ไม่ใช่คนทำแทนไม่ได้! สรุปอาชีพที่ ‘หุ่นยนต์ AI’ ไม่สามารถแทนที่คนได้ ต่อให้โลกวิวัฒนาการไปไกล

  • 686
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ช่วงหลายปีมานี้ เราได้เห็นงานวิจัยและมุมมองของกูรูด้านต่างๆ เกี่ยวกับ ‘ความเสี่ยง’ ที่หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI จะเข้ามาแย่งงานมนุษย์ ทำให้คนต่างก็แพนิคกันยกใหญ่ ซึ่งเราคงจะไม่ปฎิเสธว่าไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะที่ผ่านมาคงได้เห็นกันในหลายๆ ตำแหน่งมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นพนักงานเสิร์ฟ, พนักงานทำความสะอาด, ผู้ประกาศข่าว,พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต หรือ แคชเชียร์ก็ตาม ที่ล้วนถูกเจ้าหุ่นยนต์มาทำงานแทนซะแล้ว

โดยส่วนใหญ่หุ่นยนต์ AI จะเข้ามาแทนที่ตำแหน่งงานที่ต้องใช้ความแม่นยำ งานที่ต้องทำซ้ำๆ เหมือนเดิม รวมไปถึง งานที่ต้องทำตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน เป็นต้น

 

 

อย่างไรก็ตาม หุ่นยนต์ยังคงมีข้อจำกัดบางอย่างอยู่ โดยเฉพาะ ‘ด้านอารมณ์’ รวมไปถึง บางอาชีพไม่สามารถเป็นที่ยอมรับได้จริงๆ ถ้าเปลี่ยนจากมนุษย์มาเป็นหุ่นยนต์แทน ดังนั้น ในวันนี้เราจะอาสามาสรุปให้อ่านกันว่า มีอาชีพไหนบ้างที่เจ้าหุ่นยนต์ AI ไม่ว่าจะยังไงก็มาแทนที่มนุษย์ไม่ได้ ดังต่อไปนี้

 

ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล (Human Resource Managers)

หุ่นยนต์ AI จะสามารถคัดกรองผู้สมัครงานในเบื้องต้นได้เท่านั้น เช่น คุณสมบัติตรงตามที่ต้องการ รวมไปถึง คำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์ และประเมินสีหน้า-ท่าทางของผู้ถูกสัมภาษณ์ แต่สำหรับงานที่เป็น in details มากกว่านี้ ยังคงจำเป็นต้องใช้ HR ที่เป็นมนุษย์

นอกจากนี้ หน้าที่ของเหล่า HR ที่ยังต้องเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือด้านอื่นๆ เช่น การแก้ปัญหา การช่วยเหลือพนักงาน และฝึกอบรมบางเรื่องโดยเฉพาะด้านทักษะทางสังคมที่พนักงานทุกคนต้องมี ยังจำเป็นต้องมี HR มนุษย์ทำหน้าที่ตรงนี้มากกว่าใช้ระบบอัตโนมัติ

 

นักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Systems Analysts)

อาชีพนักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ น่าจะเป็นอาชีพที่ถูกคุกคามจากเหล่า AI น้อยที่สุด เพราะเหนือสิ่งอื่นใดยิ่งมีหุ่นยนต์ AI มากเท่าไหร่ อาชีพดังกล่าวนี้ก็มีความจำเป็นมากเท่านั้น

ขณะเดียวกัน น่าจะเกือบทุกอุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีอาชีพนักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุดสำหรับตำแหน่งงานที่ถูกแทนที่ด้วย AI นั่นเอง

 

 

คุณครู (Teachers)

ต่อให้ปัจจุบันการเรียนการสอนเริ่มเปลี่ยนไปมากขึ้น เพราะการระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้การเรียนออนไลน์มีความจำเป็นมากขึ้น ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในห้องเรียนแบบเดิม หรือทางออนไลน์ก็ตาม ครูที่เป็นคนจริงๆ มีความสำคัญมาก อย่างน้อยก็กระตุ้นให้นักเรียน/นักศึกษามีความสนใจในบทเรียนมากกว่า

นอกจากนี้ หุ่นยนต์ AI ไม่สามารถเข้าใจในการสอนด้านอื่นๆ ที่สอดแทรกตำราเรียนหลัก เช่น คุณธรรม จริยธรรม ซึ่งล้วนต้องใช้กระบวนการแบบ ‘people-to-people’ เท่านั้น

 

 

นักกีฬา (Sportsmen)

ลองจินตนาการดูว่า ถ้าเราเห็นหุ่นยนต์เล่นกีฬา เช่น วิ่งมาราธอนแข่งกัน มันไม่น่าจะสนุกเท่ากับเราได้เห็นประสิทธิภาพของคนจริงๆ ดังนั้น การที่เราจะลองหยิบหุ่นยนต์มาเล่นกีฬา หรือแข่งขันกัน มองว่ามันไม่อินกับคนดูคนเชียร์มากเท่าไหร่นัก

ขณะที่เคยมีคนพูดถึงหุ่นยนต์ว่า การฟิตหุ่นให้แข็งแกร่งและคล่องไวเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น เพราะสามารถป้อนโปรแกรมเข้าไปได้เลย ดังนั้น อะไรที่มันไร้พัฒนาการก็ดูไม่น่าจะตื่นเต้นสักเท่าไหร่สำหรับคอกีฬา

 

ผู้พิพากษา – ทนายความ (Judges and Lawyers)

ด้วยเนื้องานของอาชีพนี้ต้องใช้การวิเคราะห์ ใช้ประสบการณ์ ใช้ตรรกะความถูกต้อง เป็นการพิจารณากรณีต่อกรณี ดังนั้น หุ่นยนต์ AI ไม่สามารถเข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้ได้ดีเท่ากับมนุษย์ ผู้เชี่ยวชาญจากบริษัททนายความแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา พูดว่า การเจรจาต่อรองทางกฎหมายเป็นเรื่องที่ซับซ้อนเกินไปสำหรับหุ่นยนต์ รวมไปถึง การโต้แย้งกับลูกความภายในศาลที่ต้องใช้มนุษย์เท่านั้น

 

นักเขียน (Writers)

ก่อนหน้านี้เราน่าจะเคยเห็นหุ่นยนต์ AI ที่เข้ามาเป็น ‘ผู้ประกาศข่าว’ ตัวแรกของโลกจากประเทศจีน ซึ่งเรียกเสียงฮือฮาได้ไม่น้อยทีเดียว แต่สำหรับอาชีพ ‘นักเขียน’ มันมีความซับซ้อนมากกว่านั้น เพราะเป็นการละเอียดอ่อน ต้องใช้ทั้งความคิด และคำพูด คำเขียน ที่มีความแตกต่างกัน

รวมไปถึงต้องจินตนาการได้ เรียบร้อยสถานการณ์ตามความน่าสนใจของผู้อ่าน ดังนั้น ทักษะทางธรรมชาติตรงนี้ไม่สามารถเข้ามาแทนที่ด้วย AI ได้เลย

สิ่งที่หุ่นยนต์ AI จะทำได้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมนี้ ก็คือ ‘รับสาร – ส่งสาร’ ผ่านระบบอัตโนมัติได้โดยตรง ไม่ต้องปรับคำ บิดเบือน หรือพิจารณาใช้คำพูดก่อนสื่อสาร

 

นักวางแผนกิจกรรม (Event Planners)

อาชีพนี้เป็นอาชีพที่ต้องใช้คำพูดในการประสานงาน หรือดีลงานต่างๆ กับคนหมู่มาก รวมไปถึง ต้องมีความคิดสร้างสรรค์เพื่อออกแบบกิจกรรม ดังนั้น หุ่นยนต์ AI จะไม่สามารถมาแทนที่ได้แน่นอน

 

นักมายากล (Magicians)

อีกหนึ่งอาชีพที่ต้องใช้ทักษะในการแสดงสูงมาก ทั้งยังต้องรู้จักเอ็นเตอร์เท็น และสื่อสารกับผู้ชมได้ ดังนั้น นักมายากล จำเป็นที่จะต้องเป็นคนเท่านั้นในการทำการแสดงโชว์ เพื่อให้ผู้ชมรับรู้ สนุกไปกับการแสดงโชว์ และยัง get feeling การโชว์ของเรา

โดยกลเม็ดขั้น advance ของมายากล นั่นก็คือ ‘ความเป็นธรรมชาติมากที่สุด’ ที่ต้องผ่านการฝึกซ้อม ผ่านประสบการณ์ในการแสดง และ มุมต่างๆ ในระหว่างการแสดงที่สำคัญมาก ซึ่งหุ่นยนต์ AI ยังไม่สามารถคิดอะไรที่ซับซ้อนได้ขนาดนี้

 

จิตแพทย์ – นักจิตวิทยา (Psychiatrists and Psychologists)

การรักษาอย่างหนึ่งของอาชีพทั้งสองนี้ คือ การพยายามเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของมนุษย์ด้วยกัน ไม่ต่างอะไร เป็นเหมือนที่ปรึกษาและคนที่คนไข้ไว้ใจ ดังนั้น การรักษาแบบที่ใช้ ‘จิตสัมผัส’ กันค่อนข้างละเอียดอ่อน ไม่สามารถทำหน้าที่ตรงนี้ด้วยหุ่นยนต์ AI ได้เลย

ขณะที่ระดับการสื่อสารส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องในเชิงลึกทางอารมณ์เกิน 80% ดังนั้น วิวัฒนาการของหุ่นยนต์ให้เข้าใจจิตใจมนุษย์นั้นจึงทำได้ยาก ยังไม่มีวี่แววว่าจะเกิดขึ้นได้ในอีก 5 ปี 10 ปี

 

Credit : skeeze/Pixabay

 

ศัลยแพทย์ (Surgeons)

แม้ว่าการเป็นแพทย์ต้องอาศัยความแม่นยำสูงมาก อีกทั้งยังใช้ประสบการณ์ประกอบการตัดสินใจในแต่ละครั้งที่ทำการรักษา แต่สำหรับ ‘ศัลยแพทย์’ กามรเสริมแต่ง ผ่าตัดตกแต่ง ยิ่งเกี่ยวข้องกับความสวยความงามแล้ว นอกจากจะไม่ได้รับความไว้ใจจากคนไข้แล้ว การประเมินในเชิงเทคนิค เช่น รูปหน้าแบบไหนจะเข้ากับจมูกทรงใด จะไม่สามารถป้อนโปรแกรมให้ทำแทนได้

ด้วยเหตุผลที่ว่า มนุษย์ค่อนข้างมีความแตกต่างกัน 100% แม้จะเป็นฝาแฝดก็ตาม แต่ยังมีจุดตำหนิที่สามารถแยกได้ ดังนั้น การประมวลผลโดยหุ่นยนต์ AI จะไม่มีทางสมบูรณ์

แต่ถ้าเราอยากจะทำหน้าเหมือนดาราสักคนเป๊ะๆ แบบโคลนนิ่งหน้ามายังงั้น ก็ไม่แน่ว่าจะมีหุ่นยนต์ AI มาทำให้เราแทนศัลยแพทย์ก็ได้ แต่เชื่อว่ากฎหมายคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในแต่ละประเทศ ก็คงไม่ผ่อนปรนให้กับเรื่องอะไรแบบนั้นหรอก

ดังนั้น สบายใจได้ว่ายังมีอีกหลายอาชีพที่ไม่สามารถแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ได้ นี่เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนของอาชีพทั้งหมดที่อยู่ในลิสต์ของงานวิจัยหลายๆ แห่งเกี่ยวกับความสามารถและขีดจำกัดของหุ่นยนต์ AI

สรุปง่ายๆ ก็คือ งานที่สร้างสรรค์, ไม่จำเจ, ใช้ความคิด, ประสบการณ์เฉพาะด้าน, เกี่ยวกับจิตใจ และมีความละเอียดอ่อน จะยังไม่สามารถแทนที่ด้วยหุ่นยนต์แน่ๆ แต่อย่าลืมว่า วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสมัยนี้ค่อนข้างก้าวกระโดด ถ้าไม่ปรับตัว ยังคิดและเลือกทำงานด้วยวิธีเดิมๆ โอกาสที่สักวันหนึ่งเราจะถูกแย่งงานขึ้นมาจริงๆ คงเพิ่มโอกาสขึ้นเรื่อยๆ

 

 

 

 

ที่มา : medium

 

 


  • 686
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม
CLOSE
CLOSE