เวลามีค่า ดูโฆษณาแล้วทำไมไม่ได้เงิน แนวคิดง่ายๆ กลายเป็น Doo Ads

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

DSC_3203_1

ภาครัฐได้คาด การณ์ตัวเลขงบโฆษณาที่บริษัทไทยลงโฆษณา Online กับ Facebook และ Google ว่าจะอยู่ที่ประมาณ 12,000 – 15,000 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มเติบโตขึ้นด้วย เม็ดเงินนี้ Brand ต่างๆ ต้องจ่ายให้เจ้าพ่อออนไลน์และโซเชียลทั้ง 2 ราย โดยภาครัฐไม่สามารถเก็บภาษีรายได้เลยสักบาท ทั้งที่ สินค้าเป็นของคนไทย โฆษณาในไทย และคนซื้อก็เป็นคนไทย

ด้วยแนวคิดที่เรียบง่ายแต่ไม่ธรรมดา โอภาส เฉิดพันธุ์ และผองเพื่อนแห่ง เอ็มวิชั่น ที่คร่ำหวอดในวงการโทรศัพท์มือถือมากกว่า 10 ปีเลยปิ๊งไอเดีย ทำแอพดูโฆษณา Doo Ads ขึ้นมา โดยมีการผนวกแนวคิดที่ว่า เวลาเป็นสิ่งมีค่า ถ้าผู้บริโภคดูโฆษณา ก็น่าจะได้รับผลตอบแทนที่ชัดเจน

โมเดลจึงทำขึ้นมาง่ายๆ ว่า ลดเงินที่ไหลออกนอกประเทศ และทำให้ผู้บริโภคดูโฆษณาแล้วได้เงิน ซึ่งเป็นส่วนที่รีเทิร์นมาจากเงินที่ต้องจ่ายให้ Facebook/Google นั่นเอง เช่น โฆษณาต้องจ่ายค่าคลิก 0.50 บาท Doo Ads ก็หักค่าดำเนินการ และนำเงินส่วนที่เหลือมาแบ่งจ่ายผู้บริโภคแทน

Opas 02 900

สรุปการทำงานและจุดเด่นของ Doo Ads

  1. ดูโฆษณาแล้วได้เงิน คือ เงินค่าโฆษณาที่ Brand จ่ายมา มีสัดส่วน 30% จะแบ่งจ่ายให้กับผู้บริโภคที่ดูโฆษณาชิ้นนั้น และจากการเริ่มต้นให้บริการ ผู้บริโภคจะดูโฆษณาจนจบ
  2. ดาวน์โหลด Game และ Application ก็ยังแบ่งเงินให้กับผู้บริโภคด้วย เพราะปกติ Game/Application จะจ่ายค่าโฆษณาให้กับแอพสโตร์ประมาณ 1 เหรียญ แต่ถ้าดาวน์โหลดที่ Doo Ads เงินนี้จะแบ่งกลับไปให้ผู้บริโภคด้วย
  3. Doo Ads จ่ายคืนเป็น “เงินบาท” ดูโฆษณาได้ 10 สตางค์อาจจะน้อย แต่ถ้าดู 10 ครั้งก็ได้ 1 บาท ต่างจากผู้ให้บริการแอพลักษณะนี้รายอื่นๆ ที่ใช้วิธีสะสมคะแนน ซึ่งคะแนนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถวัดมูลค่าได้ชัดเจน
  4. เงินจาก Doo Ads ใช้ได้เหมือนเงินจริงๆ ซื้อสินค้าและบริการในแอพได้ หรือสะสมครบ 200 บาทโอนมาเข้าธนาคารจริงๆ ได้ ซึ่ง Doo Ads ได้รับใบอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างถูกต้อง
  5. Call Screen คือ การดูโฆษณาก่อนรับสาย ซึ่งมีการสำรวจแล้วว่าเวลา 10-15 วินาที เป็นเวลาก่อนที่คู่สายจะรับโทร ถ้าดูจบรับเงินด้วย แต่ถ้าไม่อยากดูก็แค่กดปิดซะ
  6. ทำแบบสำรวจหรือ Poll ปัจจุบันมียอดผู้ใช้ Doo Ads ประมาณ 40,000 ราย สามารถทำแบบสำรวจได้ภายในเวลา 1 สัปดาห์ กำหนดรายละเอียดได้เลยว่า ต้องการ เพศ อายุ การทำงาน อะไร ซึ่งมีการทดสอบสำรวจกับกลุ่มประมาณ 9,900 คน พร้อมบทวิเคราะห์ รู้ผลได้ภายใน 1 สัปดาห์

DSC_3215_1

โอภาส บอกว่า มีการลงทุนใน Doo Ads ไปมากพอสมควรเพื่อแสดงให้เห็นว่า โฆษณาได้รับการตอบรับดี สร้างAwareness ให้กับ Brand ได้จริง ขณะที่มิติของผู้บริโภค ก็ต้องได้เงินจริง ใช้เงินได้จริง คิดง่ายๆ ว่าถ้ามีเงินอยู่ในแอพ ผู้บริโภคก็จะไม่ Uninstall และถ้ามีประโยชน์ก็จะใช้งานต่อเนื่อง ซึ่งอนาคตจะสามารถใช้ซื้อของได้ โดยมีความร่วมมือกับ บุญเติม ที่เป็นตู้เติมเงินมือถือในปัจจุบัน อนาคตจะพัฒนาเป็น ตู้ขายสินค้าอื่นๆ ซึ่งใช้เงิน Doo Ads ซื้อได้

 “ถ้าอยากกินน้ำอัดลม กระป๋องละ 15 บาท มีเงินใน Doo Ads 10 บาท สามารถใช้ได้ และบวกเงินเพิ่มอีก 5 บาท นี่เป็นการใช้เงินดิจิทัล มาซื้อสินค้าออฟไลน์”

Doo Ads เน้นกลุ่มคนระดับกลาง-ล่าง ซึ่งปัจจุบันมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนแบบง่ายๆ แต่ใช้ในปริมาณมาก เพราะจากการสำรวจพบว่าประมาณ 50% ใช้งานสมาร์ทโฟนผ่าน Wi-Fi หรือ เติมเงินมือถือไว้เล่นอินเทอร์เน็ต ฟังเพลง แชท และโทรหากันแบบ Line Call หรือ Facebook Call แทบไม่มีการใช้บริการ Voice Call ดังนั้นการใช้ Doo Ads นอกจากจะได้เงินแล้ว ยังไม่กระทบกับค่าใช้จ่ายด้วย

ที่ผ่านมา Brand เริ่มให้การตอบรับดีขึ้นเรื่อยๆ เห็นผลเป็นยอดวิวบน Youtube เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน และมีแบบสอบถามออกมาให้ทำอย่างต่อเนื่อง

ถ้าสนใจลองดาวน์โหลดไปใช้งาน ค้นหา Doo Ads บนแอพสโตร์ ทั้ง iOS และ Android เพราะเวลามีค่า ดูโฆษณาควรได้เงิน

doo1

doo2

Doo-ads-ต่อ-20-01


  •  
  •  
  •  
  •  
  •