สายอื่นหลบไป! รู้จักกับ Deep Tech สตาร์ทอัพสายแข็ง

  • 213
  •  
  •  
  •  
  •  

เมื่อคนใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้นและข้อมูลถูกเก็บในระบบดิจิทัล อินเตอร์เน็ตถูกพัฒนาให้เร็วขึ้น ทำให้ Deep Tech  Startup กำลังมาแรงในช่วงหลังๆ ส่วนหนึ่งเพราะเทคโนโลยีพัฒนาไปเร็วมากจนสามารถเอาข้อมูลไปประมวลผลและใช้ประโยชน์แก้ปัญหาระดับโลกอย่างปัญหาโลกร้อน อาหารและแรงงานขาดแคลน สังคมผู้สูงอายุ และปัญหาสังคมต่างๆ ที่ต้องเป็นปัญหาระดับโลกเพราะตลาดที่ใหญ่พอที่สตาร์ทอัพจะหาเงินระดมทุนและทำกำไรได้

 

Deep Tech Startup ต่างจากสตาร์ทอัพเดิมอย่างไร?

Deep Tech Startup ใช้วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมขั้นสูงพัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นเพื่อแก้ปัญหาสิ่งที่มีอยู่ในตลาด ขั้นตอนค้นคว้าวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จึงซับซ้อน แถมมีสิทธิบัตรทางปัญญาคุ้มครอง Deep Tech Startup จึงต่างจากสตาร์ทอัพที่พัฒนาแอปฯ บนมือถือและมีโมเดลธุรกิจแบบแพลดฟอร์มกลางให้กลุ่มคนมาเจอกัน ทำให้ลอกเลียนแบบยากและคู่แข่งน้อย การแข่งขันจึงเป็นธรรมมากขึ้น Deep Tech Startup จึงเป็นสตาร์ทอัพที่คนเริ่มสนใจมากขึ้น

 

App past its peak

สตาร์ทอัพที่เน้นพัฒนาแอปฯ ผ่านจุดอิ่มตัวแล้ว จึงเป็นอีกเหตุผลที่ Deep Tech Startup มาแรง

 

เทคโนโลยีของ Deep Tech Startup

1. Artificial Intelligence (AI): เช่น Google เอา AI มาแปลภาษาและสืบค้นข้อมูล รถยนต์ไร้คนขับมี AI มาช่วยขับและเป็นวิสัยทัศน์แทนคน เล่นดนตรีใน Spotify ช่วยจองตั๋วเครื่องบินใน Skyscanner ระบบจดจำเสียงและใบหน้าคน และแปลงสัญญาณ Wi-Fi เป็นพลังงานมือถือ

2. Augmented Reality (AR) ที่ขยายโลกจริงกับโลกดิจิทัล แลกเปลี่ยนข้อมูลกับคอมพิวเตอร์ และ Virtual Reality (VR) ที่จำลองโลกจริงในโลกดิจิทัล

3. Internet of Things (IoT): ที่ไม่ใช่แค่ฝังในสายรัดข้อมือสุขภาพ แต่ IoT ยังมีประโยชน์สำหรับโรงงาน พยาบาลและการแจ้งเตือนภัย เช่น สายรัดข้อมือสามารถบอกให้รถยนต์ไร้คนขับพาผู้ป่วยหัวใจวายไปที่โรงพยาบาลและบอกให้โรงพยาบาลรู้ได้ด้วย เครื่องวัดระดับแม่น้ำที่ติด IoT แจ้งระดับแม่น้ำให้ประชาชนรู้และอพยพได้ทันที

4. บล็อกเชน (Blockchain): ใช้เก็บและโอนข้อมูลที่มีความปลอดภัยสูง เอามาใช้ในการทำสัญญา ทุกคนในเครือข่ายของบล็อกเชนก็จะเห็นต้นฉบับเดียวกัน

 

จับภาพหน้าจอ 2561-04-07 เวลา 2.29.43 PM

ไม่แปลกใจเลยว่า จังหวะการเข้าตลาดเป็นอุปสรรคแรกในการทำ Deep Tech Startup ทำเร็จเกินไปก็พลาด เพราะลูกค้ายังไม่ค่อยมี เข้าช้าไปก็พลาดท่าคู่แข่ง

 

นอกจากนี้ก็มีโดรน (Drone) หุ่นยนต์ (Robotics) เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) และเทคโนโลยีในสายต่างๆ เช่น

1. เทคโนโลยีชีวภาพ (BioTech): เช่น JuiceInno8 สตาร์ทอัพไทย ช่วยลดน้ำตาลในเครื่องดื่ม และ BentoLab สตาร์ทอัพต่างชาติที่พัฒนาอุปกรณ์ให้เราเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ DNA ได้ด้วยตัวเอง

2. พลังงาน (Energy Tech): เช่น Lithium-Air Battery มีอายุการใช้งานนานกว่าเพราะดึงออกซิเจนรอบตัวมาเป็นพลังงาน แผงโซล่าร์เซลล์ลดก็าซเรือนกระจก และเครือข่ายแลกเปลี่ยนพลังงานอาหารและเกษตร (FoodTech และ AgriTech)

3. อวกาศ  (Space Tech) เช่น เทคโนโลยีที่ไว้สื่อสารระหว่างโลกกับอวกาศ การสำรวจทรัพยากรธรรมชาตินอกโลก วิเคราะห์ข้อมูลดวงดาวและการปล่อยกระสวยอวกาศ

4. อาหารและการเกษตร (FoodTech  และ AgriTech): เช่นบริษัท Plenty ได้ปลูกพืชผักแนวตั้งในร่ม (Plant Factory) มีระบบระบายความร้อนจากหลอดไฟแอลอีดี (LED) และใช้น้ำแค่ 1% ก็ปลูกผักได้  350 เท่าของการปลูกพืชในที่แจ้ง

 

Focus Deep Tech

ที่น่าสนใจคือ AI  มาแรงในวงการสุขภาพและอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม ส่วน IoT ครองวงการสินค้าอุปโภคบริโภค ในขณะที่เรายังไม่ค่อยเห็น VR และ AR ในหลายๆ วงการ

 

เริ่มทำ  Deep Tech Startup  อย่างไรดี?

1. ของต้องดีจริง: เมื่อสินค้าใช้ Deep Tech ลอกเลียนยาก สินค้าจะต้องดีจริงๆ จนคนบอกต่อ สินค้าจะเป็นตัวทำการตลาด หากมีลูกค้า 10 คนแรก 10 คนที่ว่าก็จะบอกต่ออีก 11 คน ให้คนบอกปากต่อปากเป็นหลักดีที่สุด

2. ทำโฆษณาและออกสื่อ: ถ้าทำโฆษณาลองคำนวนว่า ต้องลงทุนเท่าไหร่ถึงจะได้ลูกค้าหนึ่งคน และลูกค้าที่ว่าทำเงินให้เราได้เท่าไหร่ ได้คุ้มเสียหรือไม่ ถ้าจะออกสื่อ

3. ทดสอบต้นแบบก่อนระดมเงินทุน:  พอถึงรอบระดมทุน Series A สตาร์ทอัพของเราต้องพร้อมที่จะเติบโต ไม่ใช่เพิ่งเริ่มขายสินค้า ไม่ใช่มีแต่ไอเดียและแผนการแล้วไปเสนอนักลงทุน เพราะเมื่อ Deep Tech เป็นของใหม่ ให้ผลลัพธ์ใหม่ ทำซ้ำไม่ง่าย เลยต้องให้นักลงทุนมั่นใจว่า สตาร์ทอัพของเราทำได้

4. เลือกโครงการบ่มเพาะที่เข้ากับสตาร์ทอัพของเรา: ดูว่าเป้าหมายสตาร์ทอัพของเรากับเป้าหมายของโครงการเข้ากันได้หรือไม่ ดูว่าโครงการฯ ลงทุนสตาร์ทอัพเจ้าไหนไปแล้วบ้าง มีผลตอบรับเป็นอย่างไร

5. คำนวนก่อนว่าจะต้องระดมเงินให้ได้เท่าไหร่ในแต่ละรอบ: เพราะที่สุดแล้วการระดมทุนเป็นเกมของตัวเลข นักลงทุนหวังว่า 20% ของสตาร์ทอัพที่ลงทุนไปจะทำเงินจนคืนทุนที่ลงไปกับสตาร์ทอัพทั้งหมดในพอร์ตและทำกำไร เราจะเป็น 20% ของสตาร์ทอัพนั้นได้หรือเปล่า

 

Deep tech Cycle

ทำสตาร์ทอัพยุคนี้ไม่ใช่แค่มีแผน สร้างต้นแบบ แต่ต้องทดสอบมาแล้วก่อนคิดระดมทุนด้วย

 

เพราะ Deep Tech Startup มีเทคโนโลยีที่มีความพิเศษเฉพาะ เราควรคุยกับนักลงทุนที่สนใจและลงทุนในเรื่องนี้โดยตรงไปเลย นอกจากนี้ต้องหาคนเก่งๆ มาร่วมทีม บริหารจัดการเก่ง ฝึกคนเป็น ขายของเป็น (เพราะเราต้องขายของตลอดเวลา ถึงแม้จะไม่มีสินค้า) วางแผนทำสินค้าดีๆ แก้ปัญหาตอบโจทย์คนส่วนใหญ่ได้

 

หากในไทยมีผู้เชี่ยวชาญในเทคโนโลยีแต่ละด้านมาทำวิจัย มีคนเอาไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้ มีประสบการณ์ รู้จริงในอุตสาหกรรม มีวิสัยทัศน์และเข้าใจว่าสตาร์ทอัพเติบโตอย่างใรในแต่ละช่วง มีหน่วยงานสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม มีโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพเรื่อยๆ สตาร์ทอัพไทยก็พอมีหวังมีมูลค่าเท่า Unicorn ได้ ขอแค่ต้องรู้จักยืดหยุ่น พร้อมปรับตัว คิดนอกกรอบ ขายของเป็น เจรจาเป็น เข้าใจความรู้สึกของลูกค้า นักลงทุนและคนทำงานด้วยกัน โฟกัสไปที่เป้าหมาย และไม่ล้มเลิกอะไรง่ายๆ

Startup-Community

 

Copyright © MarketingOops.com


  • 213
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th