เด็กไทยสุดเก่ง ใช้ดาต้าวิเคราะห์วางแผนแก้ปัญหาเกษตรกรรมอาเซียน

  • 5
  •  
  •  
  •  
  •  

เด็กไทยสุดเก่ง ใช้ดาต้าวิเคราะห์วางแผนแก้ปัญหาเกษตรกรรมอาเซียนคว้าแชมป์ระดับภูมิภาค การแข่งขัน ASEAN DSE จัดโดยเอสเอพี และ มูลนิธิอาเซียน

เด็กไทยสุดเก่ง ใช้ดาต้าวิเคราะห์วางแผนแก้ปัญหาเกษตรกรรมอาเซียน
เด็กไทยสุดเก่ง ใช้ดาต้าวิเคราะห์วางแผนแก้ปัญหาเกษตรกรรมอาเซียน

ทีม Youth Forward จาก โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ ทีมมัธยมหนึ่งเดียวของการแข่งขัน โชว์ทักษะการใช้ดาต้าวางแผนแก้ปัญหาสังคม ชูโครงการมุ่งลดช่องว่างในกลุ่มคนทำงานภาคเกษตรกรรม คว้ารางวัลชนะเลิศพร้อมรับเงินรางวัลกว่า 50,000 บาท

SAP และ มูลนิธิอาเซียน ประกาศผลการแข่งขัน ASEAN Data Science Explorers (ASEAN DSE) ระดับภูมิภาค ประจำปี 2564 ทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศทั้ง 3 อันดับ ได้แก่ ทีม จาก โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ ประเทศไทย, ทีม จากสถาบันเทคโนโลยีคีรีรมย์ ประเทศกัมพูชา และ ทีม จาก มหาวิทยาลัยซันเวย์ ประเทศมาเลเซีย โดยการแข่งขันครั้งนี้จัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์

ผู้ชนะเลิศทั้ง 3 ทีม แสดงความสามารถได้อย่างโดดเด่นในทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและใช้ดาต้าขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาสังคม ซึ่งสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals–SDGs) เน้นถึงประเด็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศและสร้างความยั่งยืน

ทีม Youth Forward ประกอบด้วย นางสาวรดา ประไพกรเกียรติ และ นางสาวกัญจรีย์ ศุภวิทยา จาก โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ ประเทศไทย เป็นทีมผู้ชนะเลิศอันดับที่ 1 การนำเสนอของทีมนี้มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มขีดความสามารถของการทำเกษตรกรรม มุ่งลดช่องว่างในกลุ่มคนทำงานภาคเกษตรกรรม ผ่านการส่งเสริมองค์ความรู้และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลในกลุ่มเกษตรกร วางรากฐานสู่อนาคตที่ยั่งยืนของประชาคมอาเซียน ตอบสนอง 3 เป้าหมายของ SDGs ได้แก่ SDG 2 – ขจัดความหิวโหย (Zero Hunger), SDG 4 – การศึกษาที่มีคุณภาพ (Quality Education) และ SDG 8 – การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (Decent Work and Economic Growth)

 

“พวกเรารู้สึกตื่นเต้น และ เป็นเกียรติอย่างมากที่ชนะการแข่งขัน ASEAN DSE ระดับภูมิภาคค่ะ เราไม่ได้คาดหวังมาก่อนเลยว่าจะได้รับรางวัล การแข่งขันครั้งนี้เป็นสิ่งที่น่าจดจำและมีคุณค่าสำหรับพวกเรามากค่ะ เราได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ มากมายที่หาไม่ได้จากในห้องเรียน จากข้อมูลที่เราวิเคราะห์พบว่าปัญหาหลักของภาคเกษตรกรรมเป็นเรื่องรายได้ของเกษตรกรในอาเซียน นอกจากจะได้รับค่าตอบแทนในอัตราที่น้อยแล้ว ยังขาดองค์ความรู้ที่จะนำมาใช้ต่อรองกับพ่อค้าคนกลาง นำมาสู่ข้อเสนอแนะของเราในการแก้ปัญหา 2 ด้าน คือ 1. สร้างแอปพลิเคชันให้เกษตรกรติดต่อกับผู้บริโภคโดยตรง และ 2. วางแผนสนับสนุนด้านการศึกษาให้แก่กลุ่มเกษตรกรแบบครบวงจร”

 

“เราอยากเป็นตัวแทนฝากข้อความถึงเยาวชนไทยและเยาวชนทั่วอาเซียนว่า จงกล้าที่จะลุกขึ้นมาและลงมือทำ อยากให้เพื่อนๆ มาเข้าร่วมการแข่งขัน ASEAN DSE ร่วมกันเป็นกระบอกเสียงสะท้อนปัญหาสังคมด้านต่างๆ ให้ทุกคนได้รับรู้ แล้วเสียงของพวกเราจะดังขึ้นอย่างแน่นอน เราพร้อมจุดประกายและสร้างพลังตามคำขวัญของอาเซียนที่ว่า เติบโตไปด้วยกันในฐานะประชาคมอาเซียน ประสานรวมเป็นหนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ และเปลี่ยนแปลงอนาคตของอาเซียนให้เติบโตอย่างยั่งยืน”

— ทีม Youth Forward

ทีม Team Sprinkle ประกอบด้วย นางสาว Chakriya Suy และ นางสาว Serei Neath Reasey จาก สถาบันเทคโนโลยีคีรีรมย์ ประเทศกัมพูชา คว้าตำแหน่งรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้นำเสนอไอเดียศูนย์รีไซเคิล เพื่อเป็นโซลูชั่นสำหรับการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ครอบคลุมเป้าหมายของ SDGs ได้แก่ SDG 8 – การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (Decent Work and Economic Growth) และ SDG 11 – เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน (Sustainable Cities and Communities)

ทีม Brain Drain ประกอบด้วย นาย Ryan Kok Lam Liew และ นางสาว Jia Hui Ng จาก มหาวิทยาลัยซันเวย์ ประเทศมาเลเซีย ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 เลือกหัวข้อที่เกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญของขยะอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งครอบคลุมในส่วนของ SDG 12 – การบริโภคและการผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Consumption and Production)

นางสาวเวเรน่า เซียว ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการของ เอสเอพี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “การแข่งขัน ASEAN DSE ถือเป็นการวางรากฐานทักษะด้านดิจิทัลที่สร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นให้เยาวชนทั่วอาเซียนรับมือกับความท้าทายและใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยี เข้ามาช่วยแก้ปัญหาทางสังคม บ่มเพาะความรู้ทางดิจิทัลด้วยการเสริมทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลให้แก่เยาวชนและคณาจารย์ ขยายโอกาสไปสู่กลุ่มเยาวชนผู้เปี่ยมไปด้วยศักยภาพของแต่ละประเทศ เพื่อสร้างบุคลากรแห่งอนาคต และด้วยความร่วมมือของเอสเอพี กับ มูลนิธิอาเซียน เรามุ่งหวังที่จะเพิ่มขีดความสามารถของประชาคมอาเซียนที่มีความหลากหลาย ผลักดันการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของโลก สรรค์สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ยั่งยืน”

ดร. หยาง มี เอ็ง กรรมการบริหารของมูลนิธิอาเซียน กล่าวว่า “มูลนิธิอาเซียน และ เอสเอพี ต้องการที่จะขับเคลื่อนศักยภาพของเยาวชนในภูมิภาคให้พร้อมสำหรับอนาคต ด้วยการเติมทักษะสำคัญแห่งศตวรรษที่ 21 ภายใต้ธีมหลักของการเป็นประธานอาเซียนของบรูไน ในปี 2564 ‘We Care, We Prepare, We Prosper’ โครงการนี้ยังช่วยให้เยาวชนตระหนักถึงความท้าทายที่คนทั่วทั้งภูมิภาคต้องเผชิญและเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้นไปด้วยกัน พร้อมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมต่อประชาคมอาเซียน เราหวังว่า ความร่วมมือระหว่าง มูลนิธิอาเซียน และ เอสเอพี จะสามารถสร้างแนวทางให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในอนาคต เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคนรุ่นต่อไปของเรา”

การแข่งขัน ASEAN DSE ระดับภูมิภาค ประจำปี 2564 มีการถ่ายทอดสดผ่านช่องทาง Facebook ของมูลนิธิอาเซียน โดยมีผู้เข้าชมมากกว่า 2,200 คน สามารถรับชมวิดีโอถ่ายทอดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศย้อนหลังได้ทางลิ้งก์นี้ bit.ly/regionalfinal2021


  • 5
  •  
  •  
  •  
  •  
CLOSE
CLOSE