อัพเดท 2022 วิเคราะห์สินค้าอะไรขายดีบน Cross-border E-Commerce

  • 3
  •  
  •  
  •  
  •  

 

สถานการณ์โควิดกลับมาระบาดรอบนี้ ผู้ประกอบการไทยน่าจะสาหัส แต่สำหรับคนที่ทำเรื่องนำเข้าส่งออกสินค้าจีน ตอนนี้ก็อาจเป็นเวลาให้กลับมาปรับปรุงและทบทวนกลยุทธ์รวมถึงหาทางตั้งหลักกันใหม่ โดยเฉพาะการทำตลาดแบบ Cross-border E-Commerce ซึ่งตอนนี้หลายฝ่ายเริ่มคาดการณ์แล้วว่าจะมีช่วงรีบาวด์กลับมาแน่ หลังจากเซี่ยงไฮ้เปิดเมืองกลับมา (แม้มันจะดีเลย์มาเยอะก็เยอะ) แล้วยังมีสถานการณ์สงครามในยูเครนอีกต่างหาก

จริงอยู่ว่า จีนเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของโลกในสินค้าหลายประเภทที่เข้ามาจากทั่วโลกและยังเป็นโรงงานโลกผู้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออก จัดจำหน่ายด้วย แต่หลังจากสถานการณ์โควิดระบาดรอบใหม่ ได้ส่งผลระทบอย่างหนักต่อมาตรการขนส่งสินค้า ซึ่งตอนนี้เชื่อว่าผู้ประกอบการของไทยหลายคนกำลังเจอปัญหากันอยู่

โดยในตอนนี้หลายสำนักด้านวิเคราะห์ทางการตลาดก็เริ่มคาดการณ์ถึงสถานการณ์หลังจากเปิดเมืองในภายหน้าแล้วว่า ตลาดจะเริ่มเข้าช่วงรีบาวด์ และรูปแบบของการค้าแบบออนไลน์ข้ามพรมแดนหรือ Cross-border eCommerce (CBEC) จะฟื้นกลับมา

สำหรับตลาดจีนในตอนนี้จะมีสองช่องทางหลักคือ

  • Normal Trade
  • Cross-border eCommerce

ซึ่งทั้งสองวิธีนี้มีรูปแบบและข้อเด่นที่แตกต่างกันครับ

แบบ Normal Trade ก็เป็นเรื่องปกติของการขายสินค้า มีผู้ผลิต โรงงาน ตัวแทนจัดจำหน่าย ตลาด ช่องทาง และผู้บริโภค

ส่วนช่องทางการค้าแบบ CBEC กำลังมาแรงและหลายฝ่ายพยายามกระโจนเข้ามา แม้ว่าจะค่อนข้างมีความเสี่ยงถ้าเพราะมีการเปิดเผยข้อมูลว่าสัดส่วนของการค้าแบบ CBEC ในรูปแบบ C2C (Consumer to Consumer) กำลังมีสัดส่วนน้อยลงตั้งแต่ช่วงที่เกิดโควิดใหม่ๆ ซึ่งสาเหตุมาจากการที่สินค้าประเภทที่ไม่ได้มียี่ห้อหรือแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ เริ่มถูกกังขามากขึ้นนั่นเอง

แต่ปรากฏว่า C2C ไปได้สวยสำหรับสินค้าในประเทศจีนเอง เพราะความต้องการสินค้าอุปโภคและบริโภคเป็นหลัก ในขณะที่ CBEC ที่มาแรงคือกลุ่มผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับยา สุขภาพ หน้ากากอนามัย

สำหรับปัญหาใหญ่ของ CBEC ก็คือปัญหาความน่าเชื่อถือและการผูกขาดตลาดของกลุ่ม ไต้โก้ว หรือ คนรับของหิ้วเข้าไปขาย โดยผ่านทางแพลตฟอร์มที่อนุญาตให้เข้ามาเปิดร้านขายของ แต่เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้วสินค้าของ C2C มักไม่มีคุณภาพที่ดีพอ เมื่อมีกระแสโซเชียลปากต่อปาก ก็ทำให้สินค้าท้องถิ่นเหล่านั้นเริ่มเสียความน่าเชื่อถือ แล้วที่สำคัญคือ สินค้าบางกลุ่มเกี่ยวข้องกับ สุขภาพ ความสวยงาม ซึ่งก็มีความเสี่ยงด้านการใช้งาน ดังนั้นเรื่องความน่าเชื่อก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นไปด้วยครับ

ซึ่งจากข้อมูลในภาพรวมพบว่ารูปแบบ B2C (Business to Consumer) ได้รับความน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยในกลุ่มนี้ก็คือ สินค้าประเภทที่มีแบรนด์ หรือเป็นยี่ห้อที่เป็นนิติบุคคลเป็นผู้ค้า ไม่ใช่สินค้าจากผู้ค้าทั่วไปหรือเป็นสินค้ามือสอง โดยในกลุ่มนี้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นราว 64% จากส่วนแบ่งตลาดของ CBEC ทั้งหมดในประเทศจีนเวลานี้ครับ

สำหรับกลุ่มสินค้ามาแรงของ CBEC ในประเทศจีนล่าสุดเมื่อปี 2021 พบว่าแนวโน้มของสินค้ายอดนิยม จากข้อมูลของ CIW ได้แก่

  • อาหารและยา
  • หน้ากากอนามัย กระดาษชำระ ผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ
  • เครื่องสำอาง สกินแคร์ ทั้งผู้ชายและผู้หญิง
  • สินค้าแม่และเด็ก นมผง และอื่น ๆ
  • อาหารและเครื่องดื่ม
  • ผัก ผลไม้

ส่วนในปี 2022 กลุ่มที่สำคัญมากขึ้นก็คือ กลุ่มของ ผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ สินค้าสำหรับแม่และเด็ก ที่มีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตประจำวัน เพราะแนวโน้มที่คนจีนจะให้ความสำคัญกับ สุขภาพ ความสะอาด สุขอนามัยขั้นพื้นฐาน จะมีมากขึ้นไปด้วย

แต่ในภาพรวมแล้ว มันก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เพราะถ้าสินค้าของเราไม่มีคุณภาพหรือยี่ห้อที่เป็นตัวช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ การบุกตลาดจีน ในช่วงที่จะเกิดขึ้นต่อไปอาจจะมีปัญหาได้เช่นกัน ตัวอย่างที่โดนมาแล้วก็คือ ทุเรียน ที่ผู้ส่งออกจากไทยหลายราย คัดเลือกทุเรียนเกรดต่ำ หรือเน่าเสียส่งไปจีน ทำให้เริ่มมีมาตรการควบคุมและระงับการการนำเข้าทุเรียนจากไทยลอตใหญ่ไปด้วยนั่นเอง

 


  • 3
  •  
  •  
  •  
  •  
Ittichai
ผู้ก่อตั้ง บริษัท เลเวลอัพ โฮลดิ้ง จำกัด ที่ปรึกษาด้านการตลาดจีน เจ้าของเพจ Level Up Thailand, Level Up China และ เว็บไซต์ Level Up Thailand (https://www.levelupthailand.com) มีความรู้ด้านการตลาดออนไลน์ในจีน เป็นนักพูดสร้างสรรค์ และผู้เขียนหนังสือ “บุกตลาดจีนด้วยโซเชียลมีเดีย”