คอตตอน ยูเอสเอ ทำการสำรวจวิจัยการตลาด Global Lifestyle Monitor ครั้งที่ 5 โดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตรูปแบบ พฤติกรรม การจับจ่ายซื้อเสื้อผ้าของผู้บริโภคทั่วโลก
ผู้ร่วมทำแบบสอบถามทั้งหมด 5,000 คน ใน 10 ประเทศ อาทิ บราซิล จีน อินเดีย ญี่ปุ่น อังกฤษ
รายงานผลสำรวจ
- 1 ใน 5 ของผู้บริโภคทั่วโลก นิยมซื้อเสื้อผ้าร้านค้าปลีกตามด้วยห้างสรรพสินค้า 19% และร้านที่มีแบรนด์และสาขา 16%
- สำหรับผู้บริโภคไทยนิยมซื้อเสื้อผ้าจากร้านค้าปลีกหรือตามตลาดนัดเพิ่มจากปี 2549 จาก 20% เป็น 36% โดยกลุ่มที่นิยมซื้อในช่องทางดังกล่าวมากที่สุด 15-24 ปี และทางไฮเปอร์มาร์เก็ต เพิ่มจาก 41% เป็น 49%
- ส่วนกลุ่มที่นิยมซื้ออายุ 25-54 ปี โดยในทางตรงกันข้ามมีผู้ซื้อที่ห้างสรรพสินค้าลดลงจาก 62% เป็น 53% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย และปัจจัยการเลือกซื้อเสื้อผ้าคำนึงถึงราคามากขึ้น
สำหรับพฤติกรรมผู้บริโภคอเมริกา หันมาซื้อสินค้าทางไฮเปอร์มาร์เก็ตมากกว่าห้างสรรพสินค้าเช่นกัน เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจการเงินในอเมริกา แต่เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ห้างสรรพสินค้า ยังเป็นสถานที่ที่ได้รับความนิยมมากสุดในจีน โคลัมเบีย และอังกฤษ ขณะที่กลุ่มร้านเชนสโตร์ ค่อนข้างได้รับความนิยมในบราซิล อังกฤษ เยอรมัน และญี่ปุ่น ส่วนผู้บริโภคอิตาลี และอินเดีย ตุรกี บราซิล และโคลัมเบีย ต่างนิยมซื้อเสื้อผ้าจากร้านเสื้อผ้าอิสระ
แนวโน้มผู้หญิงไทยซื้อเสื้อผ้าลดราคาเพิ่มขึ้น และซื้อเสื้อผ้าลดราคามากกว่าผู้ชาย โดยพบว่า
- 18% ซื้อเสื้อผ้าที่ลดราคาอย่างน้อย 20% และเมื่อเปรียบเทียบสถานที่ซื้อเสื้อผ้าที่ลดราคาอย่างน้อย 20% พบว่าผู้บริโภคไทยซื้อเสื้อผ้าที่ร้านเสื้อผ้าตลาดนัดแผงลอย ไม่อ่อนไหวกับการลดราคา เนื่องจากราคาเสื้อผ้าตลาดนัดไม่สูง”
ส่วนปัจจัยหลักการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้า พบว่า
- ทุกกลุ่มอายุเน้นความหลากหลายของสินค้า และราคาเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเลือกซื้อเสื้อผ้าโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่จะตระหนักถึงราคามากที่สุด
- ขณะที่ปัจจัยด้านความสะดวกสบายในการซื้อ เป็นปัจจัยที่กลุ่มมีอายุมากกว่าให้ความสำคัญ
- คนไทย 52% ซื้อเสื้อผ้าเฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้งหรือมากกว่าหนึ่งครั้ง
- ในรอบสามเดือนที่ผ่านมาใช้เงินซื้อเสื้อผ้าเฉลี่ยคนละ 2,400 บาท
- โดยซื้อเสื้อผ้าประเภทเสื้อยืด 82% กางเกงขาสั้น 54% และยีนส์ 52%