9 เทคนิคของนักแสดงตลกที่จะทำให้พรีเซนเตชั่นของคุณไม่น่าเบื่อ

  • 21
  •  
  •  
  •  
  •  

WP-Shazia1

แม้เรื่องเอนเตอร์เทนและธุรกิจอันเคร่งเครียดจะดูเหมือนเป็นคนละเรื่องกัน แต่หากคุณทำให้การพรีเซนต์งานต่อหน้าลูกค้า หัวหน้างาน หรือผู้บริหารมีความสนุกสนานในระดับทำให้พวกเขาไม่เบื่อและจดจ่อกับตัวเลขและผลการรายงานของคุณได้ การพรีเซนต์งานครั้งนี้ก็คงราบรื่นขึ้นไม่มากก็น้อย

ในยุคดิจิตอลที่มีเทคโนโลยีไหลผ่านผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว ช่วงเวลาความสนใจของคนมีแต่จะหดสั้นลงๆ ดังนั้นการปล่อยมุกเด็ดเป็นระยะๆ จะทำให้ผู้ฟังรู้สึกตื่นตัวอยู่เสมอ แต่ก็อย่าทำให้มันตลกมากเกินไปจนเหมือนตลกคาเฟ่ เพราะอย่าลืมว่านักลงทุนทั้งหลายไม่ได้ต้องการลงทุนกับบริษัทของคุณ แต่เขาลงทุนกับเรื่องเล่าและความเชื่อว่าผลงานของคุณจะช่วยพลิกโฉมบริษัทและทำกำไรให้พวกเขาได้ต่างหาก

ต่อไปนี้เป็นทริปจากนักเดี่ยวไมโครโฟนเลื่องชื่อของโลกที่จะช่วยให้การส่งสาร พรีเซนเตชั่น และบริษัทของคุณโดดเด่นออกมาจากบริษัทอื่นๆ ที่อยู่ในรายชื่อ “น่าลงทุน” ของพวกเขา

  1. สร้างเรื่องราว

เรื่องเล่าที่ดีจะมีชีวิตอยู่เป็นนิรันดร์ Maya Angelou ระบุว่า ผู้คนจะลืมว่าคุณเคยพูดอะไร เขาะลืมว่าคุณเคยทำอะไร แต่เขาจะไม่มีวันลืมว่าคุณทำให้พวกเขารู้สึกอย่างไร

ลองร่างรายชื่อเรื่องตลกที่คุณมีในมือหรือพอคิดออกที่คุณมักเล่าในหมู่เพื่อนหรือครอบครัว เลือกเรื่องที่คิดว่าดีที่สุดและตลกแต่พองาม จากนั้นจดมันไว้ในกระดาษ

  1. หาจุดที่ตลก

ดูว่าเรื่องของคุณนั้นมีจุดที่ตลกตรงไหนบ้าง และพยายามเน้นจุดนั้นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างที่เชคสเปียร์เคยพูดไว้ “ความสั้นกระชับคือความตลกโปกฮา” หากคุณอยากเข้าสู่มุกตลกของคุณ ตัดคำฟุ่มเฟือยที่ไม่จำเป็นออกไป

  1. ปรับเปลี่ยนโครงสร้างเรื่องตลกคลาสลิกให้เข้ากับเรื่องของคุณเอง

ส่วนมากเรื่องตลกมักจะมีโครงสร้างสากลคล้ายๆ กัน

3.1.  เกริ่นนำ

3.2.  มุกเด็ด

3.3.  มุกเก็บตก (ถ้ามี)

  1. ใช้ศัพท์ที่เหมือนการเล่าเรื่องตลกดูบ้าง

ลองใช้คำศัพท์ประเภท “ประหลาด” “มหัศจรรย์” “น่าขนลุก” “ยาก” “โง่” หรือ “บ้า” ในเรื่องตลกที่สร้างขึ้นมาเพื่อดึงดูดความสนใจของคน

เทคนิคของนักเดี่ยวไมโครโฟนที่เก่งกาจมักจะเริ่มการพูดด้วย bookend technique หรือการดึงประโยคเด็ดในหนังสือขึ้นมาเกริ่นนำ วิธีการนี้จะทำให้เรื่องเล่าของคุณสมดุลกันระหว่างความเป็นทางการและความผ่อนคลาย

  1. ซ้อมการตอบโต้ในสถานการณ์ต่างๆ

ทำไมนักแสดงตลกมักจะตอบโต้และเล่นมุกได้อย่างเป็นธรรมชาติ คำตอบคือพวกเขาฝึกฝนน่ะสิ! ลองอ่านเรื่องราวของคุณออกเสียงแล้วอัดในเครื่องเล่นเทปเพื่อฟังอีกครั้ง หรือถ้ายังไม่มั่นใจลองโพสต์เสียงนั้นลงในชุมชนออนไลน์แล้วดูปฏิกริยาว่าพวกเขาขำมุกของคุณหรือไม่ หากผลตอบรับไม่ค่อยดีให้ลองรีไรท์เรื่องตลกตามโครงสร้างเรื่องในข้อสาม

  1. ทดลองการส่งสาร

ทำให้มั่นใจว่าคนฟังทุกคนเห็นคุณชัดเจน ผู้ฟังต้องเห็นตัวคุณอย่างชัดเจนเพื่อจะเชื่อเรื่องที่คุณเล่า

ฝึกซ้อมการยืนและท่วงท่าต่างๆ หน้ากระจกโดยถือขวดหนึ่งขวดไว้ในมือทั้งสองข้าง วิธีการนี้จะทำให้คุณไม่รู้สึกแปลกเวลาออกไปรายงานแล้วรู้สึกว่าทำไมมือของตัวเองมันช่างเกะกะจริงๆ ขณะที่ในช่วงที่จะยิงมุกเด็ดให้ยกเสียงให้สูงขึ้นหน่อยเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ

  1. เริ่มเรื่องอย่างแข็งแรง

ควรซ้อมช่วงเวลา 30 วินาทีแรกของการเล่าเรื่องอย่างดีเพราะมันจะทำให้ทุกคนสนใจได้ ส่วนมุกเด็ดให้เก็บไว้เล่นตอนจบเสมอ (เลียนแบบสตีฟ จอปส์สิ) ขณะที่หากคุณรู้ตัวว่ามีความแตกต่างบางอย่างที่คนฟังจะเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น รอยเปื้อนที่แขนเสื้อ สำเนียงคนต่างชาติ คุณควรชิงเล่นมุกนั้นก่อนเพื่อเรียกเสียงหัวเราะจากสิ่งรอบตัวก่อน

ควรยิ้มและสบตากับคนให้ได้มากที่สุด 30 วินาทีแรกเป็นช่วงเวลาที่จะทำให้ผู้ฟังชอบคุณ

  1. อย่าพูดเกินเวลา

บริหารเวลาของคุณให้ดี หากการพูดไม่มีกำหนดเวลา ให้กำหนดด้วยตัวเองแล้ววานใครสักคนให้ช่วยส่งสัญญาณบอกคุณเมื่อเหลือเวลาเพียง 1 นาที การพูดเรื่องตลกต้องจบเรื่องอย่างทรงพลังดังนั้นคุณต้องรู้เวลาที่แน่นอน

  1. ควบคุมผู้ฟังของคุณ

ถามคำถามปลายเปิดหรือปลายปิดตามที่คุณอยากให้ผู้ฟังพูดมากเท่าไหร่ ควรเปิดคำถามด้วยคำถามประเภท 5W คือ ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ และอย่างไร และหากคุณต้องการซื้อเวลา ให้ทวนคำถามของคนฟังแล้วพูดทำนอง “นั้นเป็นคำถามที่น่าสนใจมาก” เพื่อใช้เวลาคิดคำถามของคุณ

Source


  • 21
  •  
  •  
  •  
  •  
อุ้งทีนหมี
เตาะแตะในโรงเรียนชายล้วนแถวยศเส ก่อนเติบโตต่อในมหาวิทยาลัยริมฝั่งน้ำเจ้าพระยา ที่สุดจับพลัดจับผลูเข้าทำงานในนแวดวงสื่อสารมวลชนมาแล้วกว่า 4 ปี โต้ลมโต้ฝนทั้งในวงการข่าวต่างประเทศ เยาวชน ธุรกิจ การเมือง สังคม ฯลฯ แต่สุดท้ายกลับลำมาหลงรักวงการมาร์เก็ตติ้งที่ข้ามน้ำข้ามทะเลไปขี่จิงโจ้เรียนปริญญาโทมา เลยตัดสินใจหันหางเสือออกสู่การผจญภัยครั้งใหม่อีกสักตั้ง