จาก ‘ดิจิทัลแบงค์’ สู่ ‘AI Bank’ ธนาคารแห่งอนาคต

  • 1.7K
  •  
  •  
  •  
  •  

AI-bank(cover)

ช่วงนี้ เทรนด์ “ธนาคารแห่งอนาคต” กำลังมาแรงในหมู่อีเวนท์ FinTech ทั่วเอเชีย ธนาคารในอนาคตหน้าตาเป็นอย่างไรบ้าง คำตอบที่อาจจะได้ยินจากคนในวงการธนาคารคือ เป็นดิจิทัลแบงค์ เป็น “open แบงค์” เป็น “modular แบงค์” และเป็น “challenger แบงค์” ซึ่งเน้นความโปร่งใสและสามารถเปิดเผยได้ของข้อมูล

แต่การเติบโตแบบก้าวกระโดดของ FinTech เป็นตัวจุดประกายให้กับคนในแวดวงธนาคารได้พูดคุยและวิเคราะห์กันถึงภาพของธนาคารในยุคหน้า หลังจากยุคของธนาคารแห่งอนาคต เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่พัฒนากันภายใต้ FinTech ในวันนี้จะรวมเข้ากับธนาคารและระบบธนาคารในวันหน้า โดยจะรวมเอาคุณลักษณะของธนาคารในอนาคตไม่ว่าจะเป็น open, modular และ challenger ไว้ในเครื่องมือสื่อสารชิ้นเดียวของทุกคน

แต่ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ผู้เล่นในกลุ่ม FinTech มากกว่า 400 บริษัท และสตาร์ทอัพด้าน AI มีมากกว่า 100 บริษัทเกิดขึ้นท่ามกลางกระแส disruptive technology

นักวิเคราะห์เชื่อว่า ในอนาคต ดิจิทัลแบงค์ทั้งหมดจะกลายพันธุ์มาเป็น “A Iแบงค์” ซึ่งเป็นธนาคารที่ดำเนินกิจการด้วย AI หรือ “ปัญญาประดิษฐ์” หรือ แอพลิเคชันที่ใช้ AI ในการจัดการตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งจะทำให้ศักยภาพความเป็นธนาคาร หลังยุคธนาคารแห่งอนาคต ก้าวไกลไปกว่าคอนเซ็ปต์ธนาคารแบบ open และ modular อย่างมาก และแน่นอน การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการเงินทุกอย่างกำลังมุ่งไปสู่ถนนแห่งอนาคตที่มี AI เข้ามาช่วย และก้าวข้ามยุคของหุ่นยนต์ที่ทำงานแบบเรียง่ายไปได้เลย

 

อนาคตสู่ “AIแบงค์”

สิ่งที่ได้จากการพัฒนาเทคโนโลยีในยุคอินเทอร์เน็ตและโมบาย ในแง่ของการทำธุรกรรมและการธนาคาร คือ challenger และดิจิทัลแบงค์ หัวใจสำคัญในการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ตล้วน ๆ คือต้องปิดธนาคารที่เป็น physical bankไปก่อน และทำให้การดำเนินกิจการทุกอย่างเกิดขึ้นบนออนไลน์แทน

การทำธุรกรรมทุกอย่างบนอินเทอร์เน็ตช่วยลดต้นทุนการจ้างงาน และช่วยให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายขึ้นและมีประสิทธิภาพสำหรับลูกค้ารุ่นใหม่ที่เกิด และเติบโตมาในยุคของดิจิทัลอยู่แล้ว

สิ่งที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่เราได้เห็นทุกวันนี้ทำให้เราเข้าสู่ยุคใหม่ของการเงินการธนาคาร มีการใช้งานมนุษย์น้อยลง และให้เครื่องจักรที่อาจจะยังไม่สามารถทำงานได้ขนาดหุ่นยนตร์เข้ามาช่วยสนับสนุนงานลูกค้าสัมพันธ์ แต่เครื่องจักรเหล่านี้จะพัฒนาขึ้นจากอัลกอลิธึมไปสู่ AI ที่มีชาญฉลาดและเข้าอกเข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างลึกซึ้ง ซึ่งใกล้เคียงกับ Google Duplexซึ่งเป็นอีกเทคโนโลยี AIของ Google ที่นำมาใช้รับรองการทำงานที่ซับซ้อนของภาษาได้ ยิ่งจะเหนือชั้นกว่าบริการฮ็อตไลน์ลูกค้าสัมพันธ์อัตโนมัติที่เราคุ้นเคยกันอยู่ทุกวันนี้

 

“AI แบงค์” คืออะไร

“AIแบงค์”คือธนาคารที่ดำเนินงานด้วย AI หรือแอพพลิเคชั่นที่ใช้ AI ในการดำเนินงาน ซึ่งธนาคารเหล่านี้ดึงAI เข้ามาเพื่อช่วยเสริมในเรื่องของการสื่อสารและกระบวนการอัตโนมัติ ผ่านความสามารถด้านปัญญาของเครื่องจักร เทรนด์ปัจจุบันที่ยังติดอยู่กับ “ธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต” ยังเป็นเรื่องที่หลายคนพูดถึงกันอยู่และเทรนด์หลักก็ยังเป็นเรื่องของการวิเคราะห์ในภาคการธนาคาร เมื่อ AI เข้ามามีบทบาทสำคัญในภาคธุรกิจนี้ ประเด็นของ “AIแบงค์” ก็จะมีการพูดถึงในอนาคตอย่างค่อยเป็นค่อยไป และจนในที่สุด ก็พูดถึงเรื่อง “ธนาคารที่ใช้ AIเท่านั้น” ในหมู่นักการธนาคารและ FinTech

“AIแบงค์”มีข้อดีต่อภาคการเงินและการธนาคารเป็นอย่างมาก การนำเอา AIมาใช้มีประโยชน์ตรงที่ช่วยลดต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะเรื่องของแรงงานคน ซึ่งอีกไม่นาน การพัฒนาดังกล่าวก็จะเริ่มพูดถึงธนาคารที่ไม่จำเป็นต้องมีนายธนาคาร เจ้าหน้าที่ธนาคาร หรือสาขาที่ตั้งของธนาคารอีกต่อไป เช่นเดียวกับวงการขนส่งและยานยนต์ที่ประโคมข่าวกันว่า รถยนต์ในอนาคตไม่จำเป็นต้องมีคนขับ สตาร์ทอัพด้าน FinTech และบริษัท techยักษ์ใหญ่อาจกำลังเริ่มซุ่มนำ AIเข้ามาสู่วงการนี้อย่างจริงจังแล้ว และต่อไปบรรดาธนาคารก็จะต้องตามกันให้ทัน  

 

ในวันที่การทำธุรกรรมไม่ต้องทำผ่านมนุษย์

การทำธุรกรรมโดยที่ไม่ต้องผ่านเจ้าหน้าที่ธนาคารก็เหมือนกับรถที่ไม่ต้องมีคนขับ เราคุ้นเคยกับคำพูดบนหน้าสื่อต่าง ๆ ว่า ต่อไปนั่งรถจะไม่ต้องมีคนขับแล้ว คำถามคือ ทำธุรกรรมแบบไม่ต้องทำผ่านเจ้าหน้าที่และนั่งรถโดยไม่ต้องมีคนขับ แบบไหนจะทำง่ายกว่ากัน แน่นอนว่า การทำธุรกรรมไม่ต้องผ่านเจ้าหน้าที่ธนาคารจะง่ายกว่า เพราะไม่ได้มีความยุ่งยากอะไรเมื่อเทียบกับการขับรถ หรืออย่างน้อยก็ไม่ต้องวุ่นวายควบคุมเครื่องจักร ยิ่งไปกว่านั้น ภาคการธนาคารทั่วโลกก็ปรับปรุงในเรื่องของดิจิทัลกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ก็ได้อานิสงค์จากบรรดา FinTech

แน่นอนว่า สิงที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตจะเปิดศักราชใหม่ให้กับการธนาคารแบบอัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบ และน่าทึ่ง สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจะช่วยปูทางให้กับโลกการเงินและการธนาคารยุคใหม่เป็นอย่างดี ทุกอย่างจะเป็นไปอย่างช้า ๆ เริ่มจากการเปลี่ยนผ่านของ “การเงินการธนาคารแบบดั้งเดิม” และ “ธนาคารดิจิทัล” และในที่สุดก็ไปสู่ยุคใหม่ของ “AIแบงค์” อย่างสมบูรณ์

 

เขียนโดย Joel Ko
ที่มา Tech in Asia


  • 1.7K
  •  
  •  
  •  
  •  
Lilly
วณิชชา สุมานัส