เคล็ดลับที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซควรรู้ กลยุทธ์เพิ่มไอคอน ‘ปุ่มซื้อ’ ยิ่งมาก ยิ่งกระตุ้นยอดขายเพิ่ม

  • 15
  •  
  •  
  •  
  •  

 

หากถามถึงความต้องการของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ว่าพวกเขาต้องการอะไรจากผู้บริโภค คำตอบที่ได้รับแน่ๆ คงเป็นการปิดดีลขายที่ง่ายขึ้น ลูกค้าตัดสินใจควักเงินจ่ายเร็วขึ้น ไม่ใช่แค่การเข้ามาท่องเที่ยวชมหน้าร้านออนไลน์ เหมือนว่ากำลังเดินอยู่ในสวนดอกไม้ยังไงอย่างนั้น

เคล็ดลับหนึ่งของ Jae Hermann ในฐานะที่เป็นผู้ประกอบ และเป็นคนสร้างเว็บไซต์ jae Hermann+co บริการด้านการแก้ไขและพิสูจน์ตัวอักษร เป็น storytelling studio สำหรับนักเขียน ซึ่งเธอได้พูดถึงการกระตุ้นความอยากได้ ต้องการซื้อของลูกค้า ด้วยการย้ำสิ่งหนึ่งบ่อยๆ เช่น การแสดงปุ่มซื้อบ่อยๆ หลายที่ในรูปแบบที่แตกต่างกัน จะช่วยให้ธุรกิจมีโอกาสปิดการขายได้ง่ายขึ้น

Hermann ขยายความเกี่ยวกับ Buy Button (ปุ่มซื้อของ) เพิ่มเติมว่า ปุ่มนี้เป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดที่จะทำให้เราปิดการขายได้ ดังนั้น มันต้องไม่ซับซ้อน ง่ายที่จะเข้าใจ และมีกระบวนการที่รวดเร็ว ไม่ว่าปุ่มซื้อบนหน้าเว็บไซต์, แอปพลิเคชั่น หรือบนแพลตฟอร์มใด เราควรใช้คำที่หลากหลาย เช่น

  • ไอคอนตะกร้า
  • คลิก ‘buy’
  • คลิก ‘order’
  • คลิก ‘order now’
  • คลิก ‘get it’
  • ปุ่ม checkout

ขณะเดียวกัน ลูกค้าต้องง่ายในการหาปุ่มซื้อ – จ่ายเงิน – จัดส่ง ซึ่ง 3 ขั้นตอนนี้คือ ขั้นตอนพื้นฐานและควรมีกระบวนการสั้นกระชับ ข้อมูลการตรวจสอบแม่นยำแต่ใช้ข้อมูลน้อย ยิ่งกรอกข้อมูลเยอะเท่าไหร่ โอกาสที่ลูกค้าจะหลุดมือก็จะสูงขึ้น

Jae Hermann ใช้กลยุทธ์นี้และมองว่ามันประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง คือ เธอมีลูกค้าประจำเพิ่มขึ้น และพวกเขายินดีที่จะsubscription ช่องทางบริการของเธอ เพราะวิธีการใช้มันง่ายและตอบโจทย์พวกเขา ลูกค้าของเธอใช้เวลาในการซื้อบริการน้อยลง ตั้งแต่กระบวนการเลือกคอร์สเรียน, โค้ชชิ่ง (Coaching) ไปจนถึงการจ่ายเงิน

ดังนั้น สิ่งที่ Jae Hermann คิดว่าธุรกิจอื่นสามารถต่อยอดได้ ก็คือ การจูงใจลูกค้าด้วยปุ่มซื้อหลายๆ ที่ในร้านออนไลน์ของพวกเขา หรือแม้แต่ปุ่มบริจาคเงินสำหรับ NGOs แต่ควรต้องเป็นคำที่หลากหลาย ไม่ใช้คำเดียวกัน เพราะมันจะทำให้ลูกค้ารู้สึกอึดอัดได้ ถ้าเปรียบเทียบให้ชัดขึ้น คงคล้ายๆ กับเวลาที่เราเดินดูของในร้านหนึ่ง แล้วมีพนักงานขายถามเราซ้ำๆ ด้วยคำถามเดิมว่า “รับสินค้าเลยมั้ยคะ?” เราก็คงอึดอัดไม่ต่างกัน

Jae Hermann ได้ยกตัวอย่างปุ่มซื้อบริการบนเว็บไซต์ของเธอ ว่ามันเพิ่มความสนุกและเล่นกับ CTA (Call-To-Action) ได้ดี อย่างเช่น get motivated, get badassery, get support ฯลฯ ซึ่งไม่ว่าลูกค้าจะคลิกปุ่มไหน ขั้นตอนต่อไปจะไปยังหน้าการชำระเงินเสมอ

 

 

เคล็ดลับอีกหนึ่งอย่างของ Jae Hermann คือ การเพิ่มปุ่มซื้อไว้ที่ตรงกลางเว็บไซต์ ไม่จำเป็นต้องอยู่ส่วนท้ายเสมอไป Hermann พูดว่า “เมื่อก่อนเข้าใจว่าลูกค้าน่าจะรออ่านให้จบก่อนถึงตัดสินใจซื้อไม่ซื้อ แต่ตอนนี้พวกเขา (บางคน) ไม่ได้อ่านจนจบด้วยซ้ำ ดังนั้น ปุ่มซื้อจำเป็นต้องเพิ่มในส่วนกลางของเว็บไซต์ด้วย หรือส่วนอื่นตามความเหมาะสมกับธุรกิจนั้นๆ”

อย่างไรก็ตาม ทุกธุรกิจจะมีจุดแข็งจุดอ่อนที่ต่างกันออกไป ดังนั้นการลองปรับใช้กลยุทธ์นั้นๆ สำคัญมาก อย่างน้อยเราก็ได้ลองทำก่อนซึ่ง learning by doing ก็น่าว่าเหมาะกับยุคนี้เพราะความสนใจผู้บริโภคเปลี่ยนไปค่อนข้างเร็ว

 

 

 

ที่มา: fastcompany


  • 15
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม