จบกันไปแล้วสำหรับงาน World Economic Forum 2024 (WEF2024) ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในช่วงกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมางานที่ผู้นำธุรกิจและผู้นำประเทศระดับโลกไปรวมตัวกันพูดคุยถึงความท้าทายและการรับมือกับเทรนด์ใหม่ๆที่เกิดขึ้นในโลกธุรกิจ
ซึ่งล่าสุด บริษัทแมคฟิว่า ที่เพิ่งแถลงความพร้อมในการจัดงาน SEAT 2024: Southeast Asia Technology Conference 2024 ที่จะมีผู้บริหารและนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศมาร่วมตัวกันมากกว่า 600 คนเพื่อแปลกเปลี่ยนความรู้และมุมมองในเรื่องเทคโนโลยีในวันที่ 20-21 มีนาคมนี้ โดยมีการจัดเวทีเรียกน้ำย่อยด้วยการเสวนาในหัวข้อเรื่อง “ทางรอดของวิกฤตระดับโลกอย่าง Polycrisis และบทเรียนจากงานรวมตัวผู้นำระดับ World Economic Forum” ในปีนี้เอาไว้
โดยเวทีนี้มี คุณประดิษฐ์ มหาศักดิ์ศิริ Head of New Business Innovation, Denso International Asia และ นายแพทย์ ศุภชัย ปาจริยานนท์ CEO & Co-founder of RISE ที่ได้มีโอกาสไปร่วมประชุม WEF 2024 มาเปิดมุมมองถึงความท้าทายใหม่ที่เกิดขึ้นและวิธีการรับมือของธุรกิจหลากหลายอุตสาหกรรมเอาไว้อย่างน่าสนใจ และนี่คือ 4 เรื่องสำคัญที่เราสรุปมาให้แล้ว
1. Polycrisis วิกฤตซ้อนวิกฤตที่ทำให้ความเชื่อมั่นลดลง
นายแพทย์ ศุภชัย CEO สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรม (RISE) เล่าว่าคีย์เวิร์ดสำคัญจากงาน WEF 2024 ปีนี้คือคำว่า Plycrisis หรือการเกิดวิกฤตหลายๆอย่างซ้อนทับกัน ไม่ว่าจะเป็นภาวะสงครามที่เกิดขึ้นหลายแห่ง เรื่องวิกฤตสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการมาถึงของ Artificial Intelligence หรือ AI ที่ปีนี้จะมีการขยายการใช้งานอย่างรวดเร็วมากๆ
ความไม่แน่นอนเหล่านี้และความเปลี่ยนแปลงที่เกดขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลกส่งผลให้ “ความเชื่อมั่น” (Trust) ลดลงและนั่นเป็นที่มาของธีมการประชุม WEF2024 ปีนี้ก็คือ Rebuildgin Trust เรื่องนี้ส่งผลกับธุรกิจโดยตรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนักลงทุน รวมไปถึงลูกค้าที่ชะลอการตัดสินใจเพราะขาดความเชื่อมั่นจากวิกฤตต่างๆ
คุณประดิษฐ์จาก Denso บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถนต์ระดับโลกเสริมว่าในฐานะเป็นนักลงทุนต่างชาติที่มาลงทุนในประเทศไทยหากจะสร้างความเชื่อมั่นให้กลับมาได้องค์กรต้องสร้างคนมอง ทุน ไม่ใช่เรื่องเงินแต่ต้องเป็น Human Capital เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้คนมาลงทุน ดังนั้นต้องพัฒนา Skill เพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ๆที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
2. AI มาช่วยมนุษย์ และมนุษย์ต้องมี Skill ใหม่
นายแพทย์ ศุภชัย เล่าว่าในเวที WEF 2024 ประเด็นที่ถูกพูดถึงในทุกๆเวทีก็คือเทคโนโลยี AI เทคโนโลยีที่ก็สร้างวิกฤตใหม่ๆให้ถกเถียงด้วยเหมือนกันโดยมีประเด็นหลักๆอยู่ 4 เรื่องก็คือ เรื่อง “ตำแหน่งงาน” ที่อาจได้รับผลกระทบ เรื่อง “trust” เราจะไว้ใจให้ AI ตัดสินใจแทนเราได้อย่างไร เรื่อง “Privacy” จะไว้ใจในการนำข้อมูลของเราไปเทรน AI ได้มากน้อยแค่ไหน รวมไปถึงเรื่อง “AI Democracy” คือการถกเถียงกันเรื่องสิทธิ และจริยธรรมของการสร้างผลงานด้วย AI เป็นต้น ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้นายแพทย์ศุภชัย ระบุถึงวิธีรับมือเทรนด์ AI เอาไว้ว่าจะต้องเรียนรู้ตลอดเวลา กล้าที่จะก้าวออกจากคอมฟอร์ทโซน และลองลงมือทำเรียนรู้ด้วยตัวเองว่าอะไรใช้ได้ อะไรใช้ไม่ได้ สิ่งนี้จะทำให้สามารถพัฒนาตัวเองให้รับมือกับเทคโนโลยีใหม่ๆที่เข้ามาได้
คุณประดิษฐ์ จาก Denso เสริมในมุมของผู้ประกอบการณ์ว่า AI จะเข้ามาช่วยการจัดการหน้างานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ จะเข้ามาจัดการข้อมูลที่กระจัดกระจายให้มีโครงสร้างทำงานแบบ Non-Value Added ได้ นอกจากนี้ AI จะสามารถเข้ามาลด Lost และ Waste ในกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แน่นอนว่า AI จะมาแทนมนุษย์ในงานบางอย่าง ดังนั้นมนุษย์ก็ต้อง Reinvent Skill เพิ่มขึ้น
3. Computing Power เทรนด์ที่กำลังมา
นายแพทย์ ศุภชัย เล่าด้วยว่าสิ่งที่ได้ยินจาก ซีอีโอ หลายคนในงาน WEF ที่ดูจะเป็นเทรนด์ที่กำลังมานอกจาก AI ที่เป็นอนาคตที่ผู้นำธุรกิจแนะนำให้ลงทุนแล้ว ยังรวมไปถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Computing Power โดยยกตัวอย่าง Sam Altman ซีอีโอของ Open AI เองก็ยอมรับว่าจะลงทุนกับ Computing Power ให้มากขึ้นเพื่อเป็นพลังประมวลผลของ Generative AI อย่างเช่น ChatGPT-4 ที่ต้องใช้พลังในการประมูลผลมากกว่า ChatGPT-2 ไปแล้ว 100 เท่า
นอกจากนี้ Computing Power เองก็ต้องใช้พลังงานที่เป็นพลังงานสะอาดดังนั้นธุรกิจที่จะเติบโตตามมาด้วยก็คือแหล่งพลังงานสะอาดตั้งแน่ พลังงานแสดงอาทิตย์ พลังงานลม รวมไปถึงพลังงาน fusion energy ก็เป็นสิ่งที่น่าลงทุนอีกอย่างเช่นกัน
4. Climate Tech มาแน่นอน
เทคโนโลยี Climate Tech จะเป็นอีกเทรนด์ที่มาแน่นอนเพราะปัญหา Climate Change ในเวลานี้เป็นสิ่งที่รุนแรงมากๆและจะรุนแรงขึ้นไปอีกในช่วง 10 ปีข้างหน้า สำหรับเรื่องนี้ คุณประดิษฐ์ เล่าว่าจากการปัญหา Geo-politic ทั่วโลกทำให้โลกจะหันมาทางใต้มากยิ่งขึ้นเกิดคำศัพท์ใหม่ขึ้นมาที่เรียกว่า Global South ที่จะเป็นมหาอำนาจใหม่ที่อยู่ในซีกโลกใต้ ที่เป็นประเทศที่อดีตเคยด้อยพัฒนา อย่างเช่น อินเดีย เป็นต้น นอกจากนี้ก็จะเกิดทรัพยากรใหม่ที่สร้าง “มหาอำนาจสีเขียว” ขึ้นเช่นแร่ธาตุที่ใช้ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าอย่าง Nigle หรือ แร่ Litium เป็นต้น
สำหรับเรื่อง Climate คุณประดิษฐ์มองว่าส่งผลกระทบต่อทั้ง Supply Chain ทำให้บริษัท Denso เองก็ต้องปรับตัวด้วยการลงทุนกับ Climate Tech ประเภท Carbon Capture ปล่อยคาร์บอนออกไปเท่าไหร่เราก็ต้องดึงคาร์บอนออกมาเท่านั้น นำไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งจริงๆแล้วเวลานี้ก็ไม่พอแล้ว เราต้องตั้ง Target ให้เป็น More & Vision ก็คือไม่ใช่แค่ Set Zero แต่มันต้องเป็น Negative Carbon ซึ่งเรื่องนี้เองก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ Denso กำลังลงทุนเช่นกัน
ด้านนายแพทย์ศุภชัยเสริมว่า ในงาน WEF 2024 ทำให้เห็นว่าหลายประเทศเดินไปเร็วกว่าประเทศไทยแล้วเช่น ประเทศเวียดนามประกาศถึงเป้าหมายว่าจะเป็นประเทศ Net zero ภายในปี 2050 และมีการวางแผนที่ปลูกข้าวแบบ Low carbon ปริมาณถึง 1 ล้านตัน
ซีอีโอและผู้ก่อตั้งสถาบันเร่งสปีนวัตกรรม เสริมว่า อีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันคือเรื่อง Energy เพราะพลังงานเป็นตัวที่ปล่อยคาร์บอนเยอะมากๆ ซึ่งเกี่ยวข้อง 4 เรื่องได้แก่ 1. Electricity ไฟฟ้าที่เราใช้ แม้ว่าคนไทยจะเริ่มหันมาใช้รถไฟฟ้า EV กันมากขึ้น แต่ถามว่าไฟฟ้าที่ได้มานั้นยังไงได้มาจากน้ำมันในการผลิตไฟฟ้าอยู่ดี 2. Transportation รถยนต์ที่เราใช้นั้นปล่อยคาร์บอนอย่างไรบ้าง 3. Industry โรงงาน ภาคการผลิตต่างๆปล่อยคาร์บอนมากน้อยแค่ไหน และ 4. Building ตึกและอาคารที่มีการใช้ไฟฟ้าปริมาณมากในแต่ละวันจะทำอย่างไรเพื่อให้ปล่อยคาร์บอนให้น้อยลง
ทั้งหมดนี้คือ 4 เรื่องสำคัญที่ถูกพูดถึงใน WEF 2024 ที่คนทำธุรกิจต้องเตรียมรับมือในปีนี้ ซึ่งหากจะอยู่รอดในโลกยุคนี้ก็จำเป็นต้องเพิ่มทักษะตามให้ทันเทคโนดลยีและความต้องการของตลาด ในมุมผู้ประกอบการก็ต้องกล้าที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ก้าวออกจาก Comfort Zone และลงมือทำ โดยเฉพาะเรื่อง AI ที่จะสามารถเป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอย่างมหาศาล พร้อมกับนำเรื่อง Sustainablity เป็นเกราะกำบัง ด้วยสิ่งเหล่านี้ก็จะสามารถทำให้ธุรกิจอยู่รอดสู้กับความท้าทายมากมายในยุคนี้ได้แล้ว