ถอดบทเรียนการฝ่าวิกฤตของ ‘นีโอ สุกี้’ ที่ต้อง ‘รีบลุกขึ้นสู้’ และ ‘พาร์ทเนอร์’ คือสิ่งสำคัญ

  • 858
  •  
  •  
  •  
  •  

โลกธุรกิจในปัจจุบัน เป็นยุคที่เราไม่สามารถเดินไปเพียงลำพังได้ แต่ต้องมี ‘เพื่อน’ หรือ ‘พาร์ทเนอร์’ ที่พร้อมจะเดินเคียงข้างและเติบโตไปด้วยกัน โดยเฉพาะในยามเกิดวิกฤต

อย่างกรณีของ ‘บริษัท นีโอ สุกี้ไทยเรสเทอรองส์’ เจ้าของแบรนด์ร้านสุกี้ชื่อดัง ‘นีโอ สุกี้’ ที่ตอนนี้ต้องเจอพิษโควิด-19 ซึ่งนอกจากรีบตั้งสติ เพื่อสร้างความแกร่งให้กับตนเองแล้ว ประเด็นสำคัญ คือ การมีพาร์ทเนอร์ดีและเข้ามาในจังหวะที่ต้องการแบบถูกที่ถูกเวลา

ณัฐพล กัปปิยจรรยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท นีโอ สุกี้ไทยเรสเทอรองส์ จำกัด ทายาทรุ่น 2 ที่เข้ามารับช่วงบริหารงานต่อจากคุณพ่อเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา เล่าว่า ‘นีโอ สุกี้’ เกิดขึ้นในปี 2543 เป็นร้านสุกี้สไตล์ Homemade มีจุดเด่นในการคัดสรรวัตถุดิบชั้นเลิศ มีความพิถีพิถันในทุกกระบวนการผลิต และเป็นธุรกิจครอบครัวที่คุณพ่อ ซึ่งเดิมทำธุรกิจขนส่งกระจายสินค้าด้วยรถสิบล้อมากว่า 30 ปี เป็นผู้บุกเบิกขึ้นมาในปี 2543 เพราะได้รับแรงบันดาลใจจากการชอบรับประทานอาหารในหม้อร้อน ๆ

ปัจจุบันนีโอ สุกี้มีสาขาทั้งหมด 21 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล นอกจากธุรกิจร้านสุกี้แล้ว บริษัทยังมีธุรกิจร้านอาหารอีก 3 แบรนด์ที่อยู่ในเครือ ได้แก่ มิสเตอร์กังฟู 1 สาขา  ซุนวูบาร์บีคิว 1 สาขา ข้าวแกงเฮียเพ้ง 2 สาขา และกำลังจะเปิดสาขาที่ 3 เร็วๆ นี้

“เราใช้แนวคิดการขยายสาขาให้ทุกย่างก้าวเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ที่ผ่านมาเราเน้นการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรจนสามารถสร้างยอดขายและขยายได้อย่างต่อเนื่อง”

เจอพิษโควิด19 จนเหมือนนักมวยถูกน็อคจนล้ม

ทว่าธุรกิจที่กำลังไปได้ดี กลับต้องมาสะดุด เพราะเจอพิษโควิด-19 และหนักมากขึ้นเมื่อมีการประกาศล็อกดาวน์ปิดห้างสรรพสินค้าและร้านอาหารชั่วคราว เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว ซึ่งณัฐพล บอกว่า จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ตัวเองเหมือนนักมวยถูกหมัด(โควิด-19) จนน็อคเลยทีเดียว

เพราะก่อนหน้านี้ภาวะเศรษฐกิจในปีนี้ดูมีทีท่าไม่ค่อยดีนัก และคาดการณ์ว่า จะอยู่ในภาวะชะลอตัว แต่คิดไม่ถึงจะมีวิกฤตจากการระบาดของโควิด-19 เข้ามาซ้ำเติม แถมยังรุนแรงมากและกระทบกับธุรกิจครอบครัวเป็นอย่างมาก

“โชคดีที่พอได้ข่าวที่อู่ฮั่นจึงได้วางแผนเตรียมรับมือไว้บ้าง เช่น ไม่เพิ่มพนักงาน คุมต้นทุนอาหาร และปรับลดชั่วโมงทำงานนอกเวลาของพนักงาน จนเมื่อมีคำสั่งปิดห้างสรรพสินค้าและร้านอาหารปิดชั่วคราว ตั้งแต่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา รู้ทันทีสถานการณ์แบบนี้ขายของไม่ได้แน่นอน ต้องหาทางแก้ไขให้ขาดทุนน้อยที่สุด  เพราะวันนั้นรถขนส่งสินค้าและวัตถุดิบที่เตรียมไว้ให้สาขาต่างๆ เพียงพอรองรับลูกค้าในวันเสาร์และวันอาทิตย์ถูกตีกลับมาที่โรงงาน มูลค่าความเสียหายในวันนั้นหลายล้านบาท”

แม้ล้ม ต้องรีบลุกสู้ 

วิกฤตครั้งนี้ แม้จะเหมือนนักมวยถูกต่อยแบบหมัดต่อหมัดจนน็อคไป 2-3 วัน และอย่างไรก็ตาม โควิด-19 ยังต้องอยู่ไปอีกนาน จนกว่าจะค้นพบวัคซีนป้องกันได้

ดังนั้นโจทย์ใหญ่ของธุรกิจตอนนี้ คือ ทำอย่างไรให้ธุรกิจเดินต่อไปได้ ทำให้เราต้องรีบตั้งสติและลุกขึ้นยืนกลับให้เร็วที่สุด โดยภารกิจ ต้องพยายามหาทางสร้างรายได้ทั้ง ๆ ที่สาขาต้องปิดทั้งหมด

เริ่มจากการลุกขึ้นมาทำการขายแบบเดลิเวอรี่ ซึ่งโจทย์ที่สำคัญของการขายผ่านรูปแบบใหม่ คือ ต้องคงคุณภาพของวัตถุดิบให้อร่อยเหมือนได้ทานที่ร้าน

สุดท้ายก็ค้นพบทางออกว่า ทำอย่างไรให้วัตถุดิบที่อยู่กลางแดด 30 นาที ไม่สูญเสียความสดใหม่ไป จึง ได้ตั้งทีมกู้วิกฤตโควิด-19 ให้พนักงานในทีมแต่ละคน ต้องทำงานครบทุกรูปแบบ หรือ มัลติฟังก์ชั่น พร้อมกับเลือกเปิดสาขาที่มีความพร้อมในการจัดส่งเดิลิเวิรี่ก่อนจำนวน 5 สาขา แบ่งพนักงานเป็นทีมสลับวันทำงาน เพื่อรักษาคุณภาพการส่งมอบ ทำให้ยังมีรายได้เข้ามาแม้สาขาจะปิดก็ตามที และตอนนี้มีร้านเปิดให้บริการเดลิเวอรี่ได้ 7 สาขา

‘กรุงไทย’ พาร์ทเนอร์เข้ามาช่วยถูกจังหวะ

การจะขับเคลื่อนธุรกิจเดินต่อไปได้ในภาวะวิกฤตแบบนี้ นอกจากต้อง ‘ตั้งหลักสู้’ แล้ว การวางแผนทางการเงินถือเป็นหัวใจสำคัญไม่แพ้เรื่องใด ๆ

“ในภาวะที่รายได้เกือบจะเป็นศูนย์ เราต้องสำรวจตัวเอง รู้ว่าเงินสดหมุนเวียนในธุรกิจมีทั้งหมดเท่าไหร่ ต้องจ่ายค่าแรงพนักงานเท่าไหร่ ค้างชำระใครบ้าง มียอดคงค้างทั้งหมดเท่าไหร่ จากนั้นต้องปรึกษาธนาคาร เจรจาเรื่องดอกเบี้ยของวงเงินที่ดูว่า ธนาคารจะช่วยเหลืออะไรได้บ้าง”

สำหรับทางนีโอ สุกี้ เองเป็นลูกค้าของธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็นธนาคารชั้นนำของประเทศที่มีมาตรการช่วยเหลือลูกค้า เพื่อเยียวยาและบรรเทาความเดือดร้อนจากการระบาดของโควิด-19 โดยในจังหวะที่ต้องการกำลังจะโทรไปปรึกษา

แต่ทางเจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงไทยที่ดูแลนีโอ สุกี้ กลับติดต่อมาก่อน เหมือนรู้ว่า ตอนนี้ต้องการความช่วยเหลือ โดยแจ้งข่าวดีว่า ธนาคารจะพักชำระเงินต้นทันที 1 ปี และเมื่อขอ Soft Loan ไป ก็ได้รับอนุมัติเร็วมาก ทำให้มีกระแสเงินสดมาหมุนเวียนธุรกิจ เช่น จ่ายค่าวัตถุดิบ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ฯลฯ และสามารถขับเคลื่อนธุรกิจให้สามารถเดินต่อไปได้

สมกับที่ว่า ธนาคารกรุงไทยรู้ใจลูกค้า ช่วยเหลือธุรกิจได้ถูกที่รวดเร็ว และทันเวลา และขอให้กำลังใจผู้ประกอบการทุกท่านให้ผ่านช่วงเวลานี้ไปด้วยกัน โดยเตรียมพร้อมอย่างเต็มที่ที่จะให้บริการลูกค้าเมื่อเริ่มต้นเปิดร้านได้อีกครั้ง

สำหรับ 5 มาตรการที่ธนาคารกรุงไทยดูแลลูกค้า ประกอบด้วย

มาตรการที่ 1 ลูกค้าสินเชื่อบุคคลภายใต้กำกับ และลูกค้าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ที่วงเงินกู้ไม่เกิน 3 ล้านบาท พักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยนาน 4 เดือน ลดดอกเบี้ยลง 0.25% ต่อปี จากสัญญากู้เดิมนาน 4 เดือน

มาตรการที่ 2 ลูกค้าบุคคลและลูกค้าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ที่มีเอกสารแสดงรายได้ลดลง พักชำระเงินต้น (ชำระเฉพาะดอกเบี้ย) นาน 6 เดือน ลดดอกเบี้ยลง 0.25% ต่อปี จากสัญญากู้เดิมนาน 6 เดือน

มาตรการที่ 3 ลูกค้าธุรกิจที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 100 ล้านบาท พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยนาน 6 เดือนอัตโนมัติ

มาตรการที่ 4 ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางขึ้นไป ที่มีเอกสารแสดงรายได้ลดลง พักชำระหนี้เงินต้นวงเงินสินเชื่อระยะยาว (Term Loan) สูงสุด12 เดือน ขยายระยะเวลาชำระหนี้สำหรับตั๋วสัญญาใช้เงิน (P/N)และสินเชื่อเพื่อการค้าต่างประเทศ สูงสุด 6 เดือน

มาตรการที่ 5 ลูกค้าธุรกิจที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท สนับสนุนสินเชื่อ Soft Loan วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 20% ของยอดหนี้คงค้าง ณ 31 ธันวาคม 2562 ระยะเวลากู้สูงสุด  5 ปี อัตราดอกเบี้ย 2 ปีแรก 2% ต่อปี พักชำระเงินต้นสูงสุด 12 เดือน ไม่ต้องชำระดอกเบี้ย 6 เดือนแรก

ลูกค้าธนาคารติดต่อขอรับความช่วยเหลือในมาตรการต่างๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการได้ ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านเว็บไซต์ krungthai.com/covid19 และ Krungthai Contact Center โทร. 02-111-1111 ธนาคารกรุงไทยพร้อมเคียงข้าง ลุยช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มอย่างเต็มที่

ทุกวิกฤตย่อมมีทางออก ทุกธุรกิจต้องยืนได้อีกครั้ง เพียงแค่มี “พาร์ทเนอร์” ที่สู้เคียงข้างกัน


  • 858
  •  
  •  
  •  
  •  
CLOSE
CLOSE