3 ผู้บริหารลั่น “ทำธุรกิจยุคดิจิตอล ขาดพาร์ทเนอร์ไม่ได้!”

  • 563
  •  
  •  
  •  
  •  

กระแสดิจิตอลและเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงขึ้นเรื่อย หากเรารู้จักประยุกต์ใช้ เข้าใจมัน ก็สามารถเปลี่ยนโครงสร้างทั้งภายนอกและภายใน มั่นใจพร้อมปรับตัวในกระแสดิจิตอล

แต่สิ่งที่สำคัญกว่าการเปลี่ยนแปลง คือการเริ่มต้นด้วย “ทัศนคติที่ถูกต้อง”

ทำให้ 3 ผู้จัดการรายใหญ่อย่าง “คุณกึกก้อง รักเผ่าพันธุ์” ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่จากธนาคารกรุงเทพ “คุณสุพจน์ มหพันธ์” กรรมการผู้จัดการ จากบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ “ดร.ศรายุธ แสงจันทร์” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการเงิน บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด ออกมาเสวนาแนะนำให้ธุรกิจน้อยใหญ่ตั้งรับกระแสดิจิตอลกันด้วย 3 แนวคิดดีๆตามนี้

apanel-discussion-transformation-in-the-digital-vortex-1383

 

1. ธุรกิจที่มีช่องทางให้บริการเยอะๆทุกที่อาจไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป

อย่ามองว่าคนอื่นเป็นคู่แข่งเสมอไป แต่ต้องมองว่าเราจะเป็นพาร์ทเนอร์กันได้อย่างไร มองว่าเขามีข้อดีอย่างไร เราจะเสริมข้อดีของเขาอย่างไร และเราจะเอาข้อดีของเขามาใช้กับธุรกิจของเราได้อย่างไร

อย่างเช่นธนาคารต่างๆที่หันมามองว่าการมีช่องทางให้บริการลูกค้าเช่น สาขา ATM หรือ Internet Banking ทำให้ธนาคารสามารถเพิ่มประสบการณ์ใช้บริการของลูกค้าได้ดีขึ้นและสะดวกขึ้น แต่ช่องทางที่มากเกินไปอาจปิดโอกาสให้ธุรกิจเจ้าอื่นสามารถร่วมมือทำธุรกิจกับธนาคารได้น้อยลง ธนาคารจึงเริ่มลดและควบรวมสาขา ลดจำนวนตู้ ATM ไม่เสริมช่องทางใหม่ เพื่อเปิดโอกาสให้ธุรกิจเจ้าอื่นที่มีเทคโนโลยีที่ดีกว่าได้จับมือกับธนาคาร มาเสริมช่องทางให้บริการลูกค้า ก็สามารถให้ประสบการณ์แก่ลูกค้าได้ดีกว่าการมีช่องทางของตัวเอง

26239484a

หรือการชำระเงินเมื่อใช้บริการ Uber ธนาคารอาจช่วยในระบบ Payment ไม่ต้องให้ผู้โดยสารต้องจ่ายเงินเมิ่อถึงจุดหมาย ทำให้ได้รับประสบการณ์ที่ดีได้ราวกับว่ามีคนขับรถส่วนตัวได้เช่นกัน

 

2. เพราะเราไม่สามารถผลิตทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง

โดยเฉพาะธุรกิจที่อาศัยตลาด Niche มากๆ เพราะกิจการของเราไม่สามรถผลิตทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง ฉะนั้นการหาพาร์ทเนอร์ผู้ผลิตอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับ Internet of Things (IOT) เป็นสิ่งจำเป็นช่วยขยายและมอบประสบการณ์การบริการของเราให้กับลูกค้าได้มากขึ้น อย่างเช่นผู้ผลิตเซนเซอร์ในฟาร์ม และเครื่องแทรกเตอร์ วัดระดับในน้ำ และในโรงงานต่างๆที่มีเครื่องจักรกล หรือแม้กระทั่งสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันสามารถเชื่อมต่อและส่งข้อมูลผ่านกันได้

ฉะนั้นการผูกขาดธุรกิจหรือการแข่งขันแบบสุตโต่งแทบจะเป็นกลยุทธ์ที่ฟังไม่ขึ้นเลยในยุคดิจิตอล

a

 

3. เอาข้อมูลมากมายมหาศาลมาใช้เปลี่ยนโมเดลธุรกิจ ไม่ใช่เปลี่ยนแค่วิธีทำงาน

เริ่มจากเรื่องใกล้ตัวอย่างเช่นการทำโฆษณาที่เราไม่ต้องลงทุนเยอะกับสื่อหลักอย่างโทรทัศน์ วิทยุและหนังสือพิมพ์เพื่อให้คนรับรู้ถึงตัวตนของสินค้าและบริการของเรา แต่ใช้หลัก Targeted Marketing เลือกกลุ่มบุคคลที่เราต้องการให้รับรู้ได้ เช่นผ่าน Facebook ซึ่งข้อมูลของกลุ่มบุคคลมากมายเหล่านี้ก็ปรากฎอยู่บน Facebook เช่นกัน

หรือข้อมูลที่เราได้มาจาก IOT เราสามารถเอามาวิเคราะห์และเปลี่ยนโมเดลของธุรกิจไปเลยก็ได้ ยอกตัวอย่างบริษัทลิฟท์ที่หลังจากประยุกต์ใช้ข้อมูลจาก IOT ก็หันมาให้บริการบำรุงรักษาลิฟท์แทนที่จะขายลิฟท์เหมือนแต่ก่อนโดยรู้ชัดเจนว่าลิฟท์ตัวไหนต้องมีค่าบำรุงรักษาอยู่เท่าไหร่บ้าง การนำ IOT มาเปลี่ยนโมเดลธุรกิจเกษตรกรรม นำข้อมูลที่ได้ไปคำนวนต้นทุนการผลิตเพื่อลดต้นทุน เพื่มผลผลิตเพิ่มขึ้น

Businessman Analysing Growth With Tablet

ข้อมูลอาจนำมาใช้ให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้นเช่น เมื่อมีข้อมูลของสถานที่ที่คนนิยมไปหรือกระจุกตัวอยู่เยอะๆ ธุรกิจโทรคมมนาคมก็จะขยายเครือข่าย เพิ่มคุณภาพสัญญาณตรงจุดนั้นให้ดีขึ้นได้ หรือเราอาจนำข้อมูลที่เราได้จาก IOT ไปขายให้กับบริษัทอื่นๆที่สนใจ หรือร่วมมือกันตั้งบริษัทใมห่ที่ให้บริการที่อาศัยข้อมูลนั้นก็ได้

แต่สุดท้ายมีข้อมูลมากกว่าคนอื่นอาจไม่ช่วยให้กิจการก้าวหน้าถ้าไม่ “ลงมือทำ” ในยุคข้อมูล เรารู้ข้อมูลและเทรนด์สำคัญๆอย่างปัญญาประดิษฐ์ FinTech IOT เยอะแยะมากมาย แต่เคยถามตัวเองหรือไม่ว่า เราจะเอามาประยุกต์ใช้กับธุรกิจของเราก็ทำได้ เพราะข้อมูลที่เข้าถึงได้ทำให้โอกาสของทุกประเทศในโลกเท่าเทียมกัน แต่อยู่ที่เราจะ “ทำ”  ให้เกิดขึ้นจริงได้ อย่างไร

ฉะนั้นจงมองและคิดถึงความต้องการของคน เข้าใจในสิ่งที่เกิดในโลกและอุตสาหกรรม เข้าใจว่าข้อมูลและเทรนด์พวกนี้มีผลกับตลาดอย่างไรด้วย

 

แหล่งที่มา

TMA Day 2016 Business Transformation Reinventing the Company for Digital Transformation วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2559 โรงแรม พลาซ่า แอทธินี กรุงเทพ


  • 563
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th