บุกมหาสมุทรแอตแลนติก ตามติดแหล่งกำเนิด “ปลาแซลมอน” ตั้งแต่ “วางไข่” ในประเทศนอร์เวย์ สู่ไทยแบบสดๆ

  • 2.5K
  •  
  •  
  •  
  •  

จะมีกี่คน ที่รู้ว่า 90% ของ “ปลาแซลมอน” ที่เรานิยมทานตามร้านอาหารญี่ปุ่น และอาหารฝรั่งในบ้านเรานั้น  ล้วนเป็นแซลมอนสดที่ถูกส่งตรงมาจากประเทศนอร์เวย์   ยังมีอีกหลายคนที่หลงคิดว่าแซลมอนซาซิมิมาจานโปรดนั้นถูกส่งตรงมาจากประเทศญี่ปุ่นเสียด้วยซ้ำ  ล่าสุดทางสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (Norwegian Seafood Council) เผยยอดส่งออกอาหารทะเลจากนอร์เวย์สู่ไทย  มีมูลค่าสูงถึง 4.8 พันล้านบาทในปี 2561  โดยยอดนำเข้าปลาแซลมอนนั้นครองสัดส่วนถึง 50% สูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน  และนี่คือเหตุผลของการเยือนประเทศนอร์เวย์ของ ณธิดา รัฐธนาวุฒิ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ MarketingOops.com เพื่อเรียนรู้และสำผัสกับฟาร์มปลาแซลมอน กระบวนการผลิต และขนส่งด้วยตัวเอง

Tromso, Norway

"<yoastmark

"<yoastmark

นอร์เวย์ ประเทศที่หนาวเหน็บกับสภาพความเป็นอยู่ที่เหมาะที่สุด สำหรับปลาแซลมอน

นอร์เวย์ตั้งอยู่ทางเหนือของทวีปยุโรป ถูกรายล้อมด้วยน้ำทะเลที่เย็นเฉียบดังน้ำแข็ง กับสภาพอากาศที่หนาวเหน็บ   ที่วันนี้ถือเป็นสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์แบบสำหรับปลาแซลมอน ปลาคอด ปลาแมคเคอเรล และสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์อื่นๆ ในน้ำทะเล  การผสมผสานอย่างเป็นเอกลักษณ์ของอากาศที่หนาวเหน็บและน้ำทะเลที่ใสราวกระจกของประเทศนอร์เวย์ ทำให้ปลาของนอร์เวย์มีคุณภาพสูงอับดับหนึ่งของโลก และมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ จนได้รับการยอมรับจากเชฟและผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารทะเลจากทั่วทุกมุมโลก ต่างเอ่ยเป็นเสียงเดียวกัน ว่าหาก เมื่อเราได้ลิ้มลองรสชาติปลาจากน่านน้ำนอร์เวย์แล้ว เราจะไม่อาจหวนกลับไปทานปลาธรรมดาได้อีก

NSC-salmon-norway-logistic3
ฟาร์มและการขนส่งปลาแซลมอน ประเทศนอร์เวย์

บุกฟาร์มปลาแซลมอน กลางทะเลแอตแลนติก ค้นพบธรรมชาติ และกำเนิดของปลาแซลมอน

ถือเป็นโอกาสสำคัญสำหรับ Marketing Oops! ที่ได้มีโอกาสบุกถึงฟาร์มปลาแซลมอนกลางทะเลแอตแลนติก ประเทศนอร์เวย์ เป็นการเดินทางร่วมกับสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ด้วยตนเอง เพื่อค้นหาความจริงถึงคุณภาพและต้นกำเนิดของปลาแซลมอน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่หนาวสุดของประเทศทางตอนเหนือของโลก  เราค้นพบกว่า นอร์เวย์เป็นประเทศเล็กๆ มีทัศนียภาพที่สวยงาม กับท้องทะเลที่สมบูรณ์ และผู้คนที่อบอุ่น  นอร์เวย์มีวัฒนธรรมและประวัติศาสาตร์การทำประมงจากท้องทะเล  การตกปลาเป็นสิ่งที่ทำให้ชาวนอร์เวย์กลุ่มแรกสามารถเข้ามาตั้งรกราก ทำให้อาหารทะเลกลายเป็นทั้งแหล่งอาหารพื้นฐาน และสินค้าซื้อขายที่สำคัญของนอร์เวย์มายาวนานหลายศตวรรษ สิ่งนี้ทำให้ชาวนอร์เวย์มีความรู้ และประสบการณ์ที่โดดเด่นกว่าใคร  และทำให้นอร์เวย์เป็นประเทศที่ส่งออกอาหารทะเลเป็นอันดับที่สองของโลก

Norwegian Seafood Council - Salmon Farm
บรรยากาศการเดินทางสู่ฟาร์มเลี้ยงปลาแซลมอน
เส้นทางสู่ ฟาร์มเลี้ยงปลาแซลมอน

"<yoastmark

"<yoastmark

"<yoastmark

เยือนฟาร์มปลาแซลมอน กลางอ่าวฟยอร์ด

หากให้นึกภาพฟาร์มปลา  เราอาจจะนึกถึงสถานที่ชายฝั่งทะเลขนาดใหญ่กับกระชังปลามากมายและปลาแซลมอนในนั้นอีกหลายหมื่นตัว  ในความเป็นจริง ฟาร์มปลาแซลมอนของนอร์เวย์นั้น อยู่ที่ฟยอร์ดกลางมหาสมุทรแอตแลนติก ใช้เวลานั่งสปีดโบทประมาณ 20-30 นาที ผ่านบรรยากาศเทือกเขาที่สวยงามและหนาวเหน็บ  บรรยากาศของฟาร์มปลาที่ฟยอร์ด (ฟยอดร์ หรือ Fjord คือ อ่าวเล็ก ๆ บริเวณชายฝั่งทะเลนอร์เวย์ ถูกน้ำกัดเซาะจนเว้าแหว่งมีลักษณะแคบและยาว เว้าลึกเข้าไปในฝั่งระหว่างแผ่นดินสูงชันหรือระหว่างหน้าผาสูงชันตามเชิงเขา ฟยอร์ดเกิดจากการกัดเซาะของธารน้ำแข็ง) จึงเป็นบรรยากาศของธรรมชาติที่เลี้ยงปลาในมหาสมุทร ด้วยกระชังขนาดใหญ่กลางทะเลที่สามารถเลี้ยงปลาแซลมอนได้เป็นล้านตัว

ปลาแซลมอนเป็นปลา 2 น้ำ เหมือนที่เราเคยได้ยินว่ามันจะว่ายทวนน้ำไปวางไข่ในน้ำจืด แล้วว่ายกลับมายังน้ำเค็มเมื่อโตแล้ว ดังนั้นที่ฟาร์มจึงถูกจำลองให้ที่อยู่ของปลามีความเป็นอยู่ของอย่างธรรมชาติ  ปลาแซลมอนถูกเลี้ยงอาหารเม็ดที่มีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเติบโตของปลาอย่างครบถ้วน และถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวด โดยจะมีคณะกรรมการการประมงแห่งนอร์เวย์เป็นผู้ตรวจสอบดูแลในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การจับปลาไปจนถึงการเตรียมการและการส่งออก  ความเข้มงวดนี้ มีถึงขั้นห้ามปล่อยปลาในประเทศนอร์เวย์ เนื่องจากไม่เพียงแต่จะเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากร แต่ยังเป็นเพราะปลาเหล่านั้นไม่ถูกบันทึกอยู่ในสถิติซึ่งทำให้นักวิจัยคำนวนจำนวนปลาในแต่ละแหล่งได้ยาก ประเทศนอร์เวย์เป็นผู้นำของโลกด้านการนำมาตรการห้ามปล่อยปลามาบังคับใช้

ฟาร์มปลาแซลมอน
ฟาร์มปลาแซลมอน กลางมหาสมุทรแอตแลนติก
ฟาร์มเลี้ยงปลาแซลมอน กลางมหาสมุทรแอตแลนติก
ฟาร์มเลี้ยงปลาแซลมอน กลางมหาสมุทรแอตแลนติก

นอกจากนี้ ยังมีกฎข้อบังคับที่เข้มงวดเกี่ยวกับอุปกรณ์ทำประมงอีกด้วย ทั้งคุณภาพของอาหารปลา กระชังเลี้ยงปลา และนำปลาที่โตสมบูรณ์มาคัดแยกขนาดและคุณภาพของการส่งออก มีมาตรการการดูสุขภาพปลาและความเป็นอยู่ที่ดีของปลา การวิจัย การพัฒนา และนวัตกรรม ถือเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมดในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของนอร์เวย์ให้ดียิ่งขึ้น

การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของนอร์เวย์จึงเป็นการเพาะเลี้ยงในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติซึ่งทุกคนจะต้องอยู่ร่วมกัน ทำให้เกิดเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องดูแลสภาพแวดล้อมนั้นร่วมกัน ทั้งอุตสาหกรรมและหน่วยงานภาครัฐได้ทำงานร่วมกันเพื่อจัดการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้อยู่ภายใต้กรอบการทำงานเพื่อความยั่งยืน

Control room ฟาร์มเลี้ยงปลาแซลมอน
Control room ฟาร์มเลี้ยงปลาแซลมอน
Norwegian Seafood Council - Salmon Farm
ฟาร์มเลี้ยงปลาแซลมอน กลางมหาสมุทรแอตแลนติก

บรรยากาศ ฟาร์มเลี้ยงปลาแซลมอน
NSC-salmon-norway-factory2
โรงงานผลิต คัดแยก และขนส่งปลาแซลมอน
โรงงานผลิต คัดแยก และขนส่งปลาแซลมอน
โรงงานผลิต คัดแยก และขนส่งปลาแซลมอน
สถานที่พักปลาก่อนถูกขนส่งไปยังสนามบิน
สถานที่พักปลาก่อนถูกขนส่งไปยังสนามบิน
รถบรรทุกใช้ขนส่งปลาแซลมอนในประเทศนอร์เวย์ และไปยังสนามบินเพื่อส่งออกต่างประเทศ
รถบรรทุกใช้ขนส่งปลาแซลมอนในประเทศนอร์เวย์ และไปยังสนามบินเพื่อส่งออกต่างประเทศ
คลังสินค้าปลาแซลมอนก่อนนำขึ้นเครื่องบิน
คลังสินค้าปลาแซลมอนก่อนนำขึ้นเครื่องบิน
กล่องบรรจุสินค้าอาหารทะเลนอร์เวย์
กล่องบรรจุสินค้าอาหารทะเลนอร์เวย์
สลากติดกล่องปลาแซลมอน เพื่อบอกรายละเอียดของแซลมอน และสินค้าในกล่อง ถึงนน. วันทีผลิต และอื่นๆ
สลากติดกล่องปลาแซลมอน เพื่อบอกรายละเอียดของแซลมอน และสินค้าในกล่อง ถึงนน. วันทีผลิต และอื่นๆ

กำเนิดของปลาแซลมอน ตั้งแต่ระยะวางไข่ไปจนถึงซาซิมิจานโปรดในร้านอาหารญี่ปุ่นของไทย

 

เริ่มจาก ไข่ปลา (Roe)

กระบวนการผลิตปลาแซลมอนในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเริ่มต้นในถาดเพาะลูกปลา โดยไข่ปลาปฏิสนธิในน้ำจืด เช่นเดียวกับปลาแซลมอนในธรรมชาติ หลังจากอยู่ในน้ำเย็นอุณหภูมิ 8 องศาเซลเซียส ราว 60 วัน ตัวอ่อนปลาแซลมอนก็จะฟักตัว

ปลาแซลมอน ระยะไข่ปลา (Roe)
ปลาแซลมอน ระยะไข่ปลา (Roe)
ปลาแซลมอน ระยะไข่ปลา (Roe)
ปลาแซลมอน ระยะไข่ปลา (Roe)

 

ระยะ ตัวอ่อน (Fry)

ตัวอ่อนที่ฟักตัวจะได้รับสารอาหารจากถุงไข่แดงที่ท้อง เราเรียกปลาแซลมอนในระยะนี้ว่า “ตัวอ่อนถุงไข่แดง” หลังจากที่ฟักตัวได้ 4-6 สัปดาห์ ตัวอ่อนจะเริ่มกินอาหารและถูกย้ายไปยังบ่อน้ำจืดขนาดใหญ่

ปลาแซลมอน ระยะ ตัวอ่อน (Fry)
ปลาแซลมอน ระยะ ตัวอ่อน (Fry)

 

ระยะ ลูกปลา (Smolt)

เมื่อเวลาผ่านไป 10 – 16 เดือน ปลาแซลมอนจะมีน้ำหนักตัว 60 – 100 กรัม และพร้อมที่จะถูกย้ายจากน้ำจืดไปอาศัยอยู่ในน้ำเค็ม ในระยะนี้ แถบสีดำที่อยู่ข้างลำตัวลูกปลาจะค่อยๆจางลง ด้านบนของตัวปลาจะมีสีเข้ม และท้องปลาจะมีสีเงิน  นอกจากนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพเกิดขึ้นกับลูกปลา  โดยพวกมันจะสามารถกรองน้ำเค็มผ่านเหงือกและไต กระบวนการนี้เรียกว่า “กระบวนการปรับสภาพลูกปลาจากน้ำจืดไปยังน้ำเค็ม” ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญต้องการอยู่รอดในทะเลของปลาแซลมอน

ปลาแซลมอน ระยะ ลูกปลา (Smolt)
ปลาแซลมอน ระยะ ลูกปลา (Smolt)
กระบวนการปรับสภาพลูกปลาแซลมอนจากน้ำจืดไปยังน้ำเค็ม
กระบวนการปรับสภาพลูกปลาแซลมอนจากน้ำจืดไปยังน้ำเค็ม

 

เติบโตเป็น ปลาแซลมอน

ปลาแซลมอนจะอาศัยอยู่ในกระชังตาข่ายในฟยอร์ด* เป็นระยะเวลา 14 – 22 เดือน ขึ้นอยู่กับน้ำหนักที่ต้องการ ปลาแซลมอนตัวเล็กจะมีน้ำหนักประมาณ 3-4 กก. ในขณะที่ปลาแซลมอนตัวใหญ่อาจจะมีน้ำหนักถึง 6 กก. กฏหมายของนอร์เวย์กำหนดให้เพาะเลี้ยงปลาแซลมอนที่ยังไม่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เท่านั้นในฟยอร์ด*

ปลาแซลมอนจะถูกเลี้ยงในกระชังที่มีความลึก 25 – 40 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 90 – 200 เมตร กับปริมาณปลา 2.5% ของน้ำในกระชัง 97.5% ด้วยระบบควบคุมทั้ง ออกซิเจน กระแสน้ำ และอุณภูมิ โดยมีการให้อาหารผ่านเครื่องอัตโนมัติ

*ฟยอดร์ หรือ Fjord คือ อ่าวเล็ก ๆ บริเวณชายฝั่งทะเลนอร์เวย์ ถูกน้ำกัดเซาะจนเว้าแหว่งมีลักษณะแคบและยาว เว้าลึกเข้าไปในฝั่งระหว่างแผ่นดินสูงชันหรือระหว่างหน้าผาสูงชันตามเชิงเขา ฟยอร์ดเกิดจากการกัดเซาะของธารน้ำแข็ง

 

เมื่อปลาแซลมอนพร้อมจะถูกเชือด

เมื่อปลาแซลมอนโตเต็มที่ กับระยะเวลาและขนาดที่พร้อมจะถูกเชือด พวกมันจะถูกสูบออกจากกระชังตาข่ายไปสู่บ่อในเรือขนปลา และเรือจะเคลื่อนย้ายปลาไปยังสถานที่ผลิต

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การเดินทางของปลา จะต้องไม่ทำให้ปลาเครียดเนื่องจากเป็นผลเสียต่อสุขภาพของปลาและส่งผลต่อคุณภาพของปลา

 

ขั้นตอนการผลิต

ณ สถานที่ผลิต หรือ โรงงาน ปลาทุกตัวที่ถูกส่งมาที่นี่ จะถูกทำให้สลบก่อนถูกเชือด เอาเครื่องในออกและล้างอย่างสะอาดด้วยเครื่องจักรคุณภาพ  ในชนิดที่เราจะไม่มีทางได้กลิ่นคาวปลาเลยสักนิด แม้จะในโรงงาน สถานที่ขนส่ง หรือแม้แต่ในร้านขายปลา (อันนี้สัมผัสมาด้วยตัวเอง ในร้านขายปลา เมืองทรุมเซอร์ประเทศนอร์เวย์)

หลังจากปลาสะอาดและปราศจากเครื่องในแล้ว ปลาแต่ละตัวจะถูกนำไปคัดแยกตามขนาดและคุณภาพ

ปลาแต่ละขนาด  จะถูกนำไปวางเรียงในกล่องน้ำแข็ง  โดยจะมีความเข้มงวดของห่วงโซ่ของความเย็น ซึ่งจะต้องไม่ขาดตอน และจะต้องอยู่ในอุณหภูมิระดับ 4 องศาเซลเซียส ตั้งแต่โรงงาน ถึงโกดังขนส่ง ขนย้ายขึ้นเครื่องบินตลอดระยะเวลาถึงไทย ก็ต้องมีห่วงโซ่ความเย็นที่คงที่

 

ขบวนการขนส่ง

ในเวลาเพียงประมาณ 3 ชั่วโมง หลังจากที่ปลาถูกจับขึ้นทะเล ทางนอร์เวย์ก็พร้อมที่จะขนส่งปลาไปยังที่ต่างๆทั้งในประเทศนอร์เวย์และในกว่า 100 ประเทศผู้นำเข้าปลาแซลมอน ซึ่งรวมถึงไทย

 

ประเทศที่นำเข้าปลาแซลมอนจากนอร์เวย์

ประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศอันดับหนึ่งของเอเชียที่นำเข้าปลาแซลมอนจากนอร์เวย์ การนำเข้าปลาแซลมอนจากประเทศนอร์เวย์สู่ตลาดปลาในญี่ปุ่น ใช้เวลาเพียง 36 ชม.  ส่วนประเทศไทยติดอันดับสองรองจากญี่ปุ่น ปลาแซลมอนถูกขนส่งสู่ประเทศไทยจากประเทศนอร์เวย์เกือบทุกวัน และใช้เวลาจากฟาร์มจนมาถึงไทยเพียง 48 ชม. เท่านั้น

 

ปลาแซลมอนจะถูกขนส่งมายังไทยโดยเครื่องบิน (สายการบินไทยแอร์เวย์ของเรานี่แหละ)  โดยเครื่องบินจะบินจากแหล่งเพาะเลี้ยงในเมืองออสโล Oslo ประเทศนอร์เวย์สู่ร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยเพื่อแปลงเป็นซาซิมิบนจานที่ยังคงคุณภาพความสดจากฟาร์ม

 

จากประสบการณ์ที่ได้เยี่ยมชมฟาร์มปลาแซลมอนที่ฟยอร์ดกลางทะเลมหาสมุทรแอตแลนติก โรงงานการผลิต สถานที่ขนส่งที่สนามบิน ร้านขายปลา ทำให้ Marketing Oops! สามารถยืนยันได้ว่า “ปลาแซลมอน จากนอร์เวย์” คือปลาที่มีคุณภาพที่สุด มีสารอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามินโอเมก้า 3 และแร่ธาติ การปลอดสารปรสิต และคุณภาพความสดที่สุด ที่เราสามารถเลือกทานได้อร่อยอย่างมั่นใจ

เชฟดังจากร้านอาหารชื่อดัง เมืองทรุมเซอร์ นอร์เวย์
เชฟดังจากร้านอาหารชื่อดัง เมืองทรุมเซอร์ นอร์เวย์
ปลาแซลมอนสดๆ
ปลาแซลมอนสดๆ

ปัจจุบัน นอร์เวย์ถือเป็นผู้ผลิตปลาแซลมอนแอตแลนติกรายใหญ่ที่สุดของโลก โดย 70% ของการส่งออกอาหารทะเลทั้งหมดจากนอร์เวย์เป็นการส่งออกปลาแซลมอน  ในแต่ละวันมีการเสิร์ฟอาหารที่ปรุงด้วยปลาแซลมอนนอร์เวย์ถึง 14 ล้านมือทั่วโลก และนอร์เวย์ส่งออกปลาแซลมอนไปยังกว่า 100 ประเทศทั่วโลก

นายจอน อิริค สทีนสลิด (Mr. Jon Erik Steenslid) ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์
นายจอน อิริค สทีนสลิด (Mr. Jon Erik Steenslid) ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์

“แนวโน้มการบริโภคอาการเพื่อสุขภาพที่กำลังขยายตัวในประเทศไทย ส่งผลให้ปลาแซลมอนนอร์เวย์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นด้วย นอกเหนือจากคุณภาพของปลา ผู้บริโภคยังให้ความสำคัญในเรื่องประโยชน์ต่อสุขภาพ และแหล่งกำเนิดของปลาอีกด้วย  ด้วยเหตุที่ปลาแซลมอนนอร์เวย์ผ่านมาตรฐานทุกๆด้านที่ผู้บริโภคคำนึงถึง เราจึงเชื่อมั่นว่าปริมาณการบริโภคปลาแซลมอนและอาหารทะเลจากนอร์เวย์ในประเทศไทยจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งปลาแซลมอนถูกขนส่งโดยเครื่องบินจากแหล่งเพาะเลี้ยงในเมืองออสโลประเทศนอร์เวย์สู่ประเทศไทยหลายครั้งต่อสัปดาห์ และใช้เวลาไม่เกิน 48 ชั่วโมงในการขนส่งปลาแซลมอนสดเหล่านี้ไปยังภัตตาคารอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยเพื่อแปลงเป็นซาซิมิบนจาน” — นายจอน อิริค สทีนสลิด (Mr. Jon Erik Steenslid) ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ กล่าวว่า

เครื่องหมายการค้าใหม่สำหรับยุคสมัยใหม่

ในอนาคต อาหารทะเลจะทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในฐานะอาหารแห่งอนาคตของเรา  ในขณะเดียวกันผู้บริโภคต่างให้ความสนใจมากขึ้นเกี่ยวกับแหล่งที่มาของอาหารที่รับประทาน ทั้งในด้านกรรมวิธีการผลติและความยั่งยืน

Seafood from Norway โดย สภาอุตสาหกรรมอาหารเทนอร์เวย์

 

นอร์เวย์เติบโตขึ้นมาได้ด้วยธุรกิจอาหารทะเลของประเทศด้วยฝีมือแบบดั้งเดิมและความรักธรรมชาติ ทุกวันนี้นอร์เวย์มีชื่อเสียงทั่วโลกด้วยวิธีจัดการทรัพยากรทางทะเลได้อย่างยั่งยืน  เครื่องหมายการค้าใหม่ ‘Seafood from Norway’ (อาหารทะเลจากนอร์เวย์) ส่งเสริมความยั่งยืนซึ่งตั้งอยู่บนรากฐานของความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อม

เครื่องหมายการค้านี้ จะเป็นสัญลักษณ์ของแหล่งที่มาและคุณภาพของอาหารทะเลนอร์เวย์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการเพาะเลี้ยง หรือจับจากธรรมชาติในน้ำทะเลที่เย็นและใสสะอาด  เพราะสิ่งหนึ่งที่ชัดเจนก็คือแหล่งที่มามีความสำคัญ

สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) มีแผนย้ายสำนักงานระดับภูมิภาคมาตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครในปีนี้ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการบริโภคอาหารทะเลนอร์เวย์โดยเฉพาะปลาแซลมอนในประเทศไทยที่กำลังขยายตัวอย่างมากอยู่ในขณะนี้ “หนึ่งในความคิดริเริ่มที่ NSC นำมาใช้ทั่วโลก ได้ข้อมูลจากการวิจัยและความเข้าใจทางการตลาดในเชิงลึก คือการผลักดันโลโก้ ‘SEAFOOD FROM NORWAY’ ให้เป็นเครื่องหมายที่ช่วยให้ผู้บริโภคทราบถึงแหล่งที่มาของอาหารทะเลและปลาแซลมอนจากนอร์เวย์ โดยสามารถพบโลโก้นี้ได้ตามแหล่งซัพพลายเออร์ ร้านอาหาร และร้านจำหน่ายอาหารทะเลและแซลมอนตามซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ

บทความ Exclusive นี้เผยแพร่บน Marketing Oops! เป็นที่แรก
Copyright© MarketingOops.com


  • 2.5K
  •  
  •  
  •  
  •  
Tukko Nathida
ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ MarketingOops.com กับความตั้งใจในการนำเสนอเนื้อหาที่ทันเหตุการณ์ และเกิดประโยชน์ ให้สามารถนำเนื้อหาความรู้ และ Insight ไปต่อยอดกับอนาคตของธุรกิจ และการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยี ครีเอทีฟ การตลาด โฆษณา และสตาร์ทอัพ