อนาคตของโรงภาพยนตร์จะเป็นอย่างไรในยุค Streaming Service

  • 506
  •  
  •  
  •  
  •  

เมื่อเร็วๆนี้มีข่าวที่ Scarlett Johansson นักแสดงหนังเรื่อง Black Widow ฟ้อง Disney ที่เอาหนังเรื่องดังกล่าวลง Disney Plus ทำให้รายได้จากโรงภาพยนตร์ของเธอลดลง เป็นการละเมิดสัญญาระหว่างตัวนักแสดงกับทาง Disney

ทำให้คิดถึงอนาคตของโรงภาพยนตร์ในยุคที่ Streaming App มีบทบาทในชีวิตของคนในด้านความบันเทิง จริงๆมีบทบาทตั้งแต่ก่อน COVID-19 ระบาดด้วยซ้ำ แต่การระบาดของ COVID-19 อาจทำใหหลายๆธุรกิจรวมถึง Disney เองต้องตัดสินใจเอา Black Widow ลง Disney+ อย่างช่วยไม่ได้เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่ไม่สะดวกเข้าไปดูหนังในโรงภาพยนตร์

COVID-19 เป็นปัจจัยส่งเสริมการดูคอนเทนต์ผ่าน Streaming Service มากขึ้น

Source: https://www.statista.com/statistics/947757/theaters-streaming-watching-movies/

 

จากการสำรวจออนไลน์กับคน 2,200 คนที่มีอายุมากกว่า 18 ปีในอเมริกา จะเห็นว่าเพียงแค่ไม่ถึง 2 ปี มีจำนวนคนที่เลือกที่จะดูภาพยนตร์เรื่องหนึ่งเป็นครั้งแรกใน Streaming App มากขึ้นเรื่อยๆ แทนที่จะดูในโรงภาพยนตร์เป็นครั้งแรก โดยเฉพาะช่วงมีนาคมถึงมิถุนายนปี 2020 ซึ่งคนเห็นว่าอยู่บ้านดูหนังปลอดภัยจากการติดเชื้อมากกว่า

ดังนั้นการเติบโตของบริการ Streaming Service จึงไม่ใช่แค่เพราะว่าผู้บริโภคสะดวกที่จะดูคอนเทนต์ที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ตลอดเวลา ไม่ต้องเดินทางไปโรงฯ แต่การเข้ามาของโรคระบาคทำให้ Streaming Service เป็นช่องทางในการให้ความบันเทิงแก่ผู้บริโภคที่ปลอดภัยกว่าดูในโรงภาพยนตร์ โรคระบาดส่งเสริมวัฒนธรรมให้ผู้คนทำงานจากที่บ้านกันมากขึ้น ทำให้มีเวลาดูคอนเทนต์ที่บ้านได้มากขึ้นไปอีก แน่นอนว่ายอดการ Subscribe ของ Streaming Service และยอด View ต้องเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวแน่ๆจากช่วงกักตัวอยู่บ้าน

นี่ยังไม่คิดถึงค่าสมัครสมาชิกที่ได้ดูคอนเทนต์ได้หลายเรื่อง คุ้มกว่าการได้ดูหนังเรื่องเดียวในโรงฯ ตรงนี้แหละที่เป็นประเด็นการฟ้องร้องอย่างที่เกริ่นไป พอผู้บริโภคมีทางเลือกในการดูคอนเทนต์ผ่าน Streaming Service ก็เลือกที่จะไม่ไปดูที่โรงฯ ไม่ได้รีบที่จะดูเป็นคนแรกๆและได้ดูคอนเทนต์อย่างสะดวก ปลอดภัย ทำให้โรงฯมีโอกาสทำรายได้ได้น้อยลงตามมา

คุณค่าของโรงภาพยนตร์ที่ Streaming App ยังไม่สามารถตอบโจทย์ได้ 100%

ความพยายามในการสร้าง Original Content ของ Streaming Service บวกกับพัฒนาคุณภาพของคอนเทนต์ ส่วนหนึ่งเพื่อให้ได้คอนเทนต์เทียบเท่ากับในโรงภาพยนต์มากที่สุด แต่ถึงอย่างนั้นโรงภาพยนตร์ก็ยังมี Value Proposition ที่ Streaming Service ยังไม่สามารถให้ได้ 100% เช่นประสบการณ์ในการดูภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ แน่นอนว่ามันคนละเรื่องกับการดูคอนเทนต์ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์และสมาร์ทดีไวซ์ อีกทั้งโรงภาพยนตร์ยังคงเป็นที่ๆผู้บริโภคจะสามารถรวมตัวเพื่อที่จะไปดูภาพยนตร์ด้วยกัน ซึ่งเป็นคุณค่าเชิงสังคมที่ Streaming Service ยังให้ไม่ได้ 100%

ยกตัวอย่างง่ายๆ ลองเทียบประสบการณ์ที่เราได้ดู Avenger: End Game ครั้งแรกกับคนอื่นในโรงภาพยนตร์ ฉากสำคัญๆที่คนต้องส่งเสียงโห่ร้องดีใจพร้อมกันเป็นประสบการณ์ที่ถ้าดูใน Streaming Service ครั้งแรกในบ้านคงให้ไม่ได้แน่ๆ

ซึ่งผู้ให้บริการ Streaming Service ไม่ได้มองข้ามประเด็นนี้ เช่นมีการปล่อยคอนเทนต์ให้ดูบนโรงภาพยนต์เป็นรอบปฐมทัศน์ก่อนที่จะได้ดูใน Streaming Service ของตัวเอง หรือให้ดูบนโรงภาพยนตร์สักพัก ก่อนที่จะนำมาลงใน Streaming Service (ถ้าจำไม่ผิด Black Widow ก็จะเข้าข่ายนี้เพื่อต้องการทำรายได้จากโรงภาพยนตร์ก่อนเช่นกัน) มีความพยายามของผู้ให้บริการอย่าง Netflix ที่ต้องการซื้อโรงภาพยนตร์ด้วยซ้ำในบางประเทศ

เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ได้ทั้งในโรงฯและจากหน้าจอส่วนตัวนั่นเอง

 

ความเห็นส่วนตัวคือปรากฎการณ์โรงภาพยนตร์-Streaming Service ก็จะคล้ายๆกับปรากฎการณ์ธนาคารตามสาขา- Mobile Banking สื่อสิ่งพิมพ์-Social Media ที่อย่างหลังถึงจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค แต่ก็ไม่สามารถทดแทนประสบการณ์เดิมได้ทั้งหมดนั่นเองครับ

 

บทความนี้เผยแพร่ใน Marketing Oops เป็นที่แรก


  • 506
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th