Checklist 7 พฤติกรรมที่ ‘ไม่ควรทำ’ ในตอนเช้า เพราะนอกจากเสียเวลา ยังไม่เฮลตี้ด้วย!

  • 1.2K
  •  
  •  
  •  
  •  

 

เชื่อมั้ยว่าพฤติกรรมของคนในยุคนี้มีพฤติกรรมสะสมกันแบบผิดๆ อยู่หลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องง่ายๆ อย่างพฤติกรรมในตอนเช้าที่ยังทำเป็นกิจวัตรประจำวัน ทั้งๆ ที่รู้ว่ามันผิด หรือบางคนก็อาจจะไม่รู้จริงๆ ว่ามันไม่ควรทำ และมันไม่เฮลตี้เอาซะเลย

ไหนๆ ก็เริ่มต้นปีใหม่กันแล้ว ทุกคนต่างก็มี new year’s resolutions ลิสต์กันไม่รู้กี่ข้อว่าปีนี้เราควรเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง หรือมีสิ่งไหนบ้างที่เราต้องทำ ดังนั้น เราจึงอยากจะมาแชร์ 7 พฤติกรรมที่ ไม่ควรทำ’ ในตอนเช้า ซึ่งถือว่าเป็นวิธีง่ายๆ และเป็นการเริ่มต้นวันใหม่ที่ดูเฮลตี้มากกว่า

อย่างที่ ‘ริชาร์ด เตลี’ (Richard Whately) นักปรัชญาชาวอังกฤษ เคยพูดเอาไว้ว่า

“เวลาที่อันตรายที่สุด คือ ตอนเช้า ถ้าคุณเสียเวลาไป 1 ชั่วโมงในตอนเช้า มันอาจทำให้เวลาทั้งวันของคุณ(ที่เหลือ) หมดไปแบบเปล่าประโยชน์ เพราะคุณต้องใช้เวลาเพื่อค้นหาสิ่งที่จะทำต่อไปทั้งวัน”

เราลองมาขยายความกันดูหน่อยว่ามันเป็นอย่างไร ทำไมคุณถึงไม่ควรเสียเวลา หมดไปเป็นวันๆ โดยที่ไม่ได้ใช้พลังงานอย่างเต็มที่ ตั้งแต่ตอนเช้าที่ตื่นนอน

 

วางแผนรายวัน (Planning Your Day)

ทุกคนรู้ว่าการแพลนสิ่งที่จะทำในแต่ละวันเป็นสูตรการใช้ชีวิตที่ดีมาก แต่บางคนอาจจะไม่รู้ว่า ‘planning’ คือสิ่งที่ต้องเกิดขึ้น ก่อนเวลาเข้านอน ไม่ใช่วางแผนในตอนเช้า ซึ่งยังมีหลายๆ คนเข้าใจผิด หรือเลือกที่จะทำแพลนนิ่งเดย์ในช่วงเช้าของแต่ละวัน

มีนักจิตวิทยาพูดว่า ช่วงเวลาที่มีค่ามากที่สุดของแต่ละวัน คือ ตอนเช้า ดังนั้นช่วงเช้าเป็นเวลาที่เราควรดื่มด่ำไปกับสิ่งดีๆ ที่ช่วยเพิ่มพลังชีวิตได้ ไม่ใช่จมอยู่กับแพลนรายวัน

อย่างน้อยๆ การที่เราวางแผนสิ่งที่จะทำให้เสร็จตั้งแต่ก่อนเข้านอน มันเป็นการจัดระเบียบชีวิตได้เต็มที่ เพราะเราจะสามารถโฟกัสแพลนที่วางไว้โดยไม่สะดุด

ลำดับที่ถูกต้องก็คือ แพลนของเราในแต่ละวันจะเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ที่เราตื่นนอน เมื่อมีสิ่งที่จะทำเป็นรูปธรรมชัดเจน จะช่วยให้การใช้ชีวิตชัดเจนตามไปด้วย อย่างน้อยๆ เวลาที่เราพักทานอาหารกลางวันเราจะรู้ว่าควรใช้เวลาจริงๆ เท่าไหร่ รวมการงีบหลับระหว่างวันเพื่อเฟรชสมองและพลังงาน ต้องใช้เวลาเท่าไหร่ เป็นต้น

ส่วนทริคเล็กๆ น้อยๆ สำหรับการแพลนนิ่งเดย์ เราต้องเรียงลำดับความสำคัญของสิ่งที่จะทำให้ได้ และกำหนดการงานสำคัญต่อวัน ไม่ควรเกิน 2-3 งานเท่านั้น! เพราะเราจะไม่รู้สึก overload จนไม่อยากทำเช็คลิสต์ต่อไป

 

เริ่มต้นด้วยการบ่น (Complaining)

บ่อยครั้งที่คนเราตื่นขึ้นมาแล้วเริ่มต้นด้วยการ ‘บ่น’ หรือแม้แต่เริ่มบทสนทนา topic เรื่องลบๆ ทำให้เรามีความคิดแบบลบตั้งแต่เช้า หรือจิตใจขุ่นหมองไม่แฮปปี้ ซึ่งบางทีเราก็อาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำไป เช่น พูดเรื่องการเมือง, สภาพอากาศ หรือ ตารางงานที่รออยู่ในวันนั้น เป็นต้น

จริงๆ แล้วตามศาสตร์ของหลักจิตวิทยา รู้หรือไม่ว่าถ้าเราเริ่มต้นความคิดแบบเชิงลบ หรือบ่นพึมพำเรื่องทั่วไปไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ จะส่งผลต่อสภาวะอารมณ์ในช่วงเวลาที่เหลือให้เรารู้สึกไม่สดชื่น, รู้สึกท้อง่าย หรืออารมณ์เสียไปอีกหลายชั่วโม หรืออาจจะตลอดทั้งวัน

นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมหลังจากตื่นนอน การจดจ่อหรือเพ่งไปที่ ‘สิ่งดีๆ feel good’ จึงควรเป็นสิ่งแรกที่เราสัมผัสได้ เช่น ฟังเพลงโปรดจังหวะเบาๆ ดีต่อใจ หรือ คุยกับในครอบครัวด้วยคำพูดหวานๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจ และ reset สภาพจิตใจให้เป็นบวกในวันเริ่มต้น

และที่สำคัญที่นักจิตวิทยาหลายคนแนะนำ และมัน work ก็คือ ใช้วิธีจดบันทึกเขียนลงในสมุดเล่มเล็กๆ เพื่อ ‘ขอบคุณตัวเอง’ ในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น ขอบคุณที่ให้ฉันมีสุขภาพที่ดี, ขอบคุณวันที่ฟ้าสดใส อากาศดี เป็นต้น อาจจะเป็นวิธีที่ไม่คุ้นเคยกับหลายคนนัก แต่จุดเริ่มต้นเล็กๆ นี่จะสร้างเราใน version ที่สามารถพูดขอบคุณใครแบบธรรมชาติ โดยที่ไม่รู้สึกเขิน

 

กดปิดเสียงนาฬิกาปลุก (Hitting the Snooze Button)

ข้อนี้สำคัญมาก เราต้องหยุดโกงเวลาตื่นนอน! แอบต่อเวลานอนต่ออีกนิด 5 นาที 10 นาที เป็นการบ่มเพาะนิสัย ‘ขี้เกียจ’ โดยไม่รู้ตัว ดังนั้น สิ่งที่ต้องพยายามก็คือ ลุกจากที่นอนทันทีที่นาฬิกาปลุกดังขึ้น (เลือกบิดขี้เกียจตอนที่ลุกดีกว่าบนเตียง)

ความจริงคือ การนอนต่อ งีบต่อ จะลดประสิทธิภาพของสมองและความ active ของเราเอง แทนที่จะรู้สึก fresh รู้สึกมีพลังพร้อมทำงาน

 

ตรงดิ่งไปทำงาน (Getting Straight to Work)

ที่จริงก็ต่อเนื่องมาจากพฤติกรรมที่ชอบโกงเวลาของีบต่ออีกหน่อย ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำก็คือ ทำยังไงก็ได้ให้เราลุกจากที่นอนแล้วทำตามกิจวัตรประจำวันให้ตรงเวลา ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ อาบน้ำ ทานอาหารเช้า ฯลฯ โดยในข้อนี้เราจำเป็นต้องบริหารเวลาให้ถูกต้อง ไม่ใช้เวลาไปกับขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งนานๆ

อย่างบางคนที่ตื่นเช้าตรงเวลาไม่นอนต่อก็จริง ก็ใช้เวลาไปกับการอาบน้ำ หรือ ทานอาหารนานเกินไป สุดท้ายก็ไปทำงาน/เรียนสายอยู่ดี เป็นต้น นักจิตวิทยาพูดว่า ถ้าเราใช้เวลาไปกับขั้นตอนต่างๆ ตามความเป็นจริง (ไม่เร็ว-ไม่นานเกินไป) สามารถช่วยเรื่องความ active ของร่างกายได้

 

ตัดสินใจหลายๆ อย่างพร้อมกัน (Making Too Many Decisions)

เวลาที่เราตื่นนอนมาตอนเช้าๆ สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเราก็คือ การทำให้สมองโล่งปลอดโปร่งมากที่สุด ไม่ควรพาตัวเองไปอยู่ในจุดที่ต้อง ตัดสินใจหลายอย่าง ในเวลาเดียวกัน ซึ่งการตัดสินใจที่พูดถึงนี้ไม่ได้หมายถึงเรื่องใหญ่ๆ เท่านั้น แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น วันนี้ใส่ชุดอะไรไปทำงาน, มื้อเช้าทานอะไรดี, เดินทางไปทำงานยังไงให้ทันเวลา, วันนี้นัดเจอแฟน/เพื่อนกี่โมง เป็นต้น ก็เป็นเรื่องน่าปวดหัวสำหรับเช้านี้ด้วยเช่นกัน

ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำคือ ลดความยุ่งเหยิงที่ยกตัวอย่างมานี้ให้มากที่สุด เลือกชุดใส่ไปทำงานตั้งแต่ก่อนเข้านอน, เตรียมมื้อเช้าไว้ล่วงหน้า ฯลฯ ทำให้มีเวลากับตัวเองมากขึ้นในช่วงเช้า เพื่อทบทวนแพลนงานที่วางไว้ตั้งแต่เมื่อคืน หรือฟังเพลงโปรดได้มากขึ้น และจิตใจก็เบาตามไปด้วย

 

หยิบมือถือดูโซเชียลมีเดีย (Distracting Yourself Through Social Media)

พฤติกรรมในข้อนี้น่าจะเป็นพฤติกรรมยอดนิยมมากที่สุดของคนในยุคนี้ ยุคที่ทุกอย่างเคลื่อนไหวไปกับโซเชียลมีเดีย hot issue ต่างๆ อยู่ใกล้ตัวมากขึ้นทุกที เสิร์ฟประเด็นให้ถึงที่บนที่นอนในตอนเช้า และเราก็เลือกสไลด์หน้าจอดูข่าวสาร, อีเมล์, ท่องโลกโซเชียลมีเดีย หลังจากที่ลืมตาขึ้นมาไม่ถึง 2 วินาที

จริงอยู่ว่าเราจะกลายเป็นคนที่ไม่ตกกระแส รู้ความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา แต่รู้หรือไม่ว่าพฤติกรรมนี้มันไม่เฮลตี้ ก็ในเมื่อทุกอย่างทุกข้อมูลมันอยู่ในมือถือเราทั้งหมด แต่เราไม่จำเป็นต้องเปิดอ่านทันทีที่ตื่นนอนตอนเช้า

“การท่องโลกอินเทอร์เน็ตอย่างไม่มีสติ (อย่างตอนที่งัวเงียในตอนเช้า) จะทำเราเสียพลังงาน และหมดเวลาไปมากกว่าที่เราคิด”

ดังนั้น ถ้าหลีกเลี่ยงได้ก็ครเลี่ยง แต่! ถ้างานของเราจำเป็นต้องเช็คมือถือกันตั้งแต่เช้า หรือมันอดใจไม่ไหวจริงๆ สิ่งที่ต้องทำก็คือ เลิกเสพ feed ข่าว, ข้อมูล, บทความที่เป็นบวกเท่านั้น อย่างน้อยๆ คุณน่าจะ favorite เพจแรงบันดาลใจ หรือแง่คิดดีๆ สั้นๆ ให้เลื่อนอ่านได้ในตอนเช้า

แต่ทางเลือกที่ดีที่สุด คือ ‘การฟัง’ อาจจะเป็น podcasts เนื้อหา positive, หรือฟังวิดีโอที่น่าสนใจให้พลังงานกับเรา

 

โดฟน้ำตาลตั้งแต่เช้า (Loading Your Body with Sugar)

สำหรับคนที่ติดกาแฟเย็น หรือน้ำหวานเย็นๆตั้งแต่เช้ามื้อแรกของวัน ต้องบอกว่า คุณกำลังทำผิด! สะสมพฤติกรรมที่ไม่เฮลตี้ให้เป็นนิสัย อ้างอิงจากหนังสือ ‘12 Rules for Life’ เขียนโดย จอร์แดน ปีเตอร์สัน (Jordan Peterson) นักจิตวิทยาชาวแคนาดา

เขาได้เล่าเรื่องถึงพฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลงของตัวเอง จากที่โดฟน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตหนักในมื้อเช้าของวัน โดยเฉพาะซีเรียล และแซนวิชของโปรดของเขา เปลี่ยนมาเป็นทานอาหารที่มีไขมันและโปรตีนสูงแทน เพราะจะย่อยได้เร็วกว่า ส่วนน้ำตาลจะสลายได้ช้า ทำให้เกิดความเสี่ยงเป็นโรคน้ำตาลในเลือดสูงเพราะเราทานตั้งแต่เช้าสะสมไปจนถึงตอนเย็น

เห็นจากพฤติกรรมเหล่านี้ พอจะดูคุ้นๆ ตาจากคนรอบตัว หรือบางทีอาจจะตัวเราเองก็ได้ที่ทำเหมือนกัน ดังนั้น ต้องรีบเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เร็วเพราะการลงทุนที่ราคาแพงที่สุดคือ ร่างกายเราเอง (สุขภาพ) ส่วนจิตใจเป็นอย่างที่นักเขียนชื่อดังในสหรัฐอเมริกา ‘แดเนียล แฮนด์เลอร์’ (Daniel Handler) เคยพูดไว้ว่า “พฤติกรรมของเราในตอนเช้าจะบอกได้ว่าวันนี้ทั้งวันจะเป็นแบบไหน อารมณ์ประมาณไหน” นั่นก็หมายความว่า เราอยากให้วันของเรา ชีวิตของเราเป็นแบบไหน คำตอบแรกสุดก็คือ พฤติกรรมในตอนเช้าของคุณเองนั่นแหละ เป็นสิ่งกำหนดชีวิตของคุณเอง

 

 

 

ที่มา: medium


  • 1.2K
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม