รีวิวแคมเปญชนะรางวัล ADFEST 2014 ในสาขา Interactive, Mobile

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

ADFEST-2014-Mobile-Interactive-head

จบลงไปแล้วสำหรับการประกาศผลรางวัล ADFEST 2014 ที่จัดขึ้นที่เมืองพัทยา ประเทศไทยของเรา รางวัลที่ประกาศผลทั้งหมดนั้นมีอยู่ 17 สาขาได้แก่ INTERACTIVE, MOBILE, PRINT CRAFT, DESIGN, DIRECT, PROMO, PRESS, NEW DIRECTOR & FILM, OUTDOOR, RADIO, FILM, MEDIA, EFFECTIVE, INTEGRATED, INNOVA, LOTUS ROOTS & SPECIAL AWARD ซึ่งทาง MarketingOops! ได้หยิบเอาแคมเปญที่ชนะรางวัลในหมวด INTERACTIVE, MOBILE มารีวิวให้ดูกันอีกครั้งว่าแคมเปญที่ชนะรางวัล ADFEST 2014 นั้นมีความน่าสนใจและเหตุผลของคณะกรรมการที่ให้รางวัลกล่าวไว้ว่าอย่างไรบ้าง

รีวิวแคมเปญชนะรางวัล ADFEST 2014 ในสาขา INTERACTIVE 

ในหมวดของ INTERACTIVE นั้นรางวัลที่มอบให้ทาง ADFEST ตั้งชื่อรางวัลว่า Interactive Lotus ซึ่งในปีนี้ผลรางวัลที่ประกาศออกมาคือมีผู้ชนะรางวัลใหญ่หรือ Grande 1 รางวัล ได้รับ Gold 3 รางวัล ได้รับ Silver 11 รางวัล และได้รับ Bronze 6 รางวัลจากแคมเปญที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย 10 แคมเปญ

 The Grande: 

แคมเปญ:  ‘Sound of Honda’ for Internavi

รางวัลใหญ่ที่ได้ในสาขา Interactive Lotus นั้นปีนี้ตกเป็นของเอเจนซี่ Dentsu Inc. ประเทศญี่ปุ่น ที่ทำให้กับลูกค้า Honda Internavi ซึ่งเป็นบริการของทางค่ายรถยนต์ Honda ซึ่ง Internavi นี้คือเจ้าตัว vehicle telematics service ที่ทาง Honda นำมาใส่ไว้ในรถยนต์เพื่อให้ผู้ขับสามารถดูข้อมูลการจราจรในประเทศญี่ปุ่นได้แบบ On-demand และใช้ข้อมูลแผนที่บน Internet ในการแสดงผลบนหน้าจอของรถยนต์ซึ่ง Internavi นี้จะมีอยู่ในรถยนต์ Honda บางรุ่นเท่านั้น

Idea: ของแคมเปญ ‘Sound of Honda’

ทีมงานต้องการจำลองการแข่งขันของ Ayrton Senna ในวันที่เขาแข่ง Japanese F1 ในปี 1989 ให้ได้ชมกันอีกครั้ง ด้วยเทคโนโลยี Honda Internavi 

Execution: 

‘Sound of Honda’ เป็นแคมเปญ Branded content ที่สวยงาม อย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่า Honda Internavi นั้นเป็นระบบนำทางบนรถยนต์ที่ผสมผสานข้อมูลของตัวรถและ Internet Maps เข้าไว้ด้วยกัน ทีมงาน Dentsu จึงได้จำลองกระบวนการทำงานของระบบออกมาในรูปแบบของภาพบนถนนจริงๆโดยเลือกหยิบเอาสถานะการณ์จริงของนักแข่งรถ F1 ชาวบราซิลชื่อว่า Ayrton Senna ที่คว้าแชมป์ในสนาม Japanese F1 ที่เมือง Suzuka ในปี 1989 มาจำลองภาพให้ชมกันอีกครั้งด้วยระบบ 3D View ผ่านเทคโลโลยี WebGL โดยข้อมูลทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเสียงของรถยนต์ที่เขาใช้ ข้อมูลการขับของเขาในวันนั้นก็เป็นข้อมูลจริงๆ ไม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย โดยทีมงานเพียงแค่นำมันมาแสดงผลใหม่ในรูปแบบของการเปิดไฟไปตามเส้นทางการขับของเขาในอดีตอีกครั้ง นับว่าเป็นการทำ Branded content ที่เจ๋งๆมากๆในการจำลองเหตุการณ์จริงในอดีตให้มาแสดงผลกันใหม่อีกครั้งด้วยเทคโลโลยีของ Honda Internavi และผลที่มันออกมาก็ช่างสวยงามเสียเหลือเกินเพราะเราได้เห็นภาพดวงไฟวิ่งไปรอบๆสนามการแข่งขันเดิมที่ Ayrton Senna เคยมาขับเอาไว้ในปี 1989

WebGL เทคโนโลยีที่ทาง Dentsu นำมาใช้กับแคมเปญ Sound of Honda 

Honda-InternaviHonda-Internavi-2

ในหน้าเว็บไซต์ของ Honda ได้ทำการจำลองข้อมูลการขับรถของ Ayrton Senna  เอาไว้ด้วยเทคโนโลยี WebGL ซึ่งเราจะเห็นข้อมูลของรถยนต์ Honda ที่เขาใช้ขับในวันนั้นแสดงผลอยู่ พร้อมกับเสียงเครื่องยนต์ขณะที่เขาเร่งความเร็ว และแทรกข้อความที่เขาได้กล่าวชื่นชมกับทีม Honda และความรู้สึกในการแข่งขันในครั้งนั้นอีกด้วย สามารถเข้าไปดูการจำลองข้อมูลข้างต้นได้ที่ได้ที่เว็บไซต์ www.honda.co.jp/internavi-dots/dots-lab/senna1989/

ayrton-senna-1

Ayrton Senna วัย 34 ปี ได้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุระหว่างการแข่งขัน San Marino Grand Prix ลงในปี 1994 

 

วิดีโอแคมเปญ Sound of Honda 

httpv://www.youtube.com/watch?v=oeO2q8FzcnM

คำชมจากคณะกรรมการ ADFEST 2014

Graham Kelly ตำแหน่งประธานการตัดสินรางวัล Interactive Lotus & Mobile และเป็น Regional Executive Creative Director ที่บริษัทเอเจนซี่ Isobar Asia Pacific Limited กล่าวชื่นชมกับแคมเปญ Sound of Honda นี้ว่า

“แคมเปญนี้มีเทคนิคมากมาย จากไอเดียเริ่มต้นๆง่ายๆแต่ดำเนินการทำออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม วิธีการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี WebGL และการสร้างภาพ 3D ขึ้นมาใหม่ทำได้อย่างหลุดออกจากกรอบเดิมๆ แถมแคมเปญนี้ยังกระตุ้นอะไรบางอย่างให้คนดูไม่มีความรู้สึกน่าเบื่อหรือดูอาจจะแห้งๆไปถ้าจะบอกว่า Honda คือผู้นำเทคโนโลยี Telemetry สุดท้ายมันยังปลุกอารมณ์ของคนดูได้อีกด้วยและเราไม่เคยเห็นใครทำแคมเปญดิจิตอลอะไรแบบนี้มาก่อน”

“This campaign ticked a lot of boxes for the Jury: simple idea, excellently executed.”
“The way it weaved together disparate technologies – from recreating the engine sounds to creating a 3D view of lap using WebGL – was outstanding. This campaign also did a great job of dramatizing something that could have been quite boring and ‘dry’: Honda’s leadership in telemetry technology. Finally, it stirred emotions, which is something still relatively rare in a lot of digital work.”

3 Gold Lotuses ที่ได้รับรางวัลในสาขา INTERACTIVE นี้ได้แก่

  1. ‘Be OK’ YouTube button จากเอเจนซี่ Mercerbell (Sydney) ประเทศออสเตรเลีย ที่ทำให้กับแบรนด์ Allianz Car Insurance’s 
  2. ‘Anytime, Anywhere’ จากเอเจนซี่ George Patterson Y&R (Melbourne) ประเทศออสเตรเลีย ที่ทำให้กับลูกค้า The Royal Australian Air Force
  3.  ‘The Most Powerful Arm’ จากเอเจนซี่ Finch(Sydney)  ประเทศออสเตรเลีย ที่ทำให้กับแบรนด์ Duchenne Muscular Dystrophy.

 

รีวิวแคมเปญชนะรางวัล ADFEST 2014 ในสาขา MOBILE

แคมเปญในหมวด Mobile นี้ตัวแรกที่ได้รางวัล Gold นี้ไปคือแคมเปญการกุศลหรือ CRS ที่ไปกวาดรางวัลมาก่อนหน้านี้แล้วถึง 4 รางวัลจากได้แก่

  • Cannes Lions 2013 MOBILE – Gold ในหมวด Mobile Applications/Charities
  • Cannes Lions 2013 MOBILE – Silver ในหมวด Best Integrated Campaign Led By Mobile
  • Cannes Lions 2013 MOBILE – Silver ในหมวด Use of Technology
  • Spikes 2013 – Silver ในหมวด Outdoor

และล่าสุดกับรางวัลของ ADFEST 2014 ที่สามารถคว้า Gold มาได้นั่นคือแคมเปญ Missing Children จากเอเจนซี่ JWT Beijing ประเทศจีน

แคมเปญที่ 1:  ‘Missing Children’ 

Baby Back Home คือแอพพลิเคชั่นบนมือถือของแคมเปญ Missing Children ที่ทางเว็บไซต์ http://www.baobeihuijia.com/ จากประเทศจีนได้ทำขึ้นมาเพื่อเอาไว้ให้คนทั่วไปดาวน์โหลดแล้วถ่ายภาพเด็กเร่ร่อนในประเทศจีนหรือเด็กหายไปแล้วต้องการประกาศตามหาให้สามารถช่วยกันตรวจสอบภาพถ่ายของเด็กจากฐานข้อมูลเด็กหายของเว็บไซต์ผ่านแอพ Baby Back Home นี้ได้

Idea: ของแคมเปญ Missing Children

จาก Insight ที่ทีมงาน JWT ได้รับคือในประเทศจีนมีเด็กถูกแจ้งว่าสูญหายสูงถึง 20,000 คนในแต่ละปี แล้วจะทำอย่างไรให้คนอื่นๆช่วยกันตามหาเด็กเหล่านั้นเนื่องจากประเทศจีนเป็นประเทศที่ใหญ่มากการตามหาเด็กหายจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นทีมงานจึงคิดไอเดียการถ่ายภาพเด็กตามแหล่งต่างๆส่งขึ้นมายังเว็บไซต์ให้ตรวจสอบซึ่งสามารถทำได้โดยดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นชื่อว่า Baby Back Home ลงบนสมาร์ทโฟนเพื่อช่วยกันตามหาเด็กที่หายไป

ไอเดียหลักคือ “ช่วยกันถ่ายภาพเด็ก เพื่อช่วยเหลือเด็กที่หายไป

Execution:

ทีมงานทำการสร้างรูปปั้นขึ้นมาโดยรูปปั้นนั้นเป็นรูปปั้นคนที่แสดงอาการเศร้าโศกอยู่ ซึ่งก็คือพ่อและแม่ของเด็กที่หายไป แล้วนำไปวางตามสถานที่ต่างๆที่เป็นแหล่งชุมชนเพื่อให้คนถ่ายภาพ นั่นหมายความว่าแคมเปญนี้มีการใช้สื่อ Outdoor เข้ามาช่วยในการโปรโมทแอพพลิเคชั่น Baby Back Home หลังจากดาวน์โหลดและเปิดแอพนี้ขึ้นมาถ่ายรูปปั้นดังกล่าวอีกครั้ง ผู้ใช้ก็จะได้เห็น AR-interactive แสดงข้อมูลเด็กหายในจีนให้เห็นซึ่งเป็นการกระตุ้นให้คนช่วยกันใช้แอพนี้ในการถ่ายภาพเด็กเพื่อช่วยกันตามหานั่นเอง

Results

เพียงแค่สัปดาห์เดียวที่ปล่อยแคมเปญนี้ออกไป ก็มียอดดาวน์โหลดแอพนี้ไปกว่า 20,000 ครั้ง นั่นแปลว่ามีคนช่วยกันตามหาหรือ search volunteers ถึง 20,000 คนแล้วนั่นเอง

วิดีโอแคมเปญ Missing Children

 httpv://www.youtube.com/watch?v=j3amtofV8xg

 

แคมเปญที่ 2:  ‘Digital Lullaby’ 

แคมเปญตัวที่สองที่ได้รับรางวัล Gold เช่นเดียวกัน เป็นผลงานของเอเจนซี่ Six Inc จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทำให้กับแบรนด์ Cafca Candy 

Idea:

สร้างวิดีโอหนังสั้นเรื่องแรกของโลก ที่สามารถทำให้เด็กหยุดร้องไห้ได้ เมื่อได้ชมเพียงไม่กี่วินาที

Execution:

สร้างวิดีโอคอนเท้นต์จาก Character ของแบรนด์ Cafca Candy แล้วปล่อยออกไปยังโลกออนไลน์อย่าง Facebook, YouTube ซึ่งเป็นช่องทางการสื่อสารของแบรนด์ โดยจะโพสเนื้อหาแนะนำให้คุณแม่หยิบบนโทรศัพท์มือถือขึ้นมาแล้วเปิดวิดีโอเหล่านี้ให้ลูกดูเพียงเท่านี้ลูกก็จะหยุดร้องไห้ได้ ซึ่งในเนื้อหาวิดีโอเหล่านั้นจะประกอบไปด้วยเพลง และเสียงต่างๆ ที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาสรุปเอาไว้ว่าจะทำให้เด็กสามารถหยุดร้องไห้ได้

วิดีโอแคมเปญ Digital Lullaby

httpv://www.youtube.com/watch?v=ZfFT7pOhprU

ความเห็นของการคณะกรรมการ ADFEST 2014 กับรางวัลในหมวด MOBILE ทั้ง 2 รางวัล

ทางกรรมการแสดงความเห็นสำหรับรางวัลทั้งสองเอาไว้ว่า “เขาค่อนข้างผิดหวังกับรางวัลในสาขา Mobile ในปีนี้ไปซักหน่อย เพราะว่าในแถบเอเชียการผลิตมือถือใหม่ๆนั้นมีนวัตกรรมมาก แต่การโฆษณาบนมือถือกับยังไม่มีความโด่นเด่นมากนักกับนวัตกรรมที่มีอยู่บนมือถือต่างๆ นั้นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมปีนี้จึงไม่มีใครได้รางวัล Grande ไปเลย” – Graham Kelly กล่าว

“The quality of entries to this category was a little disappointing, to be frank. Asia is a hotbed of mobile innovation but this wasn’t really reflected in the work we saw. I believe part of the reason is that a lot of the great mobile work is being done by developers who aren’t really aware of advertising shows, and thus don’t enter. This is something I have discovered first-hand.”

 

อ่านรีวิวแคมเปญชนะรางวัล ADFEST 2014 ในหมวด Press, Film ได้ต่อ ที่นี่


  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
@veedvil
Founder veedvil.com เว็บที่จะพาคุณไปอัพเดทข้อมูลเกี่ยวกับ Technology, Gadget และ Lifestyle สนุกๆ ด้วยความที่ชื่นชอบ Social Media เลยเกิดอารมณ์อยากแชร์ให้คนอื่นได้รู้บ้าง ^__^
CLOSE
CLOSE