How to เป็นนักช้อปที่ smarter ควรรู้จัก 5 แอปพลิเคชั่นที่ช่วยให้การใช้จ่ายดูฉลาดขึ้น

  • 2
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ใกล้ช่วงเทศกาลขึ้นมาทุกที ไม่ว่าจะวันลอยกระทง, วันคริสต์มาส และวันขึ้นปีใหม่ ที่นับว่าเป็นวันใช้จ่ายใหญ่แห่งปีอีกหนึ่งเทศกาล นอกจากที่เหล่านักช้อปต้องเตรียมพร้อมด้านการเงินแล้ว บทความนี้จะมาบอกต่อว่า 5 แอปพลิเคชั่นที่น่าสนใจของต่างประเทศ จะช่วยให้การช้อปปิ้งของเรามันดู smart ได้อย่างไรบ้าง

แต่ต้องบอกไว้ก่อนว่าบางแอปฯ อาจจะยังไม่พร้อมให้ดาวน์โหลดในประเทศไทย แต่เชื่อว่าบทความนี้จะเป็นไอเดียให้กับธุรกิจนักพัฒนาด้านแอปพลิเคชั่นในอนาคตได้ เพราะอะไร? เราไปดูกันเลยว่า 5 แอปฯ ตัวอย่างมีอะไรบ้าง

 

  • Afterpay

บริการแอปฯ Afterpay ของบริษัทในออสเตรเลีย เป็นอีกหนึ่งแอปฯ ที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายในหลายประเทศ ความน่าสนใจขงแอปฯ นี้ก็คือ นักช้อปสามารถแบ่งจ่ายการซื้อของแต่ละครั้งได้ ทั้ง 4 ครั้งด้วยกันโดยไม่มีดอกเบี้ย ภายใน 6 สัปดาห์ที่ทำการซื้อสินค้า

ประโยชน์ของบริการเสริมนี้ก็คือ บางอาทิตย์หรือบางเดือนเราคงอยากจะเก็บโควต้ายอดวงเงินในบัตรเครดิต/บัตรเดบิต แทนที่จะจ่ายหมดทีเดียว แต่ก็กังวลเรื่องดอกเบี้ย ดังนั้น กลุ่มคนที่ใช้บริการเสริมนี้มากที่สุดตามข้อมูลของ Afterpay ก็คือ กลุ่มวัยเรียนและวัยที่เพิ่มเริ่มทำงาน

ทั้งนี้แอปฯ After สามารถดาวน์โหลดได้จาก Apple Wallet, Google Pay และ Samsung Pay ในปัจจุบัน

 

Credit: Afterpay

 

 

  • Capital One Shopping

ใครเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้บ้าง ไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์เราเห็นว่ามีสินค้ากำลังลดราคาอยู่ แต่สินค้านั้นเราซื้อไปแล้วในราคาเต็มก่อนหน้านี้ บอกได้เลยว่าความรู้สึกมันแย่มาก

ดังนั้นบริการ Capital One Shopping หรือในชื่อเดิมก็คือ Paribus ซึ่งเป็นเครื่องมือบน free browser เพื่อให้ลูกค้าสามารถเจรจาต่อรองร้านค้าได้เพื่อรับเงินส่วนต่างคืน (เฉพาะกรณีที่ร้านค้าเข้าร่วม/ยินยอมเท่านั้น)

ง่ายๆ เลยอย่างเช่น หลังจาก 2 สัปดาห์ที่เราซื้อของ เราเห็นสินค้านั้นที่เพิ่งซื้อมาในราคาเต็มลดราคา เราสามารถติดต่อเพื่อใช้ใบเสร็จซื้อของชิ้นนั้นกับร้านค้าเพื่อรับเงินส่วนต่างที่เหลือ (หลังจากลดราคาลง) หรืออาจจะเป็นคูปองอื่นได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับร้านค้าและดีลที่เราเจรจาไว้

 

 

  • Truebill

โซลูชั่นจัดการทางการเงินที่ค่อนข้างครบถ้วนและฟรี โดยแอปฯ Truebill จะซิงค์ข้อมูลกับบัชีการเงินของผู้ใช้ โดยจะช่วยเราติดตามบริการรับข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะ ซึ่งบางบริการเสียเงินโดยไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ ซึ่ง Truebill จะช่วยยกเลิกบริการให้เราหากเห็นว่าบริการนั้นๆ ไม่มี interaction จากเรา

หรือหากระบบอัตโนมัติไม่สามารถยกเลิกได้ เราจะได้รับลิงก์ทางโทรศัพท์และอีเมล พร้อมคำแนะนำวิธีการยกเลิกด้วยตนเอง

อย่างไรก็ตาม แอปฯ Truebill ไม่ได้ฟรีทุกฟีเจอร์ โดยผู้ที่ต้องการใช้ฟีเจอร์การเจรจาเรียกเก็บเงิน เช่น ค่าไฟที่ลืมจ่ายหลายเดือนและเขาจะต้องตัดไฟ หรือค่าประกัดที่ไม่ได้จ่ายมาหลายงวดติดต่อ ซึ่ง Truebill สามารถช่วยเจรจาให้ได้แต่มีค่าใช้จ่าย (แต่จะเสียเงินต่อเมื่อเราใช้บริการนี้เท่านั้น)

 

Credit: Truebill

 

 

  • Acorns

แอปฯ Acorns ถือว่าเป็นแอปฯ การลงทุนอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ ลองคิดภาพดูสมมุติว่าเรากำลังซื้อกาแฟจากร้านหนึ่งในราคา 3.06 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 117.43 บาท) เราจะเห็นว่าเศษที่เหลือ 0.40 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 13.05 บาท) เราสามารถปัดเศษเงินนั้นเข้าบัญชีออมทรัพย์ได้ต่อไป

โดยแอปฯ นี้จะผูกข้อมูลกับบัตรของเราไม่ว่าจะบัตรเครดิตหรือเดบิตก็ตาม โดยเราสามารถปัดเศษเงินเข้าบัญชีได้ทุกครั้งที่ซื้อ อย่างที่เขาบอกกันว่า “แม้จะเป็นเงินเล็กน้อยแต่ก็มีค่าเสมอ” เพราะนักธุรกิจหลายคน หนึ่งในนั้นก็คือ วอร์เรน บัฟเฟตต์ เจ้าพ่อนักธุรกิจและนักลงทุนใจบุญที่เรารู้จักกันดี เก็บออมแบบนี้จนวันหนึ่งไปรวมกับเงินก้อนใหญ่ที่หามาได้เพื่อไปลงทุนต่อนั้นเอง

Credit: Acorns

 

 

  • Splitwise

ทริปเที่ยวต้องมายิ่งใกล้ช่วงเทศกาลแบบนี้ หรือแม้แต่การฉลอง ปาร์ตี้กับเพื่อนๆ ต้องมีแน่ๆ ซึ่งโซลูชันนี้น่าสนใจเพราะจะเป็นตัวช่วยในการจำและแบ่งค่าใช้จ่ายร่วมกับผู้อื่น อธิบายก็คือ แอปฯ Splitwise จะช่วยติดตามค่าใช้จ่ายทั้งหมด (หลังจากหารกับเพื่อน) และกำหนดคืนเงินคร่าวๆ ให้เรา

จากให้ระหว่างทริปสนุกโดยไม่ต้องมากังวลเรื่องค่าใช้จ่าย บางทีเราก็ต้องมีตัวช่วยหารค่าใช้จ่ายให้เราอัตโนมัติ อย่างน้อยๆ เราก็สามารถประเมินยอดใช้จ่ายของเราได้เพื่อไม่ให้มันมากเกินจำเป็น

ทั้งนี้ ทั้ง 5 แอปฯ ตัวช่วยการบริหารเงินของเราดูแล้วน่าสนใจทีเดียว ซึ่งยังมีแอปฯ และแพลตฟอร์มอื่นอีกมาที่คล้ายๆ กัน เราคงต้องศึกษาวิธีใช้ดูว่าตัวช่วยไหนที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์มากที่สุด

 

 

 

ที่มา: fastcompany


  • 2
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม