ตอบทุกข้อสงสัย ทำไมสตาร์ทอัพต้องทำ Prototype? และต้องทำอย่างไร?

  • 37
  •  
  •  
  •  
  •  

เราจะจัดการสิ่งที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้อย่างไร?

คำตอบคือเราต้องแก้ไขปัญหา ประเมิน และสื่อสารไอเดียงานออกแบบ คาดคะเนไอเดียงานออกแบบแบบง่ายๆ

การทำ “Prototype” จึงสำคัญกับสตาร์ทอัพมาก การทำ Prototype คือการถามคำถามสำหรับสิ่งที่เราสงสัยและต้องการเรียนรู้จากความเห็นของผู้ใช้งาน เช่น

– ตอนนี้ผู้ใช้งานทำอะไรอยู่ จับตาไปที่สิ่งที่ผู้ใช้งานทำอยู่ไม่ใช่สิ่งที่ผู้ใช้งานพูด?

– อะไรคือคุณค่าและเป้าหมายของผู้ใช้งาน?

– อะไรที่ผู้ใช้งานต้องทำให้สำเร็จจริงๆ?

– ผู้ใช้งานแต่ละคนเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?

ไม่ใช่เอา Prototype เนียบและมีรายละเอียดครบถ้วนเพอร์เฟ็คไปขายหรือเป็นหน้าตาของผู้บริหาร

paper-prototype

ฉะนั้น Prototype ในรูปแบบต่างๆไม่ว่าจะเป็น Storyboard, ภาพสเก็ตช์, วีดีโอ, สินค้าจำลอง หรือ Wireframe ต้องออกมาแบบลวกๆ ทำออกมาเยอะๆ หลายๆแบบ เปลี่ยนง่าย ทิ้งง่าย และที่สำคัญ “ต้องน่าเกลียด” พอที่จะทำให้ผู้ใช้งานกล้าให้ความเห็นมากขึ้น เราก็จะได้เรียนรู้มากขึ้นด้วย

เข้าตำรา “Fail Faster, Success Faster”

paper-prototyping-ip

ในระยะแรก เราต้องทำ Prototype 5-6 ตัวแตกต่างกันสำหรับแต่ละสถานการณ์เพื่อลดความเสี่ยง ฉะนั้นคิดสถานการณ์ที่เป็นไปได้ออกมาให้ครบก่อนทำ Prototype ระยะต่อมาจึงทำ Prototype ที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงของการพัฒนาไอเดีย โดยลดมาเหลืออย่างน้อย 2-4 ตัวก่อนที่จะสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากผู้ใช้งาน

ไม่ต้องกังวลว่าไอเดียไหนจะดีหรือไม่ดี ลองสเก็ตช์ไม่เกิน 30 นาที เพื่อสำรวจไอเดีย เน้นปริมาณเข้าไว้ และประเมิน Prototype ที่สเก็ตช์ไว้ตามเป้าหมายของสินค้า ใช้เวลา 3 นาทีนำเสนอ Prototype ของทีม ให้ทีมได้วิจารณ์อีก 2 นาที

 

จากนั้นเริ่มทำ Prototype ได้เลย รูปแบบของ Prototype จะมีตั้งแต่ Storyboard ภาพจำลอง โมเดลดิจิทัลจำลอง HTML เว็บไซต์ และไซต์ที่มีฐานข้อมูลเรียงตามความเหมือนจริง ความสามารถในการเปลี่ยน และระยะเวลาในการสร้าง

21

 

1. Storyboard

ลองคิดว่าผู้ใช้งานจะทำอะไรกับแอปฯของเราได้บ้าง ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของตัวผู้ใช้งานเอง และวิสัยทัศน์สตาร์ทอัพของเราทั้งคู่ ไอเดียการใช้งานที่ได้จะช่วยให้เรารู้ว่าฟีเจอร์ที่เรากำลังจะคิดต่อไปเป็นฟีเจอร์ที่สำคัญที่สุด

httpv://www.youtube.com/watch?v=Hn0oxvw7-OE

 

2. รูปภาพจำลอง (Paper Prototyping)

ไม่ต้องเสียเวลาเขียนโค้ตทำกราฟฟิค แค่ใช้เวลาทำแค่ 30-45 นาทีเท่านั้น เอาทุกรายละเอียดมาวาดไว้รวมถึงส่วนที่จำเป็นอย่างปุ่ม บาร์ควบคุมการใช้งาน ใช้ Flipchart ให้เป็นประโยชน์ ถ้าบางอย่างวาดยากเช่น Progress Indicator และ Hyperlink ก็ใช้วิธีเล่าอธิบายแทนได้

ทั้งหมดเพื่อให้เรารู้ว่า ผู้ใช้งานเข้าใจแนวคิดของสินค้าหรือไม่?ใช้งานสินค้าตัวนี้ทำงานเสร็จเรียบร้อยได้หรือเปล่า? เห็นประโยชน์ของสินค้านี้หรือไม่?มีอะไรที่คิดว่าสินค้าไม่ได้ตอบสนองสิ่งที่คาดหวังไว้หรือไม่? และมีฟีเจอร์อะไรที่อยากให้เราเพิ่มหรือไม่?

httpv://www.youtube.com/watch?v=9wQkLthhHKA

httpv://www.youtube.com/watch?v=V8LNDqMIapY

จากนั้นจึงใช้กราฟฟิคทำรูปภาพจำลอง เพื่อทดสอบสี ฟอนต์ รูปร่าง ขนาดของปุ่ม และความสวยงาม โดยใช้ Omni Graffle Photoshop Illustrator หรือ Fireworks เพื่อทำให้ดูสมจริงมากกว่าการใช้กระดาษสเก็ตช์ แต่การใช้กระดาษสเก็ตช์มีประสิทธิภาพมากกว่าเพราะสามารถจำลองแนวคิดได้มากกว่านั่นเอง

httpv://www.youtube.com/watch?v=JMjozqJS44M

การทำรูปภาพจำลอง แม้จะเร็ว ถูก ร่วมมือกันทำง่าย แก้ง่าย ได้ความเห็นจากผู้ใช้งานได้ทันที แต่อาจจำลองการใช้งานบางช่วงได้ยากเช่นกัน

 

3. แอปฯหรือเว็บไซด์จำลอง (Digital Prototyping)

ใช้ Keynotopia, Fireworks, iMockup apps และ Proto Share ทำแอปฯแบบเร็วๆไม่ต้องสวยมาก จำลองการควบคุมหลายๆอย่างเพื่อจำลองประสบการณ์จริงในการใช้งานเช่นการรับและแสดงข้อมูล ตำแหน่งและผลการค้นหา เป็นต้น

แต่ก่อนทำแอปฯหรือเว็บไซด์จำลอง ต้องทดลองกับแบบจำลองกระดาษมาก่อนเพื่อสรุป Flow, Layout และฟีเจอร์ให้เรียบร้อย

httpv://www.youtube.com/watch?v=KWGBGTGryFk

 

4. วีดีโอจำลอง (Video Prototyping)

ใครที่จะพัฒนาแอปฯเกมหรือเพลงมีประโยชน์มาก เพราะได้ความเห็นจากผู้ใช้งานได้ชัดเจนมากขึ้น แถม Prototype แบบวีดีโอนั้นทำง่ายแถมเร็วและพกพาง่าย อธิบายได้ด้วยตัวมันเองไม่ว่าจะเป็นตัวละคร สภาพแวดล้อม สิ่งที่ผู้ใช้งานต้องทำ ระยะเวลาในการใช้งาน โดยเฉพาะฟีเจอร์ของแอปฯที่ช่วยเราทำงานจนเสร็จ ช่วยให้เรา นักพัฒนาแอปฯหรือเว็บไซต์ และผู้ใช้งานเข้าใจตรงกัน

วิธีทำก็ไม่ยาก เริ่มจากร่างสคริปท์และจำลองสถานการณ์ในการใช้สินค้าออกมา จำลองสภาพแวดล้อมในการใช้งาน สำรวจว่าผู้ใช้งานมีปัญหาอะไร ทำไมถึงต้องใช้สินค้าของเรา? ต้องการอะไรจากสินค้าของเรา?

จากนั้นสเก็ตช์ Storyboard ทำ Prototype แบบกระดาษ และใช้กล้องและไมโครโฟนคุณภาพดีที่ซูมได้อัดวีดีโอไว้ในสภาพแวดล้อมที่เสมือนจริง มีเครื่องมือในการเก็บภาพหน้าจอไว้

สุดท้ายลองอธิบายให้ผู้ใช้งานแต่ละคนว่าทำไมเราควรจะชอบสินค้าของเรา? อธิบายแรงจูงใจของผู้ใช้งาน และประโยชน์ที่ผู้ใช้งานจะได้รับ ใส่การใช้งานของแอปฯที่จำเป็นจริงๆเท่านั้นจะตัดต่อวีดีโอและใช้การ์ตูนช่วยอธิบายด้วยก็ได้

httpv://www.youtube.com/watch?v=wbiYAqbZryA

ข้อควรระวังในการใช้วีดีโอเป็น Prototype คือความยากในการทดสอบสำหรับการควบคุมการใช้งานปลีกย่อย ผู้ใช้งานไม่ได้สำรวจสินค้าของเราจริงๆรวมถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับสินค้าของเราด้วย

 

ให้ Prototype ตอบคำถามในสิ่งที่เราอยากเรียนรู้เท่านั้น และทำ Prototype ให้สมจริงที่สุดโดยเฉพาะฟังค์ชั่นและประสบการณ์การใช้งานหลักๆ ที่สำคัญ การทำ Prototype ต้องผ่านกระบวนการทำ Minimum Viable Product ด้วย อยากรู้ว่าต้องทำอย่างไร คลิกที่นี่เลย

 

Source: Copyright © MarketingOops.com


  • 37
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th