ใครอยากเป็น Nomadic ในยุคดิจิทัล สกิลและอาชีพที่ควรรู้ก่อนเข้าสู่ปี 2022

  • 348
  •  
  •  
  •  
  •  

 

คำว่า Digital Nomad (ผู้เร่ร่อนดิจิทัล) แม้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก็ยังเป็นที่สนใจในกลุ่มคนรุ่นใหม่อยู่มากพอสมควรในปัจจุบัน ด้วยโลกที่ขับเคลื่อนไปด้วยอินเทอร์เน็ต และการทำงานระยะไกล (Remote Working) ก็เป็นที่ยอมรับกันมากขึ้น จากเหตุกดดันของการแพร่ระบาด COVID-19

ดังนั้น Digital Nomad หรือชีวิตแบบ Nomadic จะว่าสามารถเป็นง่ายก็ง่าย หรือจะพูดว่ายากก็ได้เหมือนกัน อย่างที่ Global Workplace Analytics ได้ระบุว่า โดยปกติการทำงานมีสัดส่วนประมาณ 56% ของผู้ปฏิบัติงานทั้งหมด ที่ต้องทำงานจากระยะไกลอยู่แล้ว แต่สำหรับ Nomadic ไม่ถือว่าจัดอยู่ในกลุ่มคนทำงานประเภทนี้ และยังมีหลายคนเข้าใจผิด

 

 

ความจริง Nomadic คืออะไร?

ความจริงแล้วกลุ่มคน Nomadic เป็นแบบไหนกันแน่? อธิบายง่ายๆ ก็คือ กลุ่มคนที่หาเลี้ยงชีพด้วยธุรกิจออนไลน์นั่นเอง สามารถเป็นได้ทั้งคนทำงานแบบ full-time หรือ freelance ก็ได้แต่ไม่มีออฟฟิศ ทำงานจากที่ไหนก็ได้ หลายคนเรียกกันว่า “พนักงานไร้ออฟฟิศ”

ขณะที่นักการตลาดบางคน หนึ่งในนั้นคือ Phil Pallen ที่พูดอธิบายอย่างเรียบง่ายว่า “ตราบใดที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิก์สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต หรือ Wi-Fi ได้เราก็จะเห็นกลุ่ม Domadic ที่นั้น ที่สำคัญพวกเขาไม่เลือก ไม่จำกัดพื้นที่ทำงาน สถานที่ทำงานของพวกเขาเป็นได้ทั้งที่บ้าน, ร้านกาแฟ, โรงรถ, ทะเล หรือสักที่หนึ่งในต่างประเทศ”

มีคำๆ หนึ่งที่เพิ่มเข้ามาพร้อมกับคนทำงานแบบ Nomadic ซึ่งก็คือ ‘Geo Arbitrage’ หรือ การเก็งกำไรทางภูมิศาสตร์ ความน่าสนใจอยู่ที่ กลุ่มคน Nomadic จะชอบใช้เวลาท่องไปที่ต่างๆ แล้วรับงาน/ทำงานไปด้วย พวกเขาจัดว่าเป็นกลุ่มคนที่ใช้ประโยชน์จาก ‘ค่าครองชีพต่ำ’ ในประเทศใดประเทศหนึ่งหากเทียบกับประเทศที่พวกเขาทำงานอยู่ ณ ตอนนั้น

พูดง่ายๆ ก็คือ Nomadic จะหาที่ที่ราคาครองชีพถูกกว่าไปเรื่อยๆ เพราะพวกเขาต้องใช้สถานที่เหล่านั้นในการทำงาน”

 

 

 

Nomadic ต่างจาก Workation

หากพูดบริบทของกลุ่มคนทำงานแบบ Nomadic ที่ใกล้เคียงที่สุด คงจะเป็นคำว่า Freelance แต่ก็ไม่ถูกซะทีเดียว เพราะว่ากลุ่มคน Nomadic สามารถเป็นพนักงานประจำได้ เพียงแต่ไม่ต้องมีออฟฟิศ ไม่ต้องนั่งทำงานอยู่ที่ที่เดียวทุกวันตลอดเวลา

นอกจากนี้ Nomadic ไม่ใช่การทำงานแบบ Workation (Work+Vacation) ด้วยเพราะลักษณะการทำงาน ระดับความจริงจัง หรือความรับผิดชอบแทบไม่ต่างจากพนักงานที่ทำงานในออฟฟิศ เพียงแต่เราเปลี่ยนสถานที่เท่านั้นเอง ดังนั้น ระดับการชิวๆ ในการทำงาน Workation จะมากกว่า มีช่วงเวลาพักผ่อน(ติดต่อกัน) นานกว่า

 

 

เตรียมตัวอย่างไรถ้าอยากเป็น Nomadic

ทำงานแล้วเปลี่ยนที่ตามความชอบไปเรื่อยๆ อาจจะเป็นความฝันของใครหลายคน ดังนั้น สิ่งที่บทความจาก Thrive my way แนะนำก็คือ “ระบุสิ่งที่เก่งให้ได้” เราถนัดอะไรมากที่สุด, รักในการทำอะไรมากที่สุด เป็นเรื่องสำคัญมากที่ต้องตอบตัวเองให้ได้ เพราะเราต้องพรีเซนต์ตัวเองต่อไป

ต่อมาต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่า “สิ่งที่ถนัดและรักเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่” และ “เป็นสายงานเฉพาะที่ทำทางออนไลน์ได้หรือไม่” เพราะต้องเข้าใจก่อนว่าสิ่งที่เราทำได้ดีกับสิ่งที่หลงใหลบางทีก็อาจจะไม่ใช่สิ่งเดียวกันก็ได้

และหากคำตอบคือ สิ่งที่ถนัดไม่ใช่สิ่งที่สายงาน Nomadic ต้องการหรือทำได้นาน สิ่งที่ต้องทำก็คือ เพิ่มความรู้/ เพิ่มสกิลบางอย่างให้เราเป็นที่ต้องการของสายงานแนวนี้ ยกตัวอย่างอาชีพที่มีความเป็น Nomadic สูงมาก เช่น

  • การตลาดดิจิทัล
  • การเขียนคอนเทนต์
  • การออกแบบกราฟฟิก
  • การเขียนบล็อก
  • การสอนทางออนไลน์/ติวเตอร์
  • นักขายสินค้า

เพิ่มเติมอาชีพอื่นในมุมมองของ Charles Du ผู้จัดการด้านสินค้าซอฟต์แวร์ในแคลิฟอร์เนีย ที่ยกตัวอย่างว่าสามารถทำแบบ Digital Nomad ได้เช่นกัน คือ

  • ผู้จัดการด้านเทคโนโลยี
  • นักประชาสัมพันธ์
  • นักบัญชี
  • นักกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถพูดได้ว่ากลุ่มคนที่เป็น Nomadic จะต้องเป็นสายงานด้านครีเอทีฟเท่านั้น เพราะจริงๆ แล้วสายงานวิชาการสามารถทำได้เช่นกัน หากว่าโครงสร้างองค์กรเปิดรับวัฒนธรรมการทำงานรูปแบบใหม่ได้ ทั้งนี้ สิ่งที่นักการตลาดมองว่าในอนาคตอันใกล้เทรนด์ของพนักงานไร้ออฟฟิศอย่าง Nomadic อาจจะมากขึ้น เพราะเครื่องมือในการทำงานมีความพร้อม, ผู้คนและองค์กรเข้าใจการทำงานแบบ Remote Working

ที่สำคัญคือ ความคุ้นเคยนี้ทำให้เราฝึกฝนการทำงานลักษณะนี้มากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นวิถีการทำงานอีกรูปแบบหนึ่ง ที่มากกว่าการทำงานแบบ Hybrid และแน่นอนว่าต้องมีความรับผิดชอบสูง หากใครอยากเบนเข็มเป็นกลุ่มคนทำงาน Nomadic

 

 

 

 

 

ที่มา: thrivemyway, artofnomads


  • 348
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม
CLOSE
CLOSE