หยุดพฤติกรรมง่วงนอนตอนเช้า แต่ตาสว่างตอนกลางคืน! 9 เหตุผลทำไมควรฝึกให้เป็น ‘morning person’

  • 756
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ตี 1 แล้วทำไมยังไม่ง่วงนะ?

พฤติกรรมแบบนี้พบได้ทั่วไปในสังคมยุคนี้ แทนที่ใกล้เวลาเที่ยงคืนเราจะเตรียมตัวนอน หรือบางคนก็น่าจะนอนหลับฝันดีไปแล้ว แต่หลังเที่ยงคืนสำหรับคนในยุคนี้เกิดอาการตาสว่าง ไม่รู้สึกง่วงนอน ยังนอนดู Netflix เลื่อนจอมือถือไปมาอยู่เลย

หลายๆ พฤติกรรมที่ไม่เฮลตี้ของคนยุคดิจิทัล รวมๆ เริ่มเห็นตั้งแต่อายุยังน้อย 13+ จนถึงวัยทำงานตอนต้น หรือแม้แต่วัยกลางคน (45+) ก็หันมานอนดึกกันมากขึ้นเรื่อยๆ

แล้วทำไมพฤติกรรมนี้เราถึงควร concern? หลายๆ คนอาจจะถนัดใช้เวลาในตอนกลางคืน เงียบๆ บรรยากาศเย็นๆ ก็ได้ แต่รู้หรือไม่ว่า มีบทความเป็นล้านๆ บทความถ้าเราลองค้นหาใน Google จะเห็นว่า คนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่เป็นคนที่มีนิสัยตื่นนอนตอนเช้ากันทั้งนั้น

 

เริ่มจากเปลี่ยน ‘ความเชื่อของตัวเอง’

สิ่งสำคัญอันดับแรกก่อนที่เราจะเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็น ‘คนตื่นเช้า’ (morning person) เราต้องมีความเชื่อ หรือตั้งปณิธานก่อนว่า เราต้องเป็นคนแบบนั้นให้ได้! คล้ายๆ กับเราเป็นผู้กำกับหรือนักเขียน และเราพยายามเปลี่ยนเนื้อเรื่อง เปลี่ยน story ให้มันดีขึ้นกว่าเดิม

“ทุกอย่างต้องเริ่มต้นมาจากการฝึกฝน หากคุณทำอะไรเป็นเวลานานๆ คุณจะค้นพบว่าสิ่งที่เคยพยายามเปลี่ยนมันกลายเป็นกิจวัตรประจำวันโดยอัตโนมัติ เรื่องการตื่นเช้าเองก็เหมือนกัน สมมุติว่าเราตั้งใจที่จะตื่นเช้าทุกวัน เวลา 5.30 น. (จากเดิม 9.00 น.) ทำแบบนี้อยู่ 90 ครั้งติดต่อกัน แล้วเป้าหมายนั้นจะเป็นจริง” Eve Arnold เจ้าของบทความเรื่องนี้พูดเอาไว้

และสิ่งที่ 2 ที่ควรทำสำหรับปณิธานนี้ ก็คือ สวมบทบาท – เปลี่ยนตัวตนว่าเราอยากเป็นใคร หรือเป็นคนแบบไหน ความคิดแบบนี้มันช่วยได้จริงๆ เพราะพื้นฐานของมนุษย์เราจะมีมุมดาร์กซ่อนอยู่ทุกคนนั่นก็คือ ความอยากเอาชนะ’

ดังนั้น แปลงความเชื่อและสันดานดิบของมนุษย์มาใช้ในด้านดีๆ อย่างเช่น การตื่นนอนตอนเช้า หรืออยากเป็นเศรษฐี เพื่อเอาชนะใจตัวเอง มุมความคิดนี้มาจาก ‘Benjamin Hardy’ นักเขียนหนังสือที่ได้รับความนิยมหลายเล่ม และเป็นนักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียง ซึ่งได้พูดบนเวที TedTalk เอาไว้

แล้วเราจะตื่นเช้าไปทำไม สวดมนต์เหรอ? หรือเพื่อออกกำลังกาย (เพราะทำตอนเย็นก็ได้) นี่คือ 9 เหตุผลที่ Eve Arnold ได้รวบรวมเอาไว้ว่า ทำไมเราถึงควรเปลี่ยนตัวเองให้มีนิสัยเป็นคนตื่นเช้า?

 

 

 

เงียบสงบ

พูดได้เลยว่า ไม่มีสิ่งไหนที่เงียบสงบ (stillness) ได้เท่ากับเช้าวันใหม่อีกแล้ว สิ่งนี้คือเรื่องจริงที่ทุกคนปฏิเสธไม่ได้ เพราะอะไร? ในขณะที่คนส่วนใหญ่ยังซุกตัวนอนอยู่ใต้ผ้าห่ม อาจจะเป็นเวลา 4.30 น. หรือ 5.00 น. ก็ได้ แต่คุณตื่นขึ้นมาแล้วพร้อมกับอากาศที่สดชื่น เสียงนกร้อง หรือเสียงลมพัดเบาๆ รอบตัว

ลองจินตนาการดูว่า โลกใบนี้มีแค่คุณและพื้นที่กว้างๆ ที่ไม่มีรถวิ่งบนถนน ไม่มีผู้คนเดินไปมา ไม่มีเสียงโทรศัพท์ ไม่มีเสียงอีเมล์เข้า มีแค่คุณกับโลก ช่วงเวลาแบบนี้มันสามารถเกิดขึ้นได้ 1-3 ชั่วโมงเท่าที่คุณสามารถตื่นนอนได้

ความสงบแบบนี้สามารถนำเราเข้าสู่ภาวะการทำงานที่ไหลลื่น (the flow state of work) ซึ่งมันคือการ reset ระบบความคิดการทำงานของสมองที่แท้จริง

หรือถ้าจะพูดให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นหน่อยก็คือ คุณจะมีเวลาได้จัดการกับกองงานชิ้นโตๆ ก่อนใคร เพราะเริ่มทำตั้งแต่เนิ่นๆ รู้หรือไม่ว่า ตามหลักของจิตวิทยาเป็นไปได้ยากมากๆ ที่เราจะใช้เกณฑ์การทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวันสำหรับทุกคน เพราะประวิทธิภาพและคลังพลังงานของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน

“ผมไม่เคยเชื่อตรรกะการทำงานตลอดทั้ง 8 ชั่วโมง เพราะบางคนอาจจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ แค่ช่วง 5.30 น. – 9.00 น. ก็ได้ (แต่เทียบเท่ากับการทำงานวัน)”

 

 

มีเวลาคิดเยอะขึ้น

ต่อเนื่องจากข้อแรกเลย นอกจากทำให้ระบบการทำงานปลอดโปร่งแล้ว ความคิดก็ดีขึ้นตามด้วย ดังนั้น ในเมื่อเรามีเวลามากกว่าคนอื่นท่ามกลางบรรยากาศี่เงียบสงบ ทำให้ความคิดหลายๆ อย่างที่เป็นบวกโผล่ขึ้นมาได้ มีหลายๆ คนไม่น้อยที่เป็นนักครีเอทีฟ หรือทำงานเกี่ยวกับการวางแผนต่างๆ มักจะคิดออกอยู่บ่อยๆ ในวันที่ตื่นเช้า ท้องฟ้าสดใส และบรรยากาศไร้ผู้คนให้วุ่นวายใจ

นอกจากนี้ ช่วงเวลาตอนเช้าที่เงียบสงบยังมีส่วนช่วยให้เกิด passion ใหม่ๆ ง่ายกว่าช่วงเวลาอื่นด้วย ซึ่งถ้าเปรียบเทียบจากการทดลองหลายๆ ครั้งของนักจิตวิทยา จะเห็นว่า การตื่นนอนในเวลา 5.00 น.-5.30 น. เป็นช่วงที่จะกระตุ้นให้สมองโล่งมากที่สุด

 

 

เป็นคนมีประสิทธิภาพ

การสร้างประสิทธิภาพให้ตัวเองจากการตื่นเช้าเป็นเหตุผลที่ค่อนข้าง make sense แต่ไม่สามารถระบุได้ชัดๆ ว่าเป็นเพราะบรรยากาศที่เงียบสงบ หรือการทำงานของสมองมันไหลลื่นดีกว่าเดิม แต่ที่แน่ๆ ประสิทธิภาพที่พูดถึงไม่ได้หมายถึงแค่การคิดที่ flow ขึ้น แต่รวมๆ ไปถึงการทำงานที่บรรลุผลสำเร็จได้เร็วขึ้นด้วย

แต่ประสิทธิภาพก็ต้องขึ้นอยู่กับบรรยากาศในการทำงานด้วย ไม่ใช่ตื่นเช้าขึ้นมาแต่บรรยากาศรอบตัวไม่น่าทำงาน ดังนั้น สภาพแวดล้อมการทำงานต้องพร้อมด้วย ที่จริงแล้วการทำงานเสร็จประมาณ 3 ขั้นตอนภายในเวลา 9 โมงเช้าแม้ว่าจะเป็นความท้าทายอยู่ แต่สำหรับคนที่ตื่นเช้าเป็นปกติ นั่นคือเรื่องธรรมดามาก

 

 

เริ่มต้นวันใหม่ด้วยความทะเยอทะยาน

การตื่นเช้าขึ้นมาต้องมาพร้อมกับเป้าหมายรายวันแม้ว่าจะเป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม แต่อย่างน้อยๆ ควรตั้งเป้าให้ได้ 5 เป้าหมายขึ้นไป สิ่งที่จะกระตุ้นให้เราสนุกกับการใช้ชีวิตตั้งแต่เช้าก็คือ ‘ความท้าทาย’ เพราะมันจะทำให้เรารู้สึก active มากกว่าเดิม

ที่สำคัญการบรรลุเป้าหมายให้ได้ในแต่ละวัน ยังช่วยให้ความรู้สึกมั่นใจและศรัทธาในตัวเองเพิ่มมากขึ้นด้วย

 

 

มีเวลามากขึ้น

แม้ว่าการทำงาน 9 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็นอาจจะเป็น prefect timing ของหลายๆ บริษัทและก็เหมาะสมกับหลายๆ คน แต่ว่าถ้าคุณเริ่มต้นทำงานก่อนเวลาที่กำหนด ช่วงเวลาที่เหลือในตอนบ่ายๆ คุณอาจทำกิจกรรมอะไรก็ได้ที่มีประโยชน์ต่อตัวเอง และเป็นการพัฒนาศักยภาพตัวเองได้ด้วย

อย่าง ‘กฎของพาร์กินสัน’ (Parkinson’s Law) หรือจาก ซีริล นอร์ทโคท พาร์กินสัน (C. Northcote Parkinson) นักประวัติศาสตร์โลก ที่เคยพูดเอาว่า “เวลาที่ใช้ในการทำงานใดๆ จะสามารถยืดออกตามเวลาที่มีเหลืออยู่ก่อนส่งงานชิ้นนั้นๆ” ยกตัวอย่างง่ายๆ เราตื่น 5.30 น. ก่อนที่จะเดินไปหน้าคอมพิวเตอร์ 6 โมง เรามีเวลาตั้ง 30 นาทีก่อนที่จะเริ่มงาน มันเป็น 30 นาทีที่มีค่า สามารถเปลี่ยนเกมการทำงานได้ แต่เวลาที่กำหนดนี้สามารถยืดหยุ่นได้ คุณอาจจะเดินไปเปิดคอมฯ เวลา 8.00 น. ก็เป็นไปได้ เพราะการกฎการณ์เวลาที่ชัดเจนจะทำให้การทำงานนั้นง่ายขึ้น

กฎของพาร์กินสัน พูดสั้นๆ เอาไว้ว่า “ถ้าเรามีเวลาสัก 2 ชั่วโมงต่อเนื่องในช่วงเช้า เพื่อโฟกัสงานชิ้นใดชิ้นหนึ่ง มันจะเป็น 2 ชั่วโมงที่เหลือเฟือในการทำงานที่มีศักยภาพเต็ม 100% (หรือเกือบ 100%)”

 

 

กฎของการเสียน้อยลง

ทฤษฎีนี้มันดีมากถ้านำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้ กฎของการเสียน้อยลง คือ เสียทุกๆ อย่างน้อยลง ทั้งเวลา, สมอง, ความคิด ถ้าเปรียบเทียบมนุษย์เราที่ตื่นตอนเช้าก็จะเหมือนกับเครื่องจักรที่มีกระบวนการผลิตที่ลีนมากๆ

พูดให้เห็นภาพง่ายๆ คือ หลังจากที่เราตื่นนอนขึ้นมาถ้าเราไม่ได้ใช้ความคิดที่สดใหม่ทันที แต่เราเบรกสิ่งนั้นด้วยการดู YouTube, Facebook หรือโซเชียลมีเดียอื่นๆ จากความคิดที่สดใหม่ มันจะกลายเป็นสิ่งที่ถูกผสม เติมแต่งเพิ่มมากแล้ว ก่อนไปสู่กระบวนการทำงานจริง

ยิ่งปัจจุบันงานวิจัยระบุว่า ผู้คนใช้โทรศัพท์มือถือเฉลี่ย 4 ชั่วโมงต่อวัน(แต่คนไทยมากกว่านั้น) ยิ่งทำให้เราเสียเวลามากขึ้นไปอีก เพราะกว่าจะเริ่มงานจริงๆ ก็หลังจากที่ใช้เวลาไปแล้วเกือบครึ่งวัน

 

 

คิดบวกมากขึ้น

ลองคิดตามดูว่าหลังจากที่เราตื่นขึ้นมา 5.30 น. และเราตรงดิ่งเริ่มทำงานทันที หรืออาจจะหลังจากนั้น 30 นาที ถึง 1 ชั่งโมง เวลาผ่านไปถึงประมาณ 9.30 น. และงานของคุณดำเนินมาได้ครึ่งทาง หรือมากกว่าครึ่งแล้ว เราจะเผลอยิ้มออกมาทันทีแน่ๆ เพราะเวลานั้นคนส่วนใหญ่อาจจะกำลังเริ่มทำงานก็ได้

หรือแม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น รดน้ำต้นไม้ทันทุกต้นตอนเช้า ไม่ต้องเร่งรีบอีกแล้ว แค่นี้ก็ทำให้เรากลายเป็นคนคิดบวกได้โดยไม่รู้ตัว เพราะชัยชนะเล็กน้อยนี้คือกำลังใจที่ดี

 

 

มีความสุขมากขึ้น

เหตุผลข้อนี้เป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องตามมา ในเมื่อเราตื่นเช้า ทำงานเสร็จเร็วขึ้น มีเวลาทำเพื่อตัวเองมากขึ้น และชนะเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ได้ บรรลุเป้าหมายสำเร็จ ฮอร์โมนเอนดอร์ฟินต้องหลั่งออกมาเป็นปกติ ซึ่งมันก็คือสารที่เกิดจากความสุขนั่นแหละ ที่สำคัญระยะยาวเราจะกลายเป็นคนใจเย็น ใจเบา ทำอะไรมีสติมากขึ้นด้วย

 

 

กลายเป็นคนที่อยากเป็น

จุดสูงสุดของภารกิจนี้ก็คือ การเปลี่ยนแปลงสำเร็จในที่สุดเราก็ได้เป็นในสิ่งที่อยากเป็น เราสั่งสมองให้จดจำมาตลอดระหว่างการฝึกฝนว่า ‘อยากเป็นคนตื่นเช้า’ ซ้ำไปซ้ำมา จนสุดท้ายผลลัพธ์นี้ก็ได้มาจนได้!

รู้เหตุผลครบทั้ง 9 ข้อแล้ว สรุปสั้นๆ คือ ทุกๆ อย่างต้องมีระยะเวลาของมัน แม้แต่การตื่นนอนตอนเช้าจนเป็นนิสัยก็ต้องใช้เวลาไม่ต่างกัน ดังนั้น เวลาเป็นสิ่งสำคัญมาก รวมถึงความเชื่อมั่นในตัวเองด้วย ท่องไว้ I can do it.!

 

 

 

ที่มา: medium


  • 756
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม