้ออกมาเพื่อดูแลผู้สูงอายุจำนวนมาก และอาจหมายถึงเม็ดเงินในกองทุนที่จะติดลบ ขณะที่ผู้คนในอนาคตที่จะเติมเงินเข้ากองทุนลดลง สุขภาพจึงเป็นสำคัญยิ่งกว่าการเงินและในอนาคตจะกลายเป็นเรื่องหลักที่ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญ
“Longevity คือหนึ่งในเมกะเทรนด์ของโลก และผมเชื่อว่าเทคโนโลยีคือคำตอบ ไม่ใช่แค่เพื่อให้เรามีชีวิตยืนยาวขึ้น แต่ต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย และผมเชื่อว่า Longevity จะเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจในอนาคต และประเทศไหนที่ปรับตัวก่อน จะกลายเป็นผู้นำในศตวรรษนี้” คุณจิรายุส กล่าวเสริม
Digital Literacy เข้าใจเทคโนโลยีก่อนถูกครอบงำ
โลกในยุคปัจจุบันที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ หากแต่ “พุ่งทะยาน” ด้วยความเร็วของเทคโนโลยี การเงิน และข้อมูลดิจิทัลที่มหาศาล ข้อมูลจากทุกมุมโลกหลั่งไหลเข้ามาตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้เราไม่สามารถใช้วิธีคิดแบบเดิมเพื่อรับมือกับโลกแบบใหม่ได้อีกต่อไป สิ่งที่จำเป็นที่สุดคือ “ความรู้เท่าทันดิจิทัล” หรือ Digital Literacy ที่ไม่ใช่แค่การใช้เทคโนโลยีเป็น แต่คือการเข้าใจ คิด วิเคราะห์ และใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดและปลอดภัย
การสร้างความรู้และเข้าใจในเทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะความสามารถในการเข้าถึง ประเมิน วิเคราะห์ ใช้งาน และสร้างเนื้อหาดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อชีวิต เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งในอนาคตชีวิตคนจะเข้าใกล้เทคโนโลยีแบบเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ในอดีตภาษาต่างประเทศ เช่น อังกฤษหรือจีน คือทักษะที่ช่วยเพิ่มโอกาสในชีวิต แต่ในวันนี้ “เทคโนโลยี” กลายเป็นภาษาที่สองที่ทุกคนควรเข้าใจ
ในช่วง 5 ปีข้างหน้าการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4 จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น
- การมาของ AI ที่ไม่ใช่แค่เรื่องของภาษาเท่านั้น
- การมาของ Blockchain ที่ไม่ใช่แค่เรื่องของการเงินเพียงอย่างเดียว
- การมาของ EV ที่จะมีความสามารถมากกว่าแค่ยานพาหนะ
- การมาของ IoT ที่จะทำให้ทุกอย่างในชีวิตสะดวกสบายไม่ใช่แค่ในบ้านเท่านั้น
- การมาของ Humanoid หุ่นยนต์ที่จะเข้ามาอยู่ในบ้านและเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิต
“Digital Literacy ไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยี แต่มันคือภูมิคุ้มกันใหม่ของคนในอนาคต คนยุคใหม่ไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดเป็น แต่ต้องรู้ว่าโค้ดเปลี่ยนโลกอย่างไร Digital Literacy จึงไม่ใช่เรื่องของ “เทคนิค” อย่างเดียว แต่รวมถึง วิจารณญาณ สติและจริยธรรมดิจิทัล ที่ช่วยให้เราใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัยและไม่ถูกครอบงำ” คุณจิรายุ กล่าวเพิ่มเติม
ทั้งหมดนี้จะได้พบคำตอบใน BITKUB SUMMIT 2025 ต่อยอดจากงาน BITKUB SUMMIT 2024 ที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 22,000 คน และยอดผู้ชมออนไลน์กว่า 70 ล้านวิว วิทยากรกว่า 60 คนใน 20 หัวข้อหลัก โดยได้รับการตอบรับล้นหลามจากทั้งนักธุรกิจ นักลงทุน และประชาชนทั่วไป ซึ่งในงาน BITKUB SUMMIT 2025 มีการตั้งเป้าที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม ทั้งเป้าหมายผู้เข้าร่วมงานกว่า 50,000 คน และยอดผู้ชมออนไลน์กว่า 100 ล้านวิว
โดยในงานครอบคลุม 3 หัวข้อแกนหลักสำคัญแห่งโลกอนาคต ที่จะเปิดโอกาสให้คนไทยทุกคนเรียนรู้ฟรีแบบไม่มีค่าใช้จ่าย! โดย BITKUB SUMMIT 2025 จะจัดขึ้นในวันที่ 25-26 ตุลาคม 2568 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (Exhibition Hall 3-4)
ใครที่อยากอัปเกรดความรู้ พบปะนักลงทุนและกูรูเทคโนโลยี ได้แรงบันดาลใจใหม่และเข้าถึงโอกาสก่อนใคร ลงทะเบียนฟรีได้แล้ววันนี้ ที่นี่