เปิดสถิติประชากรทั่วประเทศไทย ปี 2565 พร้อมส่องโอกาสทางธุรกิจในวันที่ต้องเลือกระหว่าง ‘ปริมาณ’ หรือ ‘คุณภาพ’

  • 3
  •  
  •  
  •  
  •  

 

สำนักทะเบียนกลางประกาศจำนวนราษฎรทั่วประเทศปี 2565 ประเทศไทยมีประชากร 66,090,475 คน ซึ่งลดลงจากปี 2564 ที่มีจำนวนประชากรทั่วประเทศ 66,171,439 คน ลดลง 80,946 คน

 

เปิดสถิติประชากรทั่วประเทศไทย ปี 2565

การทะเบียนกลาง ได้ลงนามในประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่องจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 ตามมาตรา 45 พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร 2534 ประกาศจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ

 

โดยพบว่าทั่วประเทศมีจำนวนราษฎร รวมทั้งสิ้น จำนวน 66,090,475 คน เป็นสัญชาติไทย จำนวน 65,106,481 คน แบ่งเป็นชาย จำนวน 31,755,072 คน หญิง จำนวน 33,351,449 คนและจำนวนราษฎรไม่ได้สัญชาติไทย 983,994 คน แบ่งเป็นชาย 515,583 คน หญิง 468,411 คน

 

โดย 5 จังหวัดที่มีจำนวนราษฎรมากที่สุดเรียงตามลำดับได้แก่ กรุงเทพมหานคร 5,494,936 คน นครราชสีมา 2,630,058 คนอุบลราชธานี 1,869,806 คนเชียงใหม่ 1,792,474 คนและขอนแก่น 1,784,641 คน

 

จังหวัดที่มีประชากรน้อยที่สุด คือ จังหวัดสมุทรสงคราม 187,701 คน

 

 

จำนวนประชากรบ่งบอกอะไรได้บ้างในแวดวงธุรกิจ  

จากข้อมูลข้างต้นนั้นมีความน่าสนใจในแง่ของจำนวนประชากรที่ลดลงทั้งในแง่ จำนวนประชากรหญิงที่มากกว่าประชากรชาย อัตราการเกิดน้อยลงผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น สิ่งเหล่านี้คือตัวกหนดทิศทางโอกาสทางธุรกิจในวันที่ต้องลือกระหว่าง ‘ปริมาณ’ หรือ ‘คุณภาพ’

 

จำนวนผู้สูงอายุไทย ปี 2565 เพิ่มต่อเนื่อง แต่อัตราการเกิดต่ำ

เปิดรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยปี 2565  ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หลังจากเมื่อสามปีก่อนนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี  โดยประชากรผู้สูงอายุในปี 2565 นั้นมีมากถึง 12,116,199 คน คิดเป็น 18.3% ของประชากรทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 0.5% แบ่งเป็น

  • ผู้สูงอายุวัยต้น ช่วงอายุ 60-69 ปี จำนวน 6,843,300 คน คิดเป็น 56.5% ของผู้สูงอายุทั้งหมด
  • ผู้สูงอายุวัยกลาง ช่วงอายุ 70-79 ปี มีจำนวน 3,522,778 คน คิดเป็น 29.1% และ
  • ผู้สูงอายุวัยปลาย” อายุ 80 ปีขึ้นไป จำนวน 1,750,121 คน คิดเป็น 14.4%

 

ขณะที่ผู้สูงอายุในไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่อัตราการเกิดกลับลดลงและมีอัตราที่ช้ามาก สถานการณ์เด็กเกิดใหม่ของประเทศไทยขณะนี้ต่ำกว่า 600,000 รายต่อปี และในปีนี้ก็มีอัตราการเกิดไม่ถึง 0.5% ด้วยซ้ำ อยู่ที่ 0.18% ถือเป็นจำนวนที่ค่อนข้างน้อย

 

ทั้งนี้เป็นเพราะปัจจัยหลัก ๆ จากสภาพเศรษฐกิจที่ทำให้คนไม่มั่นใจว่าจะมีทรัพย์รองรับค่าใช้จ่ายของบุตรได้เพียงพอ รวมถึงค่านิยมที่เปลี่ยนไป ผู้หญิงออกทำงานนอกบ้านเหมือนฝ่ายชายทำให้ไม่มีเวลา และคนส่วนใหญ่มีค่านิยมรักอิสระมากขึ้น ไม่อยากรับผิดชอบมากมาย และสภาพสังคมด้านต่าง ๆ ที่คนจะเป็นพ่อแม่รู้สึกไม่มั่นใจ

 

ประเทศไทยถือว่าเข้าสูงสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ โอกาสในธุรกิจที่มีขยายใหญ่นี้ กลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ กระดดดเขาสู่ตลาดเพื่อจับนี้เป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ ธุรกิจที่ปรึกษาวางแผนทางการเงินหลังเกษียณ , ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ, ธุรกิจฟิตเนสเทรนเนอร์ เฉพาะทางสำหรับผู้สูงอายุ, สถานดูแลผู้สูงอายุ, ธุรกิจท่องเที่ยว เชิงสุขภาพ, ธุรกิจสัตว์เลี้ยงดูแลผู้สูงอายุ, เฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้สูงอายุ, ประกันสุขภาพ/ประกันชีวิต, ธุรกิจความงามเพื่อการชะลอวัย

 

เจาะตลาดผู้หญิง มากโอกาส มากกำลังซื้อ

“ผู้หญิง” มากกำลังซื้อ รายงานของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ตอกย้ำกำลังซื้อของผู้หญิงทั่วโลกในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี โดยผู้หญิงถือเป็นกลุ่มผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับการซื้อของในครัวเรือนเป็นหลัก หรือ คิดเป็น 85% ของการจับจ่ายซื้อสินค้าทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ บ้าน อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เทคโนโลยี และอื่นๆ นอกจากนี้ ในเอเชีย ผู้หญิง 65% ยังเป็นคนตัดสินใจซื้อสินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม ตามด้วยอาหารการกินที่ 49%

 

การที่ผู้หญิงเข้ามามีบทบาทในทางเศรษฐกิจและสามารถพึ่งพาตัวเองในทางการเงินได้ ไม่เพียงแต่ทำให้อำนาจซื้อของผู้หญิงเพิ่มขึ้น แต่ยังทำให้ความเชื่อ ค่านิยม รวมทั้งพฤติกรรมการดำรงชีวิตเปลี่ยนไป เช่น มีลูกน้อยลง แต่งงานช้าลง หรือ แม้แต่หย่าร้างมากขึ้น ทำให้เกิดช่องทางการทำตลาดของแบรนด์สินค้าและบริการต่างๆ เพื่อจับกลุ่มลูกค้าผู้หญิงโดยเฉพาะ หรือที่เรียกว่า She Marketing หรือ She-conomy กันมากขึ้น ผู้เขียนขอหยิบยกตัวอย่างธุรกิจเกี่ยวกับผู้หญิงที่น่าสนใจ ธุรกิจที่เติบโตรับกับตลาดที่มีผู้หญิงเพิ่มมากขึ้นได้แก่ ธุจกิจท่องเที่ยวและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง, ธุรกิจแฟชั่น, ธุรกิจความงามและสุขภาพ


  • 3
  •  
  •  
  •  
  •  
CLOSE
CLOSE