(สรุป) งานวิจัยชี้ ‘หน้ากากยอดเยี่ยม – ยอดแย่’ เลือกใส่แบบไหนช่วยป้องกัน COVID-19

  • 734
  •  
  •  
  •  
  •  

www.businessinsider.com

 

เวลาผ่านไปล่วงเลยกว่า 10 เดือนที่มีการระบาดของไวรัส COVID-19 นับตั้งแต่เดือน ธ.ค. ที่มีการระบาดใหญ่ในเมืองอู่ฮั่นของจีนเป็นที่แรก มีสิ่งหนึ่งที่ยังสร้างความงงงวยให้กับผู้คนว่า แบบไหนดีหรือไม่ดี ก็คือ ‘หน้ากาก’ นอกเหนือจากหน้ากากอนามัยที่ใช้ในทางการแพทย์ ยังมีหน้ากากมีหลากหลายแบบที่ผลิตออกมา หรือมีอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งก็เกิดเป็นข้อถกเถียงกันอยู่สักพักใหญ่เหมือนกันเกี่ยวกับเรื่องนี้

ที่จริงมีเกร็ดคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ ที่ถูกเผยแพร่กันอย่างต่อเนื่องในสื่อโซเชียล วิธีการเช็คคุณภาพของหน้ากากด้วยการ ‘เป่าเทียน’ ถ้าไฟไม่ดับ = คุณภาพดีช่วยป้องกันได้

แต่มันอาจจะง่ายกว่านี้ แค่อ่านสรุปที่เรานำมาฝากจากงานวิจัยหลายแห่ง เช่น Democritus University of Thrace (D.U.Th), University of Chicago, Duke University, Journal of Hospital Infection เป็นต้น สำหรับหัวข้อเรื่อง ‘หน้ากากที่ดีที่สุด-แย่ที่สุดในการป้องกัน’ ซึ่งจะมีหลายปัจจัยตั้งแต่ การออกแบบ (ช่วยปกปิดใบหน้า) จนถึงเนื้อผ้าที่ใช้ทำหน้ากาก และวัสดุเส้นใยด้ายที่ใช้ เป็นต้น

 

Yuqing Liu/Business Insider

 

‘หน้ากากไฮบริด’ เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีที่สุด คุณภาพช่วยป้องกันพอๆ กับหน้ากาก N95 และ หน้ากากอนามัยที่ใช้ในการแพทย์ เหตุผลก็เพราะว่า ลักษณะการทอหน้ากากค่อนข้างละเอียด แน่น และจำนวนเส้นด้ายมีมากกว่าจึงช่วยกรองอนุภาคที่มีขนาดเล็กได้ดีกว่า ที่สำคัญหน้ากากไฮบริดส่วนใหญ่ ‘มีมากกว่า 1 ชั้น’ สามารถป้องกันละอองลอยขนาดเล็กได้ถึง 94%

โดยหน้ากากไฮบริดใช้ผ้าฝ้ายในการทดกว่า 600 เส้นจำนวน 2 ชั้น ซึ่งหมายความว่า มันหนาแน่นพอที่จะช่วยยับยั้งอนุภาคขนาดเล็กเล็ดลอดผ่านเข้ามาได้

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แนะนำให้ใช้หน้ากากผ้ามี 3 ชั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกรองเชื้อโรคและแบคทีเรีย

 

www.thailandmedical.news

 

สำหรับหน้ากากที่ช่วยป้องกันได้มากที่สุด คือ หน้ากาก N95 เพราะแนบแน่นไปกับใบหน้า ปิดทั้งจมูกและปากได้ดี มีประสิทธิภาพในการป้องกันอนุภาคขนาดเล็กที่ลอยฟุ้งในอากาศได้ถึง 95% ส่วนหน้ากากที่ใช้ในการแพทย์ ช่วยป้องกันละอองลอยขนาดเล็กได้สูง 89.5%

ในขณะที่ ‘หน้ากากผ้า cotton’ ที่เราพบเห็นกันโดยทั่วไปจำนวนมาก นิตยสารทางการแพทย์ Journal of Hospital Infection ได้ระบุว่า ส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพช่วยป้องกันฝุ่นละอองขนาดใหญ่ทั่วๆ ไป มีคุณภาพระบายอากาศได้ดี นั่นหมายความว่า อนุภาคขนาดเล็กก็ง่ายต่อการเข้ามาข้างในด้วยเช่นกัน โดยป้องกันเชื้อโรคและแบคทีเรียขนาดเล็กได้เพียง 51% เท่านั้น

พอๆ กับ ‘หน้ากากทอผ้าไหมธรรมชาติ’ ที่มีประสิทธิภาพป้องกันเชื้อโรคขนาดเล็กได้เพียง 54% เท่านั้น ขณะที่เชื้อโรคขนาดใหญ่กว่าก็ช่วยป้องกันได้เพียง 56% ซึ่งอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น พูดได้ว่าหน้ากากที่เป็นผ้าไหมธรรมชาติ ใส่เพื่อเป็นเชิงแฟชั่นน่าจะดีกว่า

ในงานวิจัยย้ำด้วยว่า หน้ากากที่เป็นผ้าพันคอ ‘ไม่ได้ช่วยป้องกัน’ หรือช่วยป้องกันในระดับที่ต่ำ ทั้งเชื้อไวรัสขนาดใหญ่และอนุภาคขนาดเล็ก ป้องกันต่ำกว่า 50% ทั้ง 2 ประเภท ดังนั้น สายแฟชั่นที่ชื่นชอบการใส่หน้ากากแบบนี้ที่ปกคลุมถึงคอ ในยุค COVID-19 อาจต้องโบกมือลาแฟชั่นนี้ safety first ป้องกันตัวเองก่อนนะ

 

www.rollingstone.com

 

 

 

ที่มา : businessinsider

 

 


  • 734
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม