Check list ให้แน่ใจว่ารู้เกี่ยวกับ “ปลาแซลมอน”

  • 2.7K
  •  
  •  
  •  
  •  

ปลาแซลมอนกำลังเป็นที่นิยมของคนไทย มีการรับประทานปลาแซลมอนในหลายรูปแบบ ทั้ง แซลมอนซาซิมิ สโมกปลาแซลมอน และสเต็กปลาแซลมอน  และดูเหมือนจะเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของสุขภาพ เพราะปลาแซลมอนมีโปรตีนที่ดี มีสารอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อร่างการมากมาย   นอกเหนือจากคุณภาพของปลา ผู้บริโภคคนไทยเองก็เริ่มให้ความสำคัญในเรื่องประโยชน์ต่อสุขภาพ และแหล่งกำเนิดของปลาอีกด้วย  แต่เรื่องที่คนไทยหลายคนเข้าใจผิดมาตลอด คือ เข้าใจว่าปลาแซลมอนที่เรานิยมทานกันนั้น มาจากประเทศญี่ปุ่น  และที่สำคัญ คนไทยหลายคนยังไม่ทราบเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับปลาแซลมอน

Check list ให้แน่ใจว่ารู้เกี่ยวกับ “ปลาแซลมอน”
Check list ให้แน่ใจว่ารู้เกี่ยวกับ “ปลาแซลมอน”

จากบทความ บุกมหาสมุทรแอตแลนติก ตามติดแหล่งกำเนิด “ปลาแซลมอน” ตั้งแต่ “วางไข่” ในประเทศนอร์เวย์ สู่ไทยแบบสดๆ ที่ทาง Marketing Oops! ได้มีโอกาสเยือนประเทศนอร์เวย์ ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ เพื่อเรียนรู้และสัมผัสกับฟาร์มปลาแซลมอน โรงงาน กระบวนการผลิต และการขนส่งมายังประเทศไทยด้วยตัวเอง และได้นำ 33 Check List ที่พวกเราอาจไม่เคยรู้เกี่ยวกับ “ปลาแซลมอน” มาฝากกัน

  1. 80% ของคนไทยเข้าใจผิด คิดว่าปลาแซลมอนในร้านอาหารญี่ปุ่นที่เราทานกัน นั้นเป็นแซลมอนส่งตรงมาจากญี่ปุ่น บ้างก็คิดว่ามาจากเกาหลี
  2. 90% ของปลาแซลมอนที่เราทานกันในร้านอาหารญี่ปุ่น ไม่ใช่ปลาแซลมอนจากประเทศญี่ปุ่น แต่เป็น ปลาแซลมอนฟาร์ม สายพันธ์ Atlantic salmon มาจากประเทศนอร์เวย์
  3. ปลาแซลแสนอร่อยที่เราทานกันในประเทศญีปุ่น ก็นำเข้าจากประเทศนอร์เวย์
  4. คนญี่ปุ่น เลี้ยงปลาแซลมอนไว้ทานเอง และไม่นิยมส่งออกนอกประเทศ
  5. ญี่ปุ่น เป็นประเทศอันดับหนึ่งของเอเชียที่นำเข้าปลาแซลมอนจากนอร์เวย์
  6. การนำเข้าปลาแซลมอนจากประเทศนอร์เวย์สู่ตลาดปลาในญี่ปุ่น ใช้เวลาเพียง 36 ชม.
  7. ประเทศไทยติดอันดับสองรองจากญี่ปุ่น ที่นำเข้า ปลาแซลมอนจากนอร์เวย์
  8. ปลาแซลมอนถูกขนส่งสู่ประเทศไทยเกือบทุกวัน และใช้เวลาเพียง 48 ชม. โดยเครื่องบินจากแหล่งเพาะเลี้ยงในเมืองออสโล (Oslo) ประเทศนอร์เวย์ สู่ร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยเพื่อแปลงเป็นซาซิมิบนจาน
  9. ปลาแซลมอนจากนอร์เวย์ที่ส่งมายังไทยและญี่ปุ่น ส่วนมากจะเป็นแบบสด
  10. คนเอเซียนิยมทานปลาแซลมอนสีสดๆเข้มๆ แต่ถ้าทางยุโรปจะนิยมสีอ่อนๆเพราะให้ความรู้สึกเหมือนกินปลาธรรมชาติ
  11. ฟาร์มเลี้ยงปลาแซลมอนของนอร์เวย์ ไม่ได้เหมือนที่ใด แต่เป็นการเลี้ยงปลาแซลมอนกลางมหาสมุทรแอตแลนติก
  12. ปลาแซลมอนวางไข่ทีละ 2,000 ถึง 10,000 ฟอง แล้วแต่สายพันธุ์ ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 3-4 เดือน ปลาแซลมอนจึงมีการสืบพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว มีให้กินได้ตลอดไม่หมดจากทะเลแน่นอน
  13. ปลาแซลมอนนอร์เวย์ จะถูกเลี้ยงในกระชังที่มีความลึก 25 – 40 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 90 – 200 เมตร กับปริมาณปลา 2.5% ของน้ำในกระชัง 97.5% ด้วยระบบควบคุมทั้ง ออกซิเจน กระแสน้ำ และอุณภูมิ
  14. ปลาแซลมอนทุกตัวจะถูกทำให้สลบก่อนถูกเชือด เอาเครื่องในออกและล้างอย่างสะอาดด้วยเครื่องจักรคุณภาพ  ในชนิดที่เราจะไม่มีทางได้กลิ่นคาวปลาเลยสักนิด
  15. ไข่ปลาสีส้มสดที่เราทานกัน ไม่ใช่ไข่ปลาแซลมอน แต่เป็นไข่ปลาเทร้าท์
  16. ประเทศนอร์เวย์ไม่ส่งออกไข่ปลาแซลมอน แต่จะนำไข่ปลาไปเพาะเลี้ยงต่อในฟาร์มแซลมอนทั้งหมด
  17. ปลาแซลมอนและปลาฟยอร์ดเทราต์จากฟาร์มในประเทศนอร์เวย์ ไม่มีตัวปรสิตแอนิซาคิส ซึ่งสามารถรับประทานแบบดิบได้อย่างปลอดภัย
  18. ปลาแซลมอนนอร์เวย์ ถูกเลี้ยงโดยอาหารเม็ดตามมาตรฐาน EU ซึ่งผ่านกระบวนการผลิตด้วยความร้อน ทำให้ปราศจากสารปรสิตในลำไส้ สารเคมี และสารต้องห้ามอื่นๆ ทำให้เรียกได้ว่าเป็น “ปลาแซลมอนออแกนิก”
  19. ปลาแซลมอนนอร์เวย์ ถูกตรวจพบว่าได้รับยาปฏิชีวนะเพียง 1% ซึ่ง 1% นี้จะได้รับการกำจัดสารตกค้างออกจนหมดก่อนส่งถึงตลาด
  20. อาหารปลาแซลมอน และสวัสดิภาพของสัตว์จะถูกทดสอบในประเทศนอร์เวย์ 12,000 ครั้งต่อปี
  21. ยอดส่งออกอาหารทะเลจากนอร์เวย์ สู่ตลาดไทยสูงขึ้นทุกปี และปลาแซลมอน ครองส่วนแบ่งการตลาดในประเทศไทยถึง 90%
  22. ยอดส่งออกอาหารทะเลจากนอร์เวย์สู่ไทย  มีมูลค่าสูงถึง 4.8 พันล้านบาทในปี 2561  โดยยอดนำเข้าปลาแซลมอนนั้นครองสัดส่วนถึง 50% สูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน
  23. ฟาร์มปลาแซลมอน 1 ฟาร์ม สามารถส่งออกปลาแซลมอนให้กับไทยถึง ครึ่งปี หรือประมาณ 29,000 เมตริกตัน
  24. ปลาแซลมอนจะถูกเลี้ยง 2-3 ปี และจะต้องมีน้ำหนักตัว 3-8 กิโลกรัม ถึงจะส่งออกสู่ตลาดได้
  25. ปัจจุบันแหล่งรับประทานปลาแซลมอนจากนอร์เวย์ ได้แก่ “ธรรมชาติซีฟู๊ด” “ร้านอาหาร S&P” “ร้านอาหารญี่ปุ่นทั่วไทย” แค่ร้านอาหารญี่ปุ่นในไทยรวมกัน ก็สั่งปลาแซลมอนในจำนวนมากแล้ว
  26. สารอาหารที่ได้จากปลาแซลมอน คือ กรดไขมันโอเมกา 3 วิตามินเอ วิตามินบี 12 วิตามินดี โปรตีน ซีลิเนียม และไอโอดีน
  27. การรับประทานปลาเพียง 3 มื้อต่อสัปดาห์ ร่างกายก็จะได้รับ Omega 3 ได้ครบตามที่ร่างกายต้องการ
  28. ความสดของปลาแซลมอนดูได้จาก สีส้มสว่างและความสวยงามของเส้นสีขาว กลิ่นของปลาจะหวาน มีกลิ่นของน้ำทะเลแอตแลนติก และไม่ใช่กลิ่นคาวปลา
  29. ปลาแซลมอนแช่แข็งที่ถูกนำมาละลาย จะต้องถูกรับประทานภายใน 24 ชม. หลังจากความแข็งจากน้ำแข็งละลาย
  30. เพราะคนไทยชอบรับประทานปลาแซลมอนจากนอร์เวย์ สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) ถึงกับต้องย้ายสำนักงานระดับภูมิภาคจากประเทศสิงค์โปรมาอยู่ที่ไทยในปีนี้ 2562
  31. ตราสัญลักษณ์ของ NSC สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ ที่เราต้องจดจำ เพราะตอกย้ำว่านี่คือ “Seafood from Norway” อาหารทะเลและปลาแซลมอนสดคุณภาพจากนอร์เวย์
  32. ไม่ใช่แค่ปลาแซลมอน แต่นอร์เวย์ ยังส่งออก “ปลาเทร้าท์” “ไข่ปลาคาเวีย” “ปลาคอด” “ปูยักษ์” และอาหารทะเลอื่นๆ
  33. เชฟและผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารทะเลจากทั่วทุกมุมโลก ต่างเอ่ยเป็นเสียงเดียวกัน ว่าหาก เมื่อเราได้ลิ้มลองรสชาติปลาจากน่านน้ำนอร์เวย์แล้ว เราจะไม่อาจหวนกลับไปทานปลาธรรมดาได้อีก

บทความที่เกี่ยวข้อง
บุกมหาสมุทรแอตแลนติก ตามติดแหล่งกำเนิด “ปลาแซลมอน” ตั้งแต่ “วางไข่” ในประเทศนอร์เวย์ สู่ไทยแบบสดๆ

บทความ Exclusive นี้เผยแพร่บน Marketing Oops! เป็นที่แรก
Copyright© MarketingOops.com


  • 2.7K
  •  
  •  
  •  
  •  
Tukko Nathida
ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ MarketingOops.com กับความตั้งใจในการนำเสนอเนื้อหาที่ทันเหตุการณ์ และเกิดประโยชน์ ให้สามารถนำเนื้อหาความรู้ และ Insight ไปต่อยอดกับอนาคตของธุรกิจ และการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยี ครีเอทีฟ การตลาด โฆษณา และสตาร์ทอัพ