บริษัทแบบไหนที่ตามรอย Digital Footprint ของเราทุกฝีก้าว

  • 7
  •  
  •  
  •  
  •  

การที่เราเล่น Social Media หรือเกมออนไลน์อยู่ตลอดเวลาทำให้เราจัดการควบคุม Digital Footprint ได้ แต่ขอให้เข้าใจด้วยว่าทำไมมีหลายธุรกิจ หลายบริษัทต้องการเก็บข้อมูลของเรา เก็บแบบไหน เมื่อไหร่ และเก็บอย่างไร

Source: https://europa.eu/youth/go-abroad/working/ten-ways-stand-out-linkedin_en

Digital Footprint คืออะไร?

Digital Footprint คือร่องรอยที่เราได้ทำทุกอย่างบนโลกออนไลน์ ไม่ใช่แค่เราไปคอมเมนต์โพสต์ต่างๆใน Social Media เท่านั้น เราแค่ Log In ก็เกิด Digital Footprint ร่องรอยที่ว่าคือข้อมูลที่เกิดขึ้นระหว่างตัวเรากับคอมพิวเตอร์หรือบัญชีของบริการแพลตฟอร์ต่างๆที่เราไปโพสต์หรือใช้เผยแพร่ข้อมูล ทั้งที่เราตั้งใจ ไม่ได้ตั้งใจให้เกิด และเกิดขึ้นโดยเราไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ เพราะข้อมูลพวกนี้จะถูกระบบเก็บโดยอัตโนมัติ

ซึ่งถ้าเราเล่นอินเตอร์เน็ต มีเครื่องมือช่วยเตือนเรื่อง Digital Footprint ก็เป็นเรื่องดีเพื่อรักษาเครดิตและชื่อเสียงของคนๆนั้น การมี Digital Footprint หลายคนบอกว่ามันอันตรายเพราะสิ่งที่เราทำบนโลกออนไลน์อาจถูกขุดขึ้นมาให้เห็นอีกครั้ง แต่มองในแง่ดี เราสามารถทิ้ง Digital Footprint ดีๆได้เช่น แสดงความคิดเห็นที่มีเหตุผลชัดเจน ใช้ภาษาสุภาพ แบบนี้การมี Digital Footprint ก็ทำให้เรามีเครดิดที่ดีได้เช่นกัน

บริษัทที่จัดเก็บข้อมูลของคนบนออนไลน์ต้องเปิดเผยข้อมูลที่เก็บให้กับคนนั้นด้วย

นี่คือหนึ่งในกฎเหล็กของ General Data Protection Regulation (GDPR) ของ EU คำถามคือ บริษัทที่อยู่ภายใต้กฎที่ว่าทำตามกฎดังกล่าวได้ดีมากน้อยแค่ไหนกัน ซึ่ง Michelle Carvill กับ Ian Macrae ได้สำรวจบริษัทที่ว่าแล้วแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

 

1. บริษัทที่เก็บข้อมูลส่วนตัวไว้น้อยมากๆ นับเป็น 72% ของบริษัทที่ทำการสำรวจทั้งหมด ที่น่าตกใจคือธุรกิจอย่างร้านขายของชำ บริษัทรถไฟ ผู้ให้บริการบัตร Loyal Car บางเจ้า แอปฯมือถือ ก็รวมอยู่ในบริษัทพวกนี้ด้วย อน่างร้านขายของชำก็เก็บข้อมูลของเรานิดเดียวเช่นประวัติการซื้อของ ข้อมูลส่วนตัวของเรานิดหน่อย เช่น ชื่อ รายละเอียดที่ติดต่อได้ แค่นั้น

 

2. บริษัทที่จัดเก็บโปรไฟล์พื้นฐานของเราอย่างละเอียด นับเป็น 19% ของบริษัทที่ทำการสำรวจ บริษัทพวกนี้ได้แก่ ซูเปอร์มาร์เก็ต สายการบิน วีดีโอเกม สถาบันทางการเงิน ซึ่งจริงๆบริษัทพวกนี้จำเป็นต้องเก็บข้อมูลลูกค้าอย่างละเอียดภายใต้กฎหมายของตัวมันเอง ที่ไม่ใช่ GDPR อยู่แล้ว เช่นสถาบันทางการเงิน ก็สมเหตุสมผลที่ต้องมีข้อมูลลูกค้าอย่างละเอียดภายใต้ฎหมายทางการเงิน หรือสายการบินต้องมีข้อมูลของเราอย่างละเอียดเพื่อล็อกข้อมูลกับสายการบินที่เราขึ้น

 

3. บริษัทที่จัดเก็บข้อมูลส่วนตัวของเราอย่างละเอียดยิบ นับเป็น 9% ของบริษัททั้งหมด ได้แก่ Google, Amazon, Facebook และ Twitter คนที่สำรวจบอกว่า บริษัทพวกนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับตัวเขาเองอยู่ 99%

 

ข้อมูลส่วนตัวที่ถูกจัดเก็บจะทำให้ธุรกิจเห็นพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างละเอียด

เรื่องนี้บริษัทที่เก็บข้อมูลจากลูกค้าไม่รู้ตัวหรอก เพราะข้อมูลที่เก็บได้มันเป็นเพียงแค่เสี้ยวหนึ่งของพฤติกรรมลูกค้า แต่เมื่อลองเอาข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าคนหนึ่งจากทุกๆบริษัทที่เก็บข้อมูลไป เอามารวมกัน จะทำให้บริษัทพวกนี้รู้จักลูกค้ามากกว่าที่ลูกค้ารู้จักตัวเองเสียอีก รู้ว่าของชิ้นต่อไปที่จะซื้อคืออะไร ชอบซื้อของแบบไหน ชอบสื่อสารส่งข้อความแบบไหน ฯลฯ

ที่น่ากลัวคือยังมีอีกหลายบริษัทที่ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวที่เราให้ไปให้เราเห็นด้วยซ้ำ โดยเฉพาะข้อมูลที่เราไม่รู้ตัวว่าเราได้ให้ไป และยากมากที่ผู้บริโภคจะควบคุมว่าข้อมูลไหนควรให้ไม่ควรให้ในเมื่อไม่รู้ว่าข้อมูลแบบไหนที่อาจจะถูกเก็บไป

ยกตัวอย่างเช่นข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ที่เราไปบ่อยๆ ต่อให้เราไม่ได้เปิดแอปฯที่เกี่ยวกับการเดินทาง ตัวมือถือก็เก็บข้อมูลที่ว่าโดยที่เราไม่รู้ตัว บริษัทที่เก็บข้อมูลก็สามารถเอาไปคำนวนว่าแต่สถานที่ที่เราไป ใช้เวลาเดินทางเท่าไหร่ เอาไปวิเคราะห์ต่อได้ โดยที่เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่า บริษัทรู้ได้อย่างไรว่าเราควรใช้เวลาเท่าไหร่ในการเดินทางไปยังแต่ละที่

 

ฉะนั้นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลถึงต้องระบุด้วยว่า เราในฐานะผู้ให้ข้อมูลจะต้องเป็นฝ่ายให้ความยินยอมที่จะให้ข้อมูลของเราถูกจัดเก็บ หลังๆเราจะเห็น Pop-up ขอเก็บ Cookie จากเราในฐานะ Visitor

คำถามคือจะมีสักกี่คนที่มาอ่านรายละเอียดว่าข้อมูลอะไรบ้างที่จะถูกจัดเก็บไป ฉะนั้นโจทย์ที่ใหญ่กว่าการขอ Consent คือการทำให้ผู้บริโภคได้ตระหนักรู้ว่าข้อมูลอะไรที่จะถูกเก็บไปมากกว่าครับ

 

แหล่งอ้างอิงส่วนหนึ่งจาก Myths of Social Media: Dismiss the Misconceptions and Use Social Media Effectively in Business โดย Ian MacRae และ Michelle Carvill


  • 7
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th
CLOSE
CLOSE