สสว. เดินหน้า 2 โครงการใหม่ ติดอาวุธเอสเอ็มอี ต่อยอดธุรกิจให้แข็งแกร่ง ตั้งเป้าบ่มเพาะ 6,000 ราย

  • 2
  •  
  •  
  •  
  •  

PIT_5007

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน จัดโครงการสัมนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกับ ‘โครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่’ และ ‘โครงการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจระดับเติบโต’ เพื่อติดอาวุธผลักดันผู้ประกอบการทั้งรายใหม่และรายเก่า ให้มีธุรกิจที่แข็งแรง ยั่งยืน และรู้จักใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับธุรกิจ และเป็นแนวหน้าในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไม่ต่ำกว่า 6,000 ราย รวมทั้งสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจอีกราว 2 พันล้านบาท

โครงการดังกล่าวประกอบด้วย 1. การพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ เพื่อให้การพัฒนาผู้ประกอบการรายใหม่ที่เริ่มทำธุรกิจตั้งแต่ 0-3 ปี บ่มเพาะในเรื่องวิธีการบริหารจัดการ การทำแผนธุรกิจ รวมถึงให้แหล่งเงินทุน โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่างๆ อาทิ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สร้างองค์ความรู้เฉพาะทาง ให้เหมาะกับธุรกิจแต่ละภูมิภาค โดยตั้งเป้าให้มีผู้เข้าร่วมราว 10,000 ราย

อุตสาหกรรมกลุ่มเป้าหมายจะมีการโฟกัสไปที่ธุรกิจประเภท High Value ตัวอย่างในเรื่องกลุ่มสินค้าเวชภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร รวมทั้งเทคโนโลยีเพื่อให้บริการ เพราะสินค้าเหล่านี้ถือเป็นจุดแข็งของประเทศไทย ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการ เช่น การสร้างคอนเทนท์ให้กับตัวสินค้า

2. โครงการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจระดับเติบโต เจาะกลุ่ม Strong/Regular ที่มีประสบการณ์ด้านธุรกิจมากกว่า 3 ปี อาทิ กลุ่มสินค้าอาหาร บริการ ท่องเที่ยวและโรงแรม รวมทั้งธุรกิจเกษตรและแปรรูป สิ่งทอ ชิ้นส่วนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ทั้ง 2 โครงการจะมีการจัดโปรแกรมพัฒนาเชิงลึก เพื่อสร้างความมั่นคงให้ธุรกิจระยะยาว ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าได้มากยิ่งขึ้น ตลอดจนสร้างมาตรฐานและคุณภาพให้เป็นที่ยอมรับ อาทิ มาตรฐาน อย. มอก. ISO รวมทั้ง HACCP ฯลฯ

PIT_4963

“ผู้ที่ทำธุรกิจ SME รวมทั้ง Start up มักมีปัญหาเรื่องแหล่งทุน รวมทั้งขาดความมั่นใจเรื่องธุรกิจของตนเอง ว่าจะเติบโตได้หรือเปล่า สสว.จึงได้มีการวางแผนการติดตามผล เพื่อให้ผู้ประกอบการเดินหน้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น การดึงสถาบันการเงินเข้ามาซัพพอร์ต รวมทั้งสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ เรื่องการทำการตลาด เน้นส่งเสริมต่อยอดสินค้าในธุรกิจของตัวเอง” นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกล่าว

ทางด้านนายพีรดนย์ ไชยมี และนางสาววิยะดา เทียมขุนทด ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในวัย 25 ปี จากอุบลราชธานี ยึดอาชีพเกษตรกรที่ดูเหมือนไม่มีเป็นจุดเด่น แต่กลับมีจุดเด่นในเรื่องของสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า ‘เครื่องช่วยควบคุมปัจจัยการเติบโตของพืช (smart think control)’ คุณสมบัติคือ ควบคุมการให้น้ำ ใส่ปุ๋ย วัดค่าแสง วัดอุณหภูมิและความชื้น รวมทั้งสามารถวัดค่า pH และค่า EC ที่ช่วยให้พืชเติบโตได้ดี ที่สำคัญสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าว คว้ารางวัลระดับเหรียญทองแดงจาก ‘Seoul International Invention Fair’ ที่เกาหลี

IMG_20180322_120912

“ระหว่างเรียนมหาวิทยาลัยความคิดส่วนหนึ่งต้องการกลับไปทำอาชีพการเกษตรที่บ้าน ส่วนตัวก็สนใจผักไฮโดรโปนิกส์ซึ่งตลาดมีความต้องการ จึงปรึกษาพ่อที่มีโอกาสไปทำงานที่อิสราเอล ให้คำแนะนำว่าอิสราเอลมีชื่อเสียงทางด้านปลูกพืชในพื้นที่แห้งแล้ง ทำให้มีการคิดค้นเครื่องช่วยเรื่องการปลูกพืช ผมจึงได้จุดประกายความคิด สร้างสรรค์เครื่องมือเข้ามาช่วยฌธุรกิจที่จะพัฒนาขึ้น ร่วมกับทักษะด้านคอมพิวเตอร์ที่เคยเรียนช่วงมหาวิทยาลัย โดยได้รับความร่วมมือจากม.อุบลฯ ในการพัฒนาเครื่องดังกล่าวขึ้น”

จากความคิดดังกล่าวสามารถสร้างรายได้ 2 ทางคือ 1. แปลงผักไฮโดรโปนิกส์ รวมทั้งเมล่อนที่เข้ามาผสมผสาน สร้างรายได้ราว 4-6 หมื่นบาท/เดือน 2. รายได้จากการผลิตเครื่องที่คิดค้นขึ้นราว 1 แสนบาท/เดือน ที่มีการส่งออกสู่จังหวัดนครราชสีมา อุบลราชธานี สระบุรี และอยุธยา โดยมีแผนส่งออกยังต่างประเทศในอนาคต

PIT_5217

อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญซึ่งเป็นปัญหาส่วนใหญ่ของเอสเอ็มอี คือ ทุน ในการริ่เริ่มธุรกิจ นายพีรดนย์กล่าวว่า ตนได้รับการสนับสนุนจากสสว. ที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธาณี แต่ยังไม่เพียงพอในการต่อยอดธุรกิจ อาทิ  การทำการตลาด การพัฒนาเครื่องมือในการปลูกพืช รวมทั้งช่องทางสำหรับสร้างการรับรู้ของตลาด และช่องทางสร้างตลาดเพื่อการส่งออกของเครื่องที่ตนเองคิดค้นขึ้น

IMG_20180322_092835_01 IMG_20180322_113730 IMG_20180322_113723


  • 2
  •  
  •  
  •  
  •  
Roboots
Tech Savvy Lv.14