ด้าน Music Matters ซึ่งเป็นผลการสำรวจประจำปี 2008 สำหรับ MTV พบว่า พฤติกรรมของวัยรุ่นทั่วเอเชียเกี่ยวกับเรื่องการบริโภคดนตรีและเพลงในยุคที่สื่อดิจิตอลเป็นยิ่งกว่าศาสดา ในปีนี้สำรวจ 12 ประเทศ โดยเพิ่มเวียดนามและออสเตรเลีย ขณะที่ประเทศอื่นๆ คือ จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลี ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย และไทย
กลุ่มตัวอย่างอายุ 15-34 ปี อาศัยในเขตเมือง และเป็นกลุ่ม Middle Class ผลวิจัยบางส่วนที่น่าสนใจ มีดังนี้
Hot
- ใช้เวลาในโลกออนไลน์ +56%
- ฟังเพลง +53%
- ส่งอีเมล์ +41%
- เป็นสมาชิก Social Networking +37%
Cold
- จ่ายเงินเพื่อซื้อหรือดาวน์โหลดเพลง -36%
- ดูโทรทัศน์ -46%
- เล่นเกม console -50%
พบว่า ปัญหา Pirate หรือแผ่นผี ของปลอมหรือการดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ตแบบไม่เสียเงินนั้นยังคงครองความนิยมในหมู่วัยรุ่นเอเชีย พวกเขานิยมดาวน์โหลดเพลงโดยไม่จ่ายเงิน และใช้โปรแกรม File-sharing เพื่อแบ่งปันเพลงกัน โดยวัยรุ่นจีน ฟิลิปปินส์ ไทย เป็น 3 ประเทศที่มีพฤติกรรมดังกล่าวสูงที่สุด ขณะที่อุตสาหกรรมเพลงในเอเชียถูกขับเคลื่อนจากวัยรุ่นใน 4 ประเทศ คือ จีน เวียดนาม มาเลเซีย และไทย
ผลวิจัยอื่นๆ คือ 50% ดาวน์โหลดเพลงลงในโทรศัพท์มือถือ ขณะที่ 61% ดูมิวสิกวิดีโอผ่านโทรศัพท์มือถือ และ 74% ต้องการที่จะเปลี่ยนมาฟังเพลงผ่านโทรศัพท์มือถือแทนที่จะฟังจาก MP3 เหมือนเคย นอกจากนี้อีก 73% บอกว่าบริษัทโทรศัพท์มือถือและบริษัทผู้ผลิตเพลงควรจะทำงานร่วมกันมากขึ้น เพื่อให้การรับฟังเพลงผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นได้อย่างสะดวกมากขึ้น
คอนเทนต์ยอดนิยมที่ถูกดาวน์โหลดมากที่สุดคือเพลงและริงโทน
จากผลวิจัยดังกล่าวพบว่า กลุ่มอายุ 15-24 ปี มีอัตราการดาวน์โหลดคอนเทนต์ในทุกรูปแบบมากกว่ากลุ่มอายุ 25-34 ปี ซึ่งสาเหตุมาจากกลุ่มแรกยังอยู่ในระหว่างการศึกษาหรือเพิ่งเริ่มต้นทำงานใหม่ การใช้ชีวิตในโลกออนไลน์ที่เกี่ยวกับความบันเทิงจึงอยู่ในอัตราที่สูงกว่า
การใช้จ่ายสำหรับ Mobile Music ของวัยรุ่นเอเชีย คิดเป็นสัดส่วน 30% ของทั่วโลก
ในปี 2008 คนอายุช่วง 15-34 ปี เขาฟังเพลงผ่านอะไร
ช่องทางในการรับชมและรับฟังดนตรี (Music Site)
- Youtube 32%
- MTV 16%
- MySpace 10%
- Channel V 10%
- iTunes 10%
วัยรุ่นเอเชีย ยังไงก็รักดนตรี
- รัก คลั่งไคล้ในเพลง 93%
- ชอบเพลง 85%
- ต้องการฟังเพลงทุกๆ นาที 20%
- เกลียดเลย 1%
ผลวิจัยข้างต้นเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า ไม่ว่ายุคสมัยใด ดนตรี บทเพลงก็ยังคงเป็นที่นิยมและเหมาะสมกับการที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารและเข้าถึงกลุ่มวัยรุ่น และ 46% เชื่อว่าเพลงจะกลายเป็นรูปแบบดิจิตอลทั้งหมดในอนาคต แต่ไม่ว่าอย่างไรพวกเขาก็ยังนิยมของ “ฟรี” อยู่ดี
Source: Positioning Magazine