ย้อนกลับไปปี 2007 ยุคที่ค่ามือถืออย่าง Nokia, Samsung, Motorola, Sony Ericson และ LG เป็นเจ้าตลาด ทำรายได้ไป 90% รวมกันทั่วโลก ในขณะที่ Apple ในตอนนี้ยังไม่ได้เป็นที่รู้จัก แต่พอมาปี 2015 Apple กลับทำกำไรจากสมาร์ทโฟนไปได้ 92% ทั่วโลก ขณะที่ค่ายมือถืออื่นๆแทบทำกำไรจากมือถือไม่ได้เลย
อะไรคือความสำเร็จของ Apple และธุรกิจอื่นๆในยุคดิจิทัล? คำตอบคือ Apple ไม่ได้มองว่าสมาร์ทโฟนเป็นเพียงแค่สินค้าที่ต้องขายออกไป มันเป็นเพียงแค่ประตูไปสู่ Platform ให้กลุ่มนักพัฒนาแอปฯได้มาเจอกับกลุ่มผู้บริโภคได้มาซื้อขายกันต่างหาก
พลังของ Platform เปลี่ยนเกมธุรกิจอย่างไร?
ในยุคดิจิทัลที่การสื่อสารเป็นเรื่องง่าย ใครๆก็เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้รวดเร็ว กติตาและกลยุทธ์การทำธุรกิจก็เปลี่ยนไปเป็นแบบ Platform มากขึ้น ธุรกิจที่มี Platform จะเป็นธุรกิจที่นำผู้ผลิตและผู้บริโภคมาเจอกันเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการที่มีคุณค่า เมื่อเกิดคุณค่า ก็ทำให้ดึงดูดผู้ผลิตและผู้บริโภคมากขึ้นจนเกิดสิ่งที่เรียกว่า Network Effect นั่นเอง
จากเดิมที่ธุรกิจที่จะได้เปรียบคู่แข่งเมื่อเป็นเจ้าของทรัพยากร คอยควมคุมกิจกรรมภายในธุรกิจต่างๆตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เราจะเห็นธุรกิจที่ส่งเสริมความสามารถในการรวบรวม วิเคราะห์และแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ผลิตและผู้บริโภค เพื่อเพิ่มคุณค่าภายในระบบ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพยากรใดๆด้วยซ้ำ
นอกจากนั้น Platform Business จะโฟกัสหาทางขยายผู้ใช้ Platform ให้มีกิจกรรม มีปฎิสัมพันธ์ เพราะการมีปฏิสัมพันธ์ มีการซื้อขายระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคมากขึ้น จะสร้างคุณค่าให้กับตัวธุรกิจ มากกว่าจะมานั่งโฟกัสหาทางให้ลูกค้าซื้อสินค้าที่ธูรกิจเป็นผู้ผลิตเพื่อเพิ่ม Customer Lifetime Value โดย Platform Business จะคอยสังเกตตัวชี้วัดที่บอกถึงคุณภาพและปริมาณของกิจกรรมระหว่างผู้ผลิตผ็บริโภคเพื่อปรับปรุง Platform ต่อไป
Network Effect เปลี่ยนระบบเศรษฐกิจอย่างไร?
ถ้าอยู่ในยุคอุตสาหกรรม ธุรกิจต้องแบกต้นทุนคงที่มหาศาลโดยเฉพาะโรงงานผลิตต่างๆ มีต้นทุนส่วนต่างต่ำ ธุรกิจไหนที่มีต้นทุนเฉลี่ยต่ำย่อมได้เปรียบคู่แข่ง เพราะจะสามารถผลิตของออกมาขายได้มากกว่า ทำให้ลดราคาให้ถูกกว่าคู่แข่ง สุดท้ายก็ผูกขาดตลาด ผูกขาดทรัพยากร และช่องทางจำหน่าย
แต่ในยุคดิจิทัล สิ่งที่เรียกว่า Network Effect จะมีบทบาทมากขึ้น มีเทคโนโลยีที่ทำให้การเชื่อมคนหรือกลุ่มคนเป็นเรื่องง่าย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักพัฒนาแอปพลิเคชั่นและเว็บไซต์ ผู้บริโภค ฯลฯ ธูรกิจไหนที่เชื่อกลุ่มผ็คนได้มากกว่าจะได้เปรียบในการแข่งขัน ไม่ใช่ธุรกิจที่เป้นเจ้าของตลาดและทรัพยากรอีกต่อไป จากธุรกิจที่กลัวอำนาจต่อรองของซัพพลายเออร์และอำนาจต่อรองของผู้บริโภค ธุรกิจที่สามารถสร้าง Network Effect จะไม่ต้องกังวลเรื่องแบบนี้อีกต่อไป
ความท้าทายแบบไหนที่ Platform Business ต้องเผชิญ?
ที่ชัดเจนที่สุดคือต้องรักษากลุ่มผู้ผลิตและผ็บริโภคให้ได้มากที่สุด เพราะพวกนี้พร้อมที่จะออกไปจากแพลตฟอร์มได้ง่ายๆเลยถ้าเห็นว่ามีแพลตฟอร์มอื่นที่สร้างหรือให้มูลค่าได้มากกว่า Zynga ที่ทำเกม Farmville บน Facebook เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนจนต่อมา Zynga พยายามดึงผู้เล่นให้มาเล่นบนแพลตฟอร์มของตัวเอง ไม่ใช่ Facebook
บางครั้งผู้บริโภคหลายคนก็เป็นผู้ผลิตเองได้ด้วย ตัวอย่างเช่นวันนี้เราอาจจะจองห้องพัก AirBnb แต่ในขณะเดียวกันเราก็เปิดห้องให้จองบน AirBnb บางที่เราซื้ออาหารผ่าน Grab แต่วันรุ่งขึ้นเราต้องเป็นคนส่งอาหารไปให้คนอื่นก็ได้ ธุรกิจที่ทำงานกับแพลตฟอร์มต้องให้มั่นใจว่าแพลตฟอร์มของตัวเองจะสร้างคุณค่าให้คนได้อยู่ตลอด
ความท้าทายเรื่องของขอบเขตการให้บริการก็เป็นอีกเรื่องที่ท้าทาย อย่าง Google ก็ไม่ได้เป็นธุรกิจให้บริการค้นหา แต่ขยายธุรกิจเป็นการค้นหาตำแหน่งสถานที การทำระบบปฏิบัติการสมาร์ทดีไวซ์ รถยอนต์ไร้คนขับ การจำเสียง ฯลฯ นั่นหมายความว่า Google จะต้องพร้อมแข่งกับธุรกิจอื่นๆที่ทำเรื่องดังกล่าวอยู่แล้วด้วย
คววามท้าทายอีกอย่างหนึ่งคือต้องมั่นใจว่ากลุ่มคนในแพลตฟอร์มทำเรื่องที่ธุรกิจอยากให้เกิดขึ้นจริงเพื่อสร้างมูลค่าได้จริง ยกตัวอย่างเช่น LinkedIn จากที่เคยเป็นแพลตฟอร์มสำหรับสร้างคอนเน็คชั่นเพื่อนร่วมอาชีพ กลายเป็นแพตลฟอร์มสำหรับคนหางานกับคนว่าจ้างไปแล้ว ซึ่งกลายเป็นเรื่องที่ดีที่จะขายคุณค่าให้กับคนในวงกว้างมากขึ้น
สุดท้ายก็คือเรื่องของการดูแลประสิทธิภาพของแพลตฟอร์มผ่านตัวชี้วัตต่างๆ ดูยอด Engagement ยอดการสั่งซื้อ ว่ามากน้อยแค่ไหน แพตลฟอร์มีผู้ผลิตที่เสริฟสิ่งที่ผู้บริโภคมากน้อยแค่ไหน เพราะถ้าผ฿ผลิตทำแอปฯ ทำอาหาร ปล่อยคอนเทนต์ที่คนไม่ค่อยสนใจจะดู จะซื้อ แพตลฟอร์มก็ต้องตกที่นั่งลำบากแน่
ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องราวของการทำธุรกิจที่ใช้แพลตฟอร์มเป็นหลัก ข้อดีก็มีอยู่เยอะ แต่วิธีการทำงานก็ต้องเปลี่ยนตามด้วยเช่นกันครับ
แหล่งอ้างอิง Pipeline, Platform and the New Rules of Strategy โดย MARSHALL W. VAN ALSTYNE, GEOFFREY G. PARKER และ SANGEET PAUL CHOUDARY