หลังจากที่ Uber สู้ไม่ถอยในตลาดเอเชีย ลงทุน 700 ล้านเหรียญฯในอาเซียนและ 2 พันล้านเหรียญในจีนล่าสุดได้ดีลกับ Grab ยอมให้รวบกิจการไปแล้วเรียบร้อย (อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่นี่)
แล้วดีลครั้งนี้มีความหมายอย่างไรกับผู้โดยสารคนใช้บริการอย่างเราแล้วใครได้ประโยชน์จากดีลนี้กันแน่มาตามวิเคราะห์ไปด้วยกัน
Uber บรรเทาภาวะขาดทุนหนักเอาเวลาไปทุ่มกับตลาดที่เหลือ
ที่ผ่านมานับว่า Uber กำลัง “เมาหมัด” กับคู่แข่งในตลาดเจ้าถิ่นรอบด้านไม่ใช่แค่เฉพาะกับ Grab ในตลาดอาเซียนแต่รวมถึง Go-Jek ในอินโดนิเซียและ Didi Chuxingในจีน ทำให้ไม่มีทีท่าว่า Uber จะทำกำไรได้เลยล่าสุดปีที่แล้ว Uber ขาดทุนราว 1.4 แสนล้านบาทเพิ่มจากปีก่อนอีก 0.5 แสนล้านบาทในขณะที่รายได้ปีที่แล้ว Uber ทำได้ 2.3 แสนล้านบาทเป็นสาเหตุหลักที่ดีลครั้งนี้เกิดขึ้น Uber อาจต้องการขายกิจการให้ Grab เพื่อรักษาภาวะขาดทุนของตัวเองคาดว่าสู้กับ Grab ที่เป็นเจ้าตลาดอาเซียนไม่ไหวแต่ยังดีสำหรับUber ยังถือหุ้นใหญ่อยู่ 27.5% หลังจากควบกิจการและ CEO ของ Uber อย่าง Dara Khosrowshahi เข้าไปนั่งเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารของ Grab
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Uber ควบกิจการกับคู่แข่งก่อนหน้านี้ Uber ทำดีลคล้ายกันกับ Didi Chuxing ที่เป็นคู่แข่งที่ให้บริการลักษณะเดียวกันในจีนและ Uber ถือหุ้นใหญ่ 20% อีกดีลกับบริษัท Yondex ในตลาดรัสเซียแต่ดีลนี้ Uber ไม่ได้ถือหุ้นใหญ่
เท่ากับว่า Uber ยอมถอยจากตลาดอาเซียนจีนและรัสเซียเพราะสู้กับบริษัทคู่แข่งที่เชี่ยวชาญในตลาดท้องถิ่นของตัวเองไม่ไหวGrab สามารถจับมือกับพันธมิตรผู้ประกอบการแท็กซี่และทำตามกฎหมายของประเทศนั้นๆได้ดีกว่า Uber ที่เริ่มจากให้บริการทั่วโลกแทนที่จะเน้นตลาดในท้องถิ่นตั้งแต่ต้นแล้วค่อยๆขยายไปตลาดอื่น
ฉะนั้นตอนนี้ Uber จึงเหลือญี่ปุ่นเกาหลีใต้และอินเดียให้เน้นอยู่ในตลาดเอเชียซึ่งในอินเดียก็มีบริษัทเจ้าถิ่นอย่าง Olb อยู่ ต้องคอยดูว่า Uber จะสู้ไหวหรือจะมีดีลลักษณะนี้กับ Olb อีก ส่วนตลาดในอเมริกายุโรปออสเตรเลียนิวซีแลนด์และประเทศในละตินอเมริกาคาดว่าหลังจากดีลกับ Grab Uber จะมีเวลาและทรัพยากรลงทุนกับประเทศเหล่านี้มากขึ้นแต่ก็ต้องใช้เวลาสำหรับพนักงานที่ทำงานให้กับ Uber ปรับตัวทำงานกับ Grab เช่นกัน
Grab ขยายฐานข้อมูลลูกค้าบุกตลาดอาเซียนได้เต็มที่ (พร้อมกับคู่แข่ง)
Grab ที่ไม่ใช่แค่ให้บริการรับผู้โดยสารผ่านแอปพลิเคชั่นแต่นับรวมบริการส่งอาหารอย่าง GrabFood และ GrabFinancial ด้วยซึ่ง GrabFood เดิมตั้งใจขยายบริการจากอินโดนิเซียและไทยไปที่สิงคโปร์และมาเลเซียอยู่แล้วการรวมกิจการกับ Uber นั่นหมายความว่า Grab ได้ UberEat ที่บริการคล้ายกับ GrabFood เข้าไปด้วย
ซึ่งเราจะได้เห็นการเปลี่ยนผ่านข้อมูลของฐานลูกค้าคนขับผู้โดยสารพันธมิตรร้านค้าจาก Uber และ UberEat ไปที่ฐานข้อมูลของ Grab และ GrabFood ในอีกไม่ถึงสองอาทิตย์ในไทย Grab ที่มีส่วนแบ่งตลาดในอาเซียนอยู่แล้ว 95% ให้บริการรับส่งผู้โดยสารรวมพันล้านครั้งในอาเซียนมีคนใช้บริการ 11 ล้านคนพอได้ข้อมูลจาก Uber ก็จะเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้นรวมถึงบริการด้านการเงิน GrabFinancial ด้วยคาดว่าเราจะได้เห็นบริการที่หลากหลายจาก Grab มากขึ้นเช่น GrabCycle (บริการจักรยาน) และ GrabShuttle Plus (บริการรถโดยสารประจำทางแบบออนดีมานด์) ที่เริ่มแล้วในสิงคโปร์หวังเจาะตลาดกลุ่มพนักงานออฟฟิศและองค์กร
ที่น่าสนใจคือ Grab มีข้อมูลพฤติกรรมการเดินทางของลูกค้าว่าไปที่ไหนบ้างไปตอนไหนไปบ่อยหรือไม่ขนาดอีคอมเมิร์ซอย่าง Amazon ยังมีข้อมูลแบบนี้ไม่เยอะเท่า Grab เลย
ในขณะที่สถานการณ์ที่การเงินของ Uber ไม่สู้ดีนัก Grab กลับมีเงินทุนเรื่อยๆทั้งจาก Didi Chuxing และ Softbank (บริษัทเทคฯและเทเลคอมฯยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่น) เมื่อ Uber มีเวลาเยอะขึ้นจากดีลครั้งนี้ Grab ก็มีเงินทุนและรายได้ในอนาคตเพิ่มขึ้นจากดีลนี้ตามมาซึ่งเงินส่วนใหญ่ก็หนีไม่พ้นเอาไปลงทุนวิจัยและพัฒนาแอปฯ
ผู้บริโภคอาจเสียประโยชน์จากทางเลือกบริการที่น้อยลง
เรา “อาจจะ” ได้เห็นโปรโมชั่นหรือช่วงลดราคาของ Grab น้อยลงหรือการตั้งราคาที่เพิ่มขึ้นของ Grab ก็ได้เพราะในเมื่อ Uber ที่เคยแข่งกับ Grab มีบทบาทน้อยลงในตลาดอาเซียนทำให้ลูกค้ามีทางเลือกในการใช้บริการน้อยลงซึ่งถ้ามองกันยาวๆรัฐอาจเข้ามาควบคุมการให้บริการของ Grab หากเข้าข่ายการผูกขาดบริการ
แต่หากมองในแง่ดีการที่ไม่มี Uber อยู่อาจจะทำให้บริการรับส่งผู้โดยสารผ่านแอปฯถูกกฎหมายในประเทศนั้นได้ง่ายขึ้นเราอาจไม่ต้องกังวลว่า Uber จะหายไปเพราะกฎหมายห้ามเรายังมี Grab ที่ทั้งถูกกฎหมายและยังให้ความสะดวกในการเรียกแท็กซี่มารับอยู่บริการที่เหลืออยู่ในตลาดอาจไม่ต้องการให้ผู้โดยสารเสียเปรียบเกินความจำเป็นเพื่อให้คนใช้บริการประทับใจอยู่ก็ได้
ดีลครั้งนี้เข้าทาง Softbank
ก่อนหน้าที่ดีลนี้จะเกิดขึ้น Softbank ที่มี “มาซาโยชิ ซัน” ก่อตั้งเป็นบริษัทเทเลคอมฯและเทคโนโลยีครองตลาดซอฟแวร์ในญี่ปุ่นกว่าครึ่ง Softbank ได้ลงทุนทั้งฝั่ง Grab และ Uber การที่Uber ขาดทุนมาตลอดเพราะสู้บริษัทเจ้าถิ่นอาจเป็นสาเหตุให้ Softbank อยากให้ดีลนี้เกิดขึ้นให้ Grab ที่ให้บริการได้ดีกว่ามาทำรายได้เข้า Softbank และอยากให้ Uber สนับสนุนเรื่องข้อมูลของลูกค้ากับ Grab มากกว่าที่จะแข่งกันเอง
แต่ถึงอย่างนั้น Softbank ยังมองว่า Uber ยังมีบริษัทที่มีศักยภาพในการทำเงินและพัฒนาเทคโนโลยีขนส่ง มาซาโยชิมองอยู่แล้วว่าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะมาเปลี่ยนอนาคต Softbank คงไม่ยอมให้ Uber หายไปง่ายๆ ยังต้องดำเนินกิจการต่อไปเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเดินทาง เราได้เห็น Uber พัฒนารถยนต์ไร้คนขับความคิดริเริ่มที่จะให้มีรถยนต์โดยสารทางอากาศซื้อรถจาก Volvo กว่า 24,000 คันเพื่อเอามาพัฒนาและเตรียมเข้า IPO ในปีหน้า
การที่ Softbank ยังลงทุนใน Uber อยู่บวกกับดีลครั้งนี้จะทำให้วัฒนธรรมการทำงานใน Uber เน้นเทคโนโลยีและหันมาดูแลตลาดฝั่งยุโรปมากขึ้น
เพื่อให้ Uber ยังอยู่รอดต่อไป
Copyright © MarketingOops.com