เรียนรู้จากกรณีแบรนด์ดังของตะวันตกปรับตัว ไวรัสโควิด-19 ในจีน

  • 23
  •  
  •  
  •  
  •  

ที่มาภาพ shutterstock / โดย H.studio

หลังจากวิกฤตไวรัสโควิด-19 ระบาด ตั้งแต่ต้นปี 2020 ต้องยอมรับว่าทุกภาคส่วนตื่นตระหนกไปหมด ซึ่งก็ส่งผลกระทบต่อธุรกิจในจีน รวมถึงหลายประเทศที่เข้าไปบุกตลาดจีน และรวมถึงผู้ประกอบการไทยด้วย โดยเฉพาะผู้นำเข้า ภาคการท่องเที่ยว บริการ และคนที่กำลังเข้าไปจับตลาดในจีน

ตรงนี้เรามีกรณีศึกษาของสินค้าและแบรนด์จากตะวันตกบางกลุ่ม ที่ต้องปรับตัวหลังจากเหตุไวรัสโควิด-19 เพื่อประคองตัวในช่วงนี้ให้ผ่านพ้นไป รวมถึงปรับแผนการตลาดสำหรับในช่วงที่คาดว่าไวรัสจะเบาลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าด้วย โดยข้อมูลบางส่วนอ้างอิงจากากรสำรวจของ Jingdaily ซึ่งเรามาลองดูว่า บรรดาแบรนด์จากตะวันตก มีการปรับตัวอย่างไรบ้าว

มีกรณีของบางแบรนด์ในกลุ่ม Luxury เช่น กุชชี่ ชาแนล ที่เจอปัญหาอย่างหนักในเรื่องยอดขายในประเทศจีน เพราะไม่ได้อัพเดทข้อมูลให้มากพอ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมและความจำเป็นทางชีวิตของลูกค้าชาวจีน ในขณะที่แบรนด์ส่วนมากมีการอัพเดทข้อมูลและปรับเปลี่ยนการทำตลาดอย่างทันท่วงที ตัวอย่างเช่น การหันไปหาช่องทางออนไลน์มากขึ้น

ทำไมต้องออนไลน์ ที่จริงแล้วก็เป็นเรื่องปกติ เช่น คนจีนในมณฑลหูเป่ย ซึ่งรับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่อู่ฮั่น ทำให้การออกจากบ้านในเวลานี้เป็นเรื่องถูกห้าม และผู้คนก็กลัวที่จะออกมาด้วย บริษัทและหน่วยงานราชการหลายแห่งก็จำเป็นต้องปิดชั่วคราว ดังนั้นผู้คนเองก็ต้องหันมาใช้บริการสั่งสินค้าออนไลน์กัน ไม่ใช่แค่มากขึ้น แต่กลายเป็นช่องทางที่จำเป็นกับชีวิต ไม่ว่าจะเป็นข้าวของอุปโภคบริโภค ในขณะที่สินค้ากลุ่มฟุ่มเฟือยในช่วงนี้มียอดขายตกลงอย่างเป็นเรื่องธรรมดา

ที่มาภาพ shutterstock / โดย Papin Lab

กรณีของแบรนด์ Luxury จากตะวันตก มีตัวอย่างของ Prada และ Dior ที่ปรับตัวเร็วกว่าแบรนด์อื่น โดยให้ความสำคัญกับสถานการณ์ของลูกค้าชาวจีนมากเป็นพิเศษ แล้วหันมาเน้นช่องทางออนไลน์ในรูปแบบเชิงรุก คือพยายามเข้าถึงและสื่อสารกับลูกค้าทางออนไลน์ให้มากขึ้น โดยเฉพาะการอัพเดทบนเว็บไซต์

ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่าลูกค้าจำนวนหนึ่งหันมาใช้บริการส่งสินค้าจากแบรนด์เนมทั้งสองยี่ห้อนี้กันพอสมควร โดยแบรนด์ทั้งสองนอกจากใช้เว็บไซต์เป็น “หน้าร้าน” Store ในการโชว์สินค้าและรับสั่งสินค้าแล้ว ช่องทาง WeChat ก็เป็นเครื่องมือสำคัญในการยิงโปรโมชั่น และทำ Content ที่เข้าถึงลูกค้าได้ ซึ่งคนที่ไม่ถนัดเข้าทางเว็บไซต์ก็สามารถสั่งสินค้าจาก WeChat ได้เลยเช่นกัน

ที่มาภาพ shutterstock / โดย Jirapong Manustrong

แล้วยังมีแบรนด์ดังอย่าง Versace และ Luis Vitton ที่ออกมาสื่อสารกับลูกค้าทันที รวมถึงแบรนด์ Gucci ที่แม้ว่าจะปรับตัวไม่ทันในช่วงเกิดวิกฤต แต่ก็หันทำ Content เพื่อสื่อสารกับลูกค้าชาวจีนในช่วงเวลานี้ทันที

อีกจุดคือ การสร้างสรรค์ Content ในลักษณะเชิงบวก สื่อความรัก เพื่อแสดงว่าแบรนด์เหล่านี้มีความห่วงใยอย่างไรต่อสถานการณ์ในจีน ซึ่งเป็นไฟท์บังคับของการสื่อสารบนโซเชียลมีเดียด้วยครับ

ตรงนี้นับว่าเป็นความท้าทายสำหรบแบรนด์ดังจากตะวันตก ซึ่งทางออกอย่างหนึ่งก็คือพวกเขาพยายามทำแคมเปญการตลาด ซื้อหนึ่งแถมหนึ่ง ลดราคาสินค้า ไปจนถึงการทำ Content ในลักษณะที่ให้กำลังใจต่อคนจีน รวมถึงสร้างสรรค์การตลาดเพื่อหาจุดร่วมว่า ทำไมสินค้าบางประเภทถึงมีความจำเป็นในสภาวะนี้ แต่ตรงนี้ถือว่าเป็นโจทย์ยากสำหรับสินค้า Luxury แต่กลับกลายเป็นโอกาสสำหรับแบรนด์ท้องถิ่นเอง

แล้วในกรณีนี้ ก็อาจจะประยุกต์มาใช้กับของไทยได้เช่นกันครับ เพราะตอนนี้ที่กำลังมีปัญหาอย่างมากคือ การนำเข้าสินค้าจากจีน ที่โรงงานหลายแห่งปิดทำการชั่วคราว อย่างไม่มีกำหนด ดังนั้นทางออกของ SME คือการมองหาสินค้าแบรนด์ในประเทศ ซึ่งจะเป็นทางรอดได้ในช่วงนี้

 

 

เขียนโดย อิทธิชัย อรรถกระวีสุนทร
Expertise: China Marketing
อ่านบทความ Exclusive เพิ่มเติมได้ที่นี่

Copyright © MarketingOops.com


  • 23
  •  
  •  
  •  
  •  
Ittichai
ผู้ก่อตั้ง บริษัท เลเวลอัพ โฮลดิ้ง จำกัด ที่ปรึกษาด้านการตลาดจีน เจ้าของเพจ Level Up Thailand, Level Up China และ เว็บไซต์ Level Up Thailand (https://www.levelupthailand.com) มีความรู้ด้านการตลาดออนไลน์ในจีน เป็นนักพูดสร้างสรรค์ และผู้เขียนหนังสือ “บุกตลาดจีนด้วยโซเชียลมีเดีย”