“ที่ผ่านมา สื่อออนไลน์อย่าง Social Media ได้ช่วยแก้ปัญหาความท้าทายให้กับเหล่านักการตลาดในการสร้างฐานลูกค้า และเพิ่มการรับรู้ของแบรนด์ได้อย่างดี ก่อให้เกิดการโฆษณาที่สะดวกรวดเร็ว โดยสามารถแสดงข้อความที่แบรนด์ต้องการไปยังหน้าจอของลูกค้าได้เพียงแค่กดปุ่มเดียวเท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้ว ความท้าทายที่แท้จริง กลับไม่ใช่การเพิ่มการรับรู้ของแบรนด์เท่านั้น แต่คือกระบวนการหลังจากนั้น นั่นคือ จะทำอย่างไรให้ผู้ชมยึดติดกับแบรนด์ และเปลี่ยนให้พวกเขามาเป็นลูกค้าในที่สุด? เราเข้าใจคุณค่าของลูกค้าเรามากน้อยแค่ไหน และจะมีวิธีการอย่างไรเพิ่มการยืดติดกับแบรนด์ให้มากขึ้น?”
นี่คือสิ่งที่คุณ Robert Zepeda ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Playbasis ได้ตระหนักถึงตลอดเวลา เมื่อเราพูดถึงแนวโน้มการเติบโตทางสื่อออนไลน์และเทคโนโลยีในปัจจุบัน
เมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และอินเตอร์เน็ตเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดในปัจจุบันนี้ ส่งผลให้องค์กรและบริษัทต่างๆ รวมถึงเจ้าของธุรกิจเล็กๆ หันมาจับตามองแนวโน้มเหล่านี้มากขึ้น หลายบริษัทได้สร้างช่องทางสื่อดิจิตอลขึ้นมาเพื่อรองรับการขยายตัวของเทคโนโลยี และมุ่งหวังที่จะให้เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างสะดวก แต่ด้วยแนวโน้มการขยายตัวที่รวดเร็วนี้ ทำให้มีสื่อแนวคิดใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลา จึงทำให้เกิดปัญหาของอัตราการ drop out ออกจากเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นค่อนข้างสูง หากเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นนั้นไม่ได้รับการออกแบบมาอย่างดีพอ
นอกจากเรื่องการออกแบบแล้ว การกำหนดกลยุทธ์ที่ทำให้ผู้เข้าชมและผู้ใช้งานมีความต้องการที่อยากจะกลับมาใช้อีกครั้ง ก็เป็นสิ่งสำคัญที่หลายๆแบรนด์ควรจะหันมาใส่ใจ ซึ่งไม่นานมานี้ ได้มีการสำรวจจาก Marketo กับ ประธานกรรมการฝ่ายการตลาด จำนวน 500 คนทั่วโลก พบว่า 63% ของนักการตลาด มองว่า การยึดติดกับแบรนด์ (Engagement) คือการซื้อซ้ำสินค้าของลูกค้า และการที่ลูกค้ากลับมาหาแบรนด์ของเรา โดยอีก 78% คิดว่า การยึดติดกับแบรนด์นี้ ขึ้นเกิด ณ จุดสิ้นสุดของกระบวนการทางการตลาด หรืออาจจะระหว่างนั้นก็ได้ ซึ่งผลสำรวจนี้แสดงให้เห็นว่า การให้มูลค่าของธุรกิจ ได้ถูกเปลี่ยนจากการสร้างการรับรู้ของแบรนด์ มายังกลยุทธ์ด้านการยึดติดกับแบรนด์ที่มีแรงขับเคลื่อนด้วยจำนวนข้อมูล (Data-Driven) มากขึ้น และกลยุทธ์เหล่านี้มีผลกระทบต่อพื้นฐานของแบรนด์และการวัดผลตอบแทนของการลงทุนโดยตรง
คุณ Robert ได้ให้ความเห็นไว้อีกว่า กลยุทธ์การสร้างความยึดติดนี้จะมีประสิทธิภาพขึ้นได้ เมื่อเรานำเทคโลโยลีและแนวคิดต่างๆมาปรับใช้เข้าด้วยกัน อาทิเช่น การปรับแสดงผลให้เป็นความส่วนตัว (Personalization) การใช้เทคโนโลยีประมวลผลอัตโนมัติ (Automation) การใช้หลักการข้อมูลจำนวนมหาศาล (Big Data) รวมถึงการใช้สมาร์ทโฟน เข้ามาผนวกกันเพื่อให้เกิดวิธีใหม่ๆในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวคิดของการใช้หลักการของเกม (Gamification) ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน เพราะแนวคิดนี้มีส่วนเกี่ยวข้องของการออกแบบกลยุทธ์ด้านการยึดติดกับแบรนด์โดยตรงอย่างมีระบบ ซึ่งทาง Playbasis ก็ได้พัฒนาและออกแบบระบบที่เปรียบเสมือนคู่มือที่จะขับเคลื่อนพฤติกรรมของผู้ใช้งานให้เป็นไปตามที่เราคาดหวังได้ โดย Playbasis ก็ได้แสดงตัวอย่างของการใช้ Gamification ที่สามารถเพิ่มอัตราพฤติกรรมของผู้ใช้งานที่คาดหวังได้ถึง 200-500% และเมื่อนำแนวคิด Gamification นี้จับคู่กับเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติด้านการตลาดอย่าง อีเมล์ SMS หรือระบบแจ้งเตือน จะทำให้แบรนด์สามารถเห็นผลลัพธ์ที่น่าสนใจได้เป็นอย่างดี
และเพื่อเป็นการให้เห็นภาพของความน่าสนใจในการใช้แนวคิดของ Gamification เข้ากับกลยุทธ์ด้านการยึดติดของแบรนด์มากขึ้น Playbasis ได้จัดทำ Infographic ที่แสดงถึงรูปพฤติกรรมของผู้ใช้งานเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นมือถือ รวมถึงจำนวนเฉลี่ยของแต่ละระดับพฤติกรรมนั้นๆ ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อสินค้า หรือเกิดการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ในที่สุด ตามภาพดังต่อไปนี้