WEF เผยผลสำรวจ ไทยก้าวสู่ประเทศ 4.0 อยู่ในลำดับที่ 38 จาก 140 ประเทศทั่วโลก

  • 1.1K
  •  
  •  
  •  
  •  

thailand4.0

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการของ WEF หรือ World Economic Forum ได้เผยแพร่รายงานดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก 4.0 (Global Competitiveness Index: GCI 4.0) เปรียบเทียบความสามารถการแข่งขันใน 140 ประเทศทั่วโลกในปีนี้ระบุว่า ประเทศไทยก้าวสู่ความเป็น 4.0 มากขึ้น

WEF ได้ปรับเปลี่ยนเกณฑ์และวิธีการคำนวณดัชนีความสามารถในการแข่งขันใหม่ สะท้อนภาพยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 (The Fourth Industry Revolution) ให้มากขึ้น อันดับ 1 ถึง10 คือ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง สหราชอาณาจักร สวีเดน และเดนมาร์ก

ส่วนไทยเป็นประเทศที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในลำดับที่ 38 โดยได้รับ 67.5 จาก 100 คะแนนเต็ม

02 รองศาสตราจารย์ ดร.พสุ เดชะรินทร์

รองศาสตราจารย์ ดร.พสุ เดชะรินทร์ คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า คณะฯ เป็นผู้ทำการเก็บข้อมูลเชิงลึก ด้วยแบบสอบถามจากผู้บริหารระดับสูง ขององค์กรขนาดใหญ่และขนาดย่อม ในทุกภาคส่วนอุตสาหกรรม ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดย WEF นำไปคำนวณดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก มีตัวชี้วัด 98 ตัว แบ่งเป็น 12 ด้าน ที่สะท้อนภาพความสามารถในการแข่งขันโดยรวมของประเทศ

เกณฑ์และวิธีในการคำนวณใหม่ของ WEF ที่ได้ออกแบบให้สะท้อนภาพของการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 มากขึ้น ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 38 ด้วยคะแนน 67.5 ซึ่งนับว่าดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากปีที่ผ่านมา (โดย WEF ได้นำเกณฑ์และวิธีการคำนวณตามแนวทาง GCI 4.0 ไปใช้กับข้อมูลของปี 2017) ที่อยู่ในอันดับที่ 40 ด้วยคะแนน 66.3 เมื่อพิจารณาจากเกณฑ์และวิธีการคำนวณโดยใช้เกณฑ์ 4.0 แล้ว ประเทศไทยได้ก้าวสู่ความเป็น 4.0 มากขึ้น

เป็นที่น่าสังเกตว่า คะแนนและอันดับของประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศอื่นๆ ทั่วโลก พบว่า ด้านที่มีอันดับที่ดี และส่งผลบวกต่อดัชนีความสามารถทางการแข่งขันโดยรวม จะได้แก่ ด้านระบบการเงิน (Financial system) ที่ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 14 ของโลก และได้รับคะแนน 84.19 (จาก 100)

^FCBC91DF932DCB35EFD8EEDD8DE7F6BB06DCA46C51F9797A26^pimgpsh_fullsize_distr

โดยในด้านระบบการเงิน จะมีปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับความพร้อมของเงินทุน การให้สินเชื่อ ผลิตภัณฑ์การเงินประเภทต่างๆ รวมทั้งระบบในการลด และกระจายความเสี่ยงต่างๆ ทางด้านการเงิน ตัวอย่างของปัจจัยต่างๆ ภายใต้ด้านการเงิน ประกอบด้วย วงเงินสินเชื่อที่มีให้กับภาคเอกชน หรือการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของธุรกิจขนาดกลางและย่อม หรือความพร้อมทางด้านการเงินในการสนับสนุนต่อ Startups หรือ เสถียรภาพของธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น

นอกจากนี้ ด้านขนาดของตลาด (Market size) ประเทศไทยได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 18 ของโลก และได้รับคะแนน 74.88 (จาก 100) โดยในด้านขนาดของตลาด จะสะท้อนให้เห็นขนาดของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ที่บริษัทต่างๆ ในประเทศไทยสามารถเข้าถึง โดยเป็นผลรวมของการบริโภคภายในประเทศ การลงทุนและการส่งออก

ส่วนด้านที่ประเทศไทยยังจะต้องพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อก้าวสู่ความเป็น 4.0 ให้มากขึ้นนั้น ประกอบด้วย ด้านการแข่งขันภายในประเทศ (Product market) ซึ่งถูกจัดให้อยู่อันดับที่ 92 ของโลก ด้วยคะแนน 53.4 ซึ่งด้านนี้จะเกี่ยวข้องกับระบบการแข่งขันภายในประเทศที่เปิดให้บริษัทต่างๆ ได้มีโอกาสในการแข่งขันอย่างเท่าเทียม รวมทั้งการปิดกั้นและความซับซ้อนของกฎระเบียบต่างๆ

โดยการเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันของบริษัทต่างๆ และกฎระเบียบที่ไม่ซับซ้อนและไม่ปิดกั้นต่อการแข่งขัน ย่อมจะนำไปสู่นวัตกรรมในด้านต่างๆ มากขึ้น

ด้านการศึกษาและทักษะ (Education & skills) ของประเทศไทย ก็ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ที่ 66 ของโลก ด้วยคะแนน 62.99

2 ส่งออก

เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่ม ASEAN+3 (ยกเว้น Myanmar ที่ไม่มีข้อมูล) ที่ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความใกล้ชิด กับประเทศไทยอย่างสูงนั้น ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 6 จาก 12 ประเทศ เป็นรองสิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย และจีน ที่ถือเป็นอันดับคงที่ติดต่อกันมาหลายปี ไม่ว่าจะใช้เกณฑ์หรือวิธีการวัดแบบใด นับว่าเป็นการสะท้อนสถานะทางการแข่งขัน ที่มั่นคงของไทยในเวที ASEAN+3 ได้เป็นอย่างดี

การสำรวจความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ โดย WEF หรือ GCI 4.0 ซึ่งเป็นมาตรวัดที่สำคัญที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกเฝ้ารอและจับตาดู ซึ่งนอกจากจะเป็นการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ ยังสามารถชี้ให้เห็นจุดเด่นและประเด็นที่ควรต้องพิจารณา เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

1 ส่งออก

ผลการศึกษาทางด้านวิชาการยังพบความสัมพันธ์ในเชิงบวก ระหว่างระดับความสามารถในการแข่งขัน และระดับรายได้ของประชากรในแต่ละประเทศ ทุกประเทศที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ใน 20 อันดับแรกของ GCI 4.0 ในปี 2018 เป็นประเทศที่มีระดับรายได้ของประชากรในระดับที่สูง (ระดับรายได้ของประชากรวัดจาก Gross National Income per Capita)

สำหรับประเทศที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ใน 40 อันดับแรกของโลกตามแนวทาง GCI 4.0 มีเพียงประเทศมาเลเซีย (อันดับที่ 25) จีน (อันดับที่ 28) และประเทศไทย (อันดับที่ 38) เท่านั้นที่ไม่ได้มีรายได้ต่อประชากรในระดับที่สูง

กลุ่มหุ้นวัฏจักรประเภทกลุ่มหุ้นเทคโนโลยีน่าจับตามอง

การจัดอันดับเปรียบเทียบในภาพรวม ของความสามารถในการแข่งขันของแต่ละประเทศที่ปรากฏใน GCI 4.0 ประกอบไปด้วย 12 ด้าน (Pillars) ที่รวมเข้าเป็นดัชนีองค์รวมดังกล่าว ด้านสภาพแวดล้อมหน่วยงาน (Institutions) โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ด้านการประยุกต์ใช้ ICT (ICT Adoption) ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาค(Macroeconomic Stability) ด้านสุขภาพ (Health) ด้านการศึกษาและทักษะ (Education and Skills) ด้านการแข่งขันภายในประเทศ (Product Market) ด้านตลาดแรงงาน(Labor Market) ด้านระบบการเงิน (Financial System)  ด้านขนาดของตลาด (Market Size) ด้านการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ (Business Dynamism) และ ด้านความสามารถทางนวัตกรรม (Innovation Capability)


  • 1.1K
  •  
  •  
  •  
  •