เรียนรู้ 4 ทริคก่อนจะเริ่มวางแผนกลยุทธ์ด้าน ‘content’ ปี 2021 กระตุ้นการรับรู้ – เข้าใจดีมานด์ผู้บริโภค

  • 281
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ผ่านไปแล้วกว่าครึ่งเดือน ม.ค. ของปี 2021 แต่หลายๆ บริษัทและแบรนด์ต่างๆ ยังจำเป็นต้องวางกลยุทธ์ในด้านต่างๆ ทั้งระยะสั้น และระยะยาวประมาณ 1-2 แผน เพราะสถานการณ์ COVID-19 ที่ทำให้ทุกอย่างยังอยู่ภายใต้ความไม่แน่นอน และยังหาคำตอบไม่ได้ว่าทุกอย่างจะกลับมาฟื้นตัวในภาวะปกติได้เมื่อไหร่

ขณะที่ภาคอุตสากรรม, ธุรกิจค้าปลีก หรือแม้แต่ระบบโรงเรียน ยังต้องเปลี่ยนแปลง เพราะได้รับผลกระทบหนักจากวิกฤติครั้งนี้ อย่างไรก็ตามเนื้อหาด้านคอนเทนต์ต่างๆ ยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะดิจิทัลคอนเทนต์ ดังนั้น กลยุทธ์ที่แบรนด์และภาคธุรกิจจำเป็นต้องเตรียมตัว หนึ่งในนั้นก็คือ ‘คอนเทนต์’ หรือการมอบประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภค

แต่ก่อนอื่นสิ่งที่ธุรกิจ แบรนด์ หรือแม้แต่ นักการตลาด นักวางกลยุทธ์ ฯลฯ ต้องเข้าใจก่อนจะเข้าสู่ปี 2021 อย่างเต็มตัว คือ ยอมรับกับความไม่แน่นอนให้ได้ และปรับตัวให้ไว ทำยังไงก็ได้ที่จะทำให้การทำงานมันคล่องตัวมากขึ้น ที่สำคัญต้องนำบทเรียนจากความไม่แน่นอนของปี 2020 มาปรับใช้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

นี่คือ 4 ประเด็นที่ผู้เชี่ยวชาญประเมินไว้ว่า แบรนด์ หรือนักการตลาด (คนที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์) จำเป็นต้องปรับตัว และเตรียมตัวให้ถูกจุด สำหรับปี 2021

 

 

คล่องตัว – การเอาใจใส่

เพราะไม่ใช่แค่แบรนด์หรือธุรกิจที่เผชิญกับผลกระทบจากการระบาด ดังนั้น ความเข้าใจและเอาใจใส่ของแบรนด์/ธุรกิจที่มีในสถานการณ์แบบนี้ จะสร้าง impression ให้กับผู้บริโภคได้มากกว่าเดิม การที่แบรนด์มีส่วนช่วยบรรเทาความทุกข์ของลูกค้าได้ถือว่าเป็นสเต็ปแรกที่ต้องรีบทำ

‘การสื่อสาร’ อย่างตรงไปตรงมาและเข้าใจผ่านคอนเทนต์ และจัดลำดับความสำคัญให้ถูกจุด มุ่งโฟกัสมาที่กลุ่มลูกค้าเป็นหลัก เป็น 1st priority โดยที่คอนเทนต์อาจจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์/บริการก็ได้ แต่การสื่อสารที่โปร่งใสเห็นจุดประสงค์ชัดๆ ว่าจะเป็นเชิงการให้ข้อมูล หรือเอ็นเตอร์เทนเมนต์ เป็นสิ่งสำคัญมาก

ที่สำคัญอีกอย่างก็คือ บทบาทของแบรนด์นั้นๆ ที่มีต่อผู้บริโภคควรจะมีอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องเป็นการสื่อสารที่ผ่านความครีเอทมาระดับหนึ่ง คุณภาพของคอนเทนต์ต้องไม่ลืม และการให้ deep meaning ที่ลูกค้าสัมผัสได้ยังจำเป็น

 

 

ปัญหาใหญ่ทำให้เกิดการรวมกันของวัฒนธรรม และเชื่อมโยงกับท้องถิ่น

ด้วยขนาดของโลกเรามันเล็กลง แม้ว่าผู้คนจะอยู่กันต่างโซน ต่างภูมิภาค ต่างประเทศ แต่ก็ยังเห็นกันทั้งหมดผ่านอินเทอร์เน็ต ดังนั้น ยุคของ COVID-19 แบรนด์และธุรกิจต้องปรับตัวมาใช้กลยุทธ์ที่เน้นรูปแบบ ‘localisation’ หรือการเชื่อมโยงของคนท้องถิ่นผ่านแคมเปญ, การตลาด, การช่วยเหลือ หรือการให้ข้อมูลต่างๆ

ผู้เชี่ยวชาญพูดมาประโยคหนึ่งว่า “ปัญหาใหญ่ระดับโลกมีส่วนทำให้วัฒนธรรมจากที่ต่างๆ มารวมกัน เป็น case study ให้กันได้ง่ายขึ้น ผ่านกลยุทธ์การตลาดที่มีความเกี่ยวข้องกับท้องถิ่นมากขึ้น”

ขณะเดียวกัน คอนเทนต์ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ช่วงที่มีวิกฤตจะทำให้เข้าถึงกลุ่มคนท้องถิ่นมากขึ้น ไม่ใช่แค่บางพื้นที่ หรือบางประเทศเท่านั้น แต่ธุรกิจสามารถผลิตคอนเทนต์และสื่อสารไปยังกลุ่มที่เล็กลงไปได้อีกในระดับท้องถิ่น อย่างน้อยๆ จะเกิด impact ต่อธุรกิจและขยายการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้นด้วย

 

 

ธุรกิจต้องมองทุกอย่างเป็นดิจิทัล (digital-first)

สถานการณ์การรระบาดเกิดขึ้นหนักๆ ตั้งแต่ต้นปี 2020 และกรณีนี้ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า digital = survivor ดิจิทัลก็คือราชาแห่งการเอาตัวรอดดีๆ นี้เอง ดังนั้น ยิ่งปรับตัวให้ไวยิ่งมีโอกาสมากเท่านั้น และอย่าลืมว่า ผู้บริโภคพวกเขาอยู่กับดิจิทัลทุกวัน ซึ่งเปรียบเทียบสำหรับบางธุรกิจก็ถือว่า ก้าวยังไม่ทันผู้บริโภคในยุคนี้

ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นแคมเปญ การตลาด คอนเทนต์ หรืออีกหลายๆ กลยุทธ์จำเป็นต้องอิงกับดิจัลทั้งหมด! โดยที่ผ่านมากูรู พูดว่า ลูกค้า (แบรนด์) เรียกร้องความช่วยเหลือที่เกี่ยวกับดิจิทัลแคมเปญ, การตลาดแบบดิจิทัล, ดิจิทัลคอนเทนต์มากขึ้น และนี่คือดีมานด์ของคนในยุคนี้ ‘digital-first & digital-only’

เช่น สร้างประสบการณ์เสมือนจริง, การใช้เวลาบนจอมือถือเพิ่มขึ้น, แบรนด์เลือกที่จะตอบสนองลูกค้าแบบยอดเยี่ยมครบทุกช่องทาง, คอนเทนต์ที่ครีเอทีฟบนดิจิทัล เป็นต้น

 

 

ฉลาดใช้ข้อมูล – เก่งเรื่องนำมาปรับใช้

ในยุคนี้ที่ใครๆ ก็รู้อยู่แล้วว่าแบรนด์มีการเก็บข้อมูลของลูกค้า พยายามออกแบบแพลตฟอร์ม, ฟีเจอร์ ให้ดูเป็นแบบ personalization มากขึ้น เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ไม่เคยมีมาก่อน

และในเมื่อใครๆ ก็เก็บข้อมูลเหมือนกัน ใน sections ที่คล้ายๆ กัน ดังนั้น ปัจจัยแข่งขันจึงเปลี่ยน! ธุรกิจต้องแข่งกันที่ความใส่ใจ และ deep demand ของลูกค้าให้ได้ ว่าใครตอบโจทย์ลูกค้ามากกว่ากัน หรือสู้กันในด้านอื่น เช่น คุณภาพ, ราคา เป็นต้น

แต่ในช่วงที่เกิดวิกฤตการระบาดนี้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ ‘การรับฟังลูกค้า’ และรวบรวมข้อมูลที่ได้มากทั้งหมด ประมวลผล และประยุกต์ใช้ให้เป็น ฉลาดในการใช้ข้อมูล และต้องฉลาดในการเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมด้วย

ดังนั้น ในปี 2021 การใช้ข้อมูลเพื่อช่วยให้คอนเทนต์ดูคล่องตัวมากขึ้น และทำให้แบรนด์สามารถใช้ไอเดียด้านแคมเปญ, การตลาดได้สร้างสรรค์ขึ้น อย่างน้อยๆ ก็เป็นการเพิ่มความน่าสนใจของแบรนด์, ช่วยเพิ่มระดับกำไรได้ในระยะยาว และรมไปถึง เพิ่มการลงทุนจากพาร์ทเนอร์ธุรกิจในอนาคตได้ด้วย

 

 

 

 

ที่มา: campaignasia


  • 281
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม