“ธรรมนิติ x กรุงไทย” เพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจไทย ด้วย “e-Withholding Tax”

  • 2.8K
  •  
  •  
  •  
  •  

การดําเนินธุรกิจที่ดี ไม่ใช่โฟกัส แค่ยอดขาย และผลกําไรขาดทุนเท่านั้น แต่ต้องให้ความสําคัญกับ ด้าน “ภาษี” เพราะถือเป็นรากฐานของธุรกิจ และเมื่อไม่นานนี้ภาครัฐได้ออก “มาตรการภาษี” ใหม่ที่องค์กร ผู้ประกอบการทุกราย และคนไทยทุกคนควรรู้ นั่นคือ

กรมสรรพากรจะเริ่มนําระบบ “การหักภาษี ณ ที่จ่ายทางอิเล็กทรอนิกส์” หรือ “e-Withholding Tax” มาใช้โดยมี “ธนาคาร” ทําหน้าที่เป็นคนกลางระหว่าง “ผู้หักภาษี” “กรมสรรพากร” และ “ผู้ถูกหักภาษี” ทั้งขั้นตอนการโอนเงินเข้าบัญชีปลายทาง พร้อมหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้รอนําส่ง, นําส่งเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย และข้อมูลไปยังกรมสรรพากร, แจ้งผลการนําส่งข้อมูลภาษีหัก ณ ที่จ่ายไปยังผู้หักภาษีและผู้ถูกหักภาษี

แน่นอนว่าในช่วงเริ่มต้น ต้องมีมาตรการจูงใจให้เปลี่ยนจากการหักภาษี ณ ที่จ่ายรูปแบบเดิมที่อยู่บนเอกสารกระดาษ มาอยู่บนช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ และเพื่อสร้างสภาพคล่องทางธุรกิจ “กรมสรรพากร” จึงได้มีมาตรการลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเหลืออัตรา 2% จากเดิม 3% เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 *เฉพาะการจ่ายผ่านระบบ e-Withholding Tax เท่านั้น*

ด้วยความที่ “e-Withholding Tax” เป็นเรื่องใหม่สําหรับเมืองไทย ดังนั้น สถาบันวิชาชีพด้านกฎหมาย สอบบัญชี จัดทําบัญชี ภาษีอากร และเป็นสถาบันฝึกอบรมด้านวิชาชีพชั้นนําของไทยที่ได้รับการยอมรับมายาวนานอย่าง “ธรรมนิติ” จึงเน้นสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับลูกค้า ทั้งองค์กรใหญ่ ผู้ประกอบการธุรกิจ SME นักบัญชี – นักภาษี และประชาชนทั่วไป เพื่อเตรียมความพร้อมกับการเปลี่ยนระบบหักภาษี ณ ที่จ่ายแบบเดิมไปสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ

โดยเลือกใช้แพลตฟอร์ม “Krungthai e-Withholding Tax” ของ “ธนาคารกรุงไทย” ในการสร้างความสะดวกด้านภาษีให้กับทั้งผู้หักภาษีและผู้ถูกหักภาษี Marketing Oops! ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ “คุณกิตติยา อาภากุลอนุ กรรมการจัดการคนที่ 5 บริษัท ธรรมนิติ จํากัด (มหาชน)” ที่จะมาเล่ารายละเอียดของ “e-Withholding Tax” ใครจะได้ประโยชน์จากระบบการหักภาษี ณ ที่จ่ายทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึง การเตรียมความพร้อมของธรรมนิติ และปัจจัยที่บริษัท/ผู้ประกอบการธุรกิจควรใช้บริการ e-Withholding Tax

“วันที่ 1 ตุลาคม 2563 จะเริ่มใช้ e-Withholding Tax เพราะฉะนั้น ผู้ประกอบการที่จะใช้ต้องเตรียมตัว ไม่ว่าจะเป็นระบบบัญชีภายใน และบุคคล 2 คนที่ต้องเข้าใจในระบบ e-Withholding Tax คือ คู่ค้า และพนักงานภายในองค์กรเรา โดยเฉพาะฝ่ายบัญชี-ฝ่ายการเงิน และผู้บริหาร”

ฝ่ายบัญชีต้องทราบขั้นตอนของ e-Withholding Tax ในการดําเนินงานแบบฟอร์มในการคีย์ข้อมูล และที่สําคัญ คือ การเลือกใช้บริการ e-Withholding Tax ของธนาคารใดธนาคารหนึ่ง ระบบของธนาคารนั้นเป็นอย่างไร เพราะในระบบ e-Withholding Tax การกรอกข้อมูลต่างๆ ยังเป็นหน้าที่ของฝ่ายบัญชีการเงินของบริษัท หรือผู้ประกอบการธุรกิจฝั่งผู้หักภาษี และผู้ถูกหักภาษีต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอีกที เพื่อป้องกันความผิดพลาด ดังนั้น การใช้ e-Withholding Tax ต้องมีความเข้าใจทั้งนักบัญชี และผู้บริหารด้วย

ทำความรู้จัก “e-Withholding Tax”

การหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นเรื่องพื้นฐานของการทําธุรกิจ และเป็นขั้นตอนที่ดําเนินการเป็นประจํา แต่ด้วยความที่ผู้ประกอบการ 1 ราย มีสถานะเป็นทั้ง “ผู้หักภาษี” และ “ผู้ถูกหักภาษี” ในคนๆ เดียวกัน จึงต้องเจอกับความยุ่งยาก ซับซ้อนอยู่เสมอ

ดังนั้น การเกิดขึ้นของระบบ “e-Withholding Tax” จึงเป็น Solution ที่ตอบโจทย์ให้กับทั้งองค์กร ผู้ประกอบการธุรกิจ นักบัญชี และซัพพลายเออร์ โดยมี “ธนาคาร” รับหน้าที่เป็นคนกลางในการดําเนินงานต่างๆ อํานวยความสะดวก ทั้ง “ฝังบริษัท/ผู้ประกอบการธุรกิจที่เป็นผู้หักภาษี” กับ “ฝั่งผู้ถูกหักภาษี”

Win – Win ทั้งผู้ประกอบการธุรกิจ ทั้งฝั่งผู้หักภาษี และผู้ถูกหักภาษี

เมื่อ “ธนาคาร” ทําหน้าที่เป็นตัวกลางดําเนินการขั้นตอนต่างๆ ทําให้บริษัท หรือผู้ประกอบการที่เป็นผู้หักภาษี จะไม่ต้องจัดทําหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และไม่ต้องยื่นแบบและนําส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้กับกรมสรรพากร

“การที่ผู้หักภาษีต้องเสียค่าธรรมเนียม แต่เราได้ประโยชน์เรื่องของการลดระยะเวลาการทํางานด้านต่างๆ ทั้งลดเวลาการทํางานของนักบัญชี ลดความยุ่งยากในการทํางาน ลดค่าจัดส่งเอกสาร ลดค่าจัดเก็บเอกสาร และบริษัทไม่ต้องซื้อคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง เพื่อให้นักบัญชีนั่งทําภาษีหัก ณ ที่จ่ายลูกค้าแต่ละราย สามารถใช้เครื่องเดียว Run ได้หมด จึงเป็นการลดต้นทุนการใช้อุปกรณ์สํานักงาน ดังนั้น การเปลี่ยนมาเป็นระบบ Krungthai e-Withholding Tax จะเป็นการลดต้นทุนในระยะยาว และอนาคตวิธีการทําธุรกรรมผ่านอิเล็กทรอนิกส์จะเข้าสู่ระบบของธุรกิจมากขึ้น” คุณกิตติยา ขยายความเพิ่มเติม

เราเป็นพันธมิตรธุรกิจกับธนาคารกรุงไทยมาหลายปีแล้ว โดยใช้ธนาคารกรุงไทยเป็น Main Bank ในการเป็นช่องทางหลักรับเงินเข้ามาและจ่ายเงินให้กับลูกค้าต่าง ๆ ของบริษัทในเครือ เนื่องจากธรรมนิติ มีหลายบริษัทในเครือ แต่ละบริษัทมีลูกค้าค่อนข้างมาก ทําให้มี Transaction ต่าง ๆ เกิดขึ้น เพิ่มความคล่องตัวในการใช้บริการของธนาคาร เกิดจากที่กรุงไทยมีการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลมาอย่างต่อเนื่อง และอัพเดตข้อมูลต่าง ๆ จัดฝึกอบรมให้กับลูกค้าสม่ำเสมอ อย่างเช่น บริการ e-Withholding Tax ธนาคารก็ได้จัดอบรมเพื่อให้ความรู้กับลูกค้าของธรรมนิติเมื่อเร็ว ๆ นี้

“นักบัญชียุคใหม่” ต้องปรับตัว และเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล

ไม่มีธุรกิจไหน ไม่มีงานใด ไม่เจอ Technology Disruption ใครที่อัพเดททักษะความรู้ตลอดเวลา และปรับตัวเองให้ทันการเปลี่ยนแปลงธุรกิจนั้น คนทํางานสายอาชีพนั้น ย่อมสามารถดํารงอยู่ได้ท่ามกลางยุคดิจิทัล เช่นเดียวกับ “วิชาชีพบัญชี” ถึงแม้การทําบัญชี การสอบบัญชี บัญชีภาษีอากร เป็นหนึ่งในรากฐานสําคัญของทุกธุรกิจก็ตาม แต่การอัพเดท และเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล ที่เกี่ยวกับด้านบัญชี – ภาษีอากร และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จะทําให้คนๆ นั้น สามารถเติบโตบนเส้นทางนี้ได้ในระยะยาว

“ไม่ว่าจะ Technology Disrupt อย่างไร แต่สหวิชาชีพบัญชียังคงสําคัญ กระบวนการด้านบัญชี และภาษีอากร ยังคงต้องใช้ “คน” และ “เอกสาร” แต่ก็มีบางส่วนงานด้านบัญชี และภาษีอากรที่เปลี่ยนไปสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น e-Tax Invoice, e-Withholding Tax เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาในระบบการทํางานของนักบัญชี ก็ต้องปรับตัวเอง เรียนรู้การทํางานบนเทคโนโลยีใหม่ เพื่อให้บริการกับลูกค้าขององค์กร และเพื่อพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถของตัวเอง เพราะฉะนั้นในการปรับตัวของนักบัญชีในยุคนี้”

เราใช้คําว่า “นักบัญชียุคใหม่” ต้องเรียนรู้และปรับตัวใน 2 ด้านควบคู่กัน คือ

  1. เทคโนโลยี จะเห็นได้ว่าปัจจุบันเกือบทุกบริษัทเอาโปรแกรมบัญชีที่เหมาะกับกิจการตัวเองมาใช้ เพื่อลดเวลาการทํางานในบางขั้นตอนของการทําบัญชี
  2. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับด้านบัญชี และภาษีอากร เช่น กฎหมายภาษีบางตัวเป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่นักบัญชีรุ่นใหม่ต้องเรียนรู้สม่ำเสมอ

สําหรับ “ธรรมนิติ” ถือเป็น Local Firm ด้านบัญชี และภาษีอากรอันดับ 1 ของไทย มีการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง เพราะนอกจากเพื่อพัฒนาศักยภาพ ความรู้ความสามารถของบุคลากรที่จะให้บริการแก่ลูกค้าแล้วในอีกบทบาทหนึ่ง “ธรรมนิติ” ยังทําหน้าที่ให้ความรู้ ให้คําปรึกษาแก่ลูกค้า ทั้งองค์กรขนาดใหญ่ ผู้ประกอบการธุรกิจ SME และผู้ที่อยู่ในสหวิชาชีพนี้เช่นกัน

“ในส่วนของสหวิชาชีพ เราวางเป้าหมายว่าเราจะต้องเข้าไป “ยืนหนึ่ง” ให้ได้โดยเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการด้านวิชาชีพที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ รวมถึง กลุ่มลูกค้า SME ซึ่งเรารับทําบัญชี และสอบบัญชีให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเช่นกัน” คุณกิตติยา สรุปทิ้งท้ายถึงการปรับตัวของนักบัญชียุคใหม่ ที่ต้องไม่หยุดพัฒนาตัวเอง

ในวันนี้ Krungthai e-Withholding Tax เป็นอีกหนึ่งรูปแบบ ระบบภาษี ณ ที่จ่ายแบบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ตอบโจทย์เรื่องภาษี ช่วยลดต้นทุนการดําเนินงานลดระยะเวลาการทํางาน เพิ่มประสิทธิภาพ ให้กับองค์กร

#Krungthai #eWithholdingTax


  • 2.8K
  •  
  •  
  •  
  •