พลิกโฉมวงการแพทย์ไทย สู่ ‘Next Chapter of Health’ เครื่องมือกระตุ้น ‘เศรษฐกิจ’ ปลูกฝังแนวคิด ‘Early Care’ ปรับตัวเป็นชาว Blue Zone

  • 256
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ตลอด 5 เดือนที่ผ่านมา การระบาดของไวรัส COVID-19 เรียกได้ว่าเขย่าและสั่นสะเทือนวงการสาธารณสุขไปทั่วโลก ขณะเดียวกัน หลายๆ ประเทศได้ชื่นชมยกย่องให้ไทยเป็นประเทศที่มีระบบสาธารณสุขที่ดีแห่งหนึ่งของโลก เนื่องจากสามารถรับมือกับสถานการณ์ได้ดี ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อที่น้อยกว่า 3,100 ราย เสียชีวิตไม่ถึง 60 คน ดังนั้น ในงานสัมมนาออนไลน์ THE STANDARD ECONOMIC FORUM กับหัวข้อ ‘The Next Chapter of Health’ จะพาเราร่วมไขกุญแจไปด้วยกัน ว่าทั้งจุดแข็ง-จุดอ่อน ของสาธารณสุขไทยเป็นอย่างไร แล้วมีอะไรที่ควรปรับเพื่ออนาคตอันใกล้นี้บ้าง

 

Credit Photo : THE STANDARD ECONOMIC FORUM

Next norm ‘วงการแพทย์ จะเปลี่ยนไปอย่างไร?

นพ.ชัยรัตน์ ปัณฑุรอัมพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวชและโรงพยาบาลบีเอ็นเอช กล่าวว่า ก่อนที่เราจะมองไปถึงสเต็บของการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เราต้องกลับไปสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคก่อนว่า มีอะไรที่เปลี่ยนไปจากเดิมบ้าง เพราะหากเทียบกับสมัยก่อนพฤติกรรมผู้บริโภคถือว่าจะเปลี่ยนไปเป็นกราฟที่เห็นชัดๆ ได้ช้ามาก แต่ในสมัยนี้กราฟการเปลี่ยนแปลงเรียกได้ว่าเป็นแบบ ‘exponential graph’ คือ การเติบโตด้วยอัตราความเร็วสูง

ดังนั้น หากถามว่า Next Norm สำหรับวงการแพทย์จะต้องเป็นอย่างไร? ง่ายๆ ก็คือ เราจะต้องรู้จักพฤติกรรมของผู้บริโภคก้าวให้ทัน ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

Credit Photo : THE STANDARD ECONOMIC FORUM

ยกตัวอย่างง่ายๆ ให้เห็นภาพมากขึ้น เช่น พฤติกรรมของคนในปัจจุบันแทบไม่มีใครอยากมาโรงพยาบาล ดังนั้น คำว่า New Norm ก็คือ การแสดงให้เห็นถึงมาตรฐานความปลอดภัยเรื่องการคัดแยกผู้ป่วยติดเชื้อได้ชัดเจน

อีกหนึ่งตัวอย่างเช่น “ในเมื่อผู้บริโภคไม่มาหาเรา เราก็ต้องไปหาพวกเขา” เช่น ระบบ Home Care หรือ Telemedicine นั่นคือ การนําเทคโนโลยีมาช่วยให้ผู้ป่วยและแพทย์สามารถพูดคุยตอบโต้กันได้แบบ Real-time รวมไปถึงผู้ป่วยสามารถวัดไข้ และอาการเบื้องต้นได้จากที่บ้าน ตามคอนเซ็ปต์ ‘anywhere – anyone – anytime’ เป็นต้น

 

เทรนด์ early care สนอง pain point – แพทย์กลายเป็น ‘health coach’

จากนั้นเราถึงนำไปต่อยอดสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อตอบสนอง pain point ของผู้บริโภคให้ดีขึ้นในอนาคต (อันใกล้) ซึ่งปัญหาเรื่อง health concern มาแรงมาก ยิ่งในสถานการณ์ COVID-19 เรายิ่งต้องสนอง pain point ให้เร็วขึ้น และมันต้องครอบคลุมตั้งแต่ ‘ทำอย่างไรไม่ให้เราป่วย’ ยึดมั่นเรื่อง early care มากกว่าที่จะมาโฟกัสเรื่อง sick care เหมือนเมื่อก่อนแล้ว

นอกจากนี้ นพ.ชัยรัตน์ ยังประเมินด้วยว่า เทรนด์ในอนาคต ‘predict care’ ต้องมา! คือ บุคคลากรทางการแพทย์ต้องคาดการณ์และประเมินล่วงหน้าให้ได้ว่า จะแก้ปัญหาอย่างไร เช่น ในอนาคตแพทย์อาจไม่ได้แค่รักษาคนป่วยแล้ว แต่ต้องคิดล่วงหน้าไปอีกขั้นว่าทำอย่างไรให้คนไม่ป่วยกัน อนาคตเราอาจจะเห็นแพทย์เป็น ‘health coach’ กระตุ้นให้คนรักสุขภาพมากขึ้น ป้องกันไม่ให้เจ็บป่วย

 

 

ส่วนด้านเทคโนโลยีเราอาจจะได้เห็นว่าในอนาคตนี้ เช่น กระจกที่มีระบบเซนเซอร์ประเมินภาวะทางอารมณ์ จนออกมาเป็นสภาพภายนอก ด้วยการโชว์เป็น health scores ให้เรา พร้อมระบบเตือนว่า อีก 3 เดือนข้างหน้าถ้ายังไม่ปรับพฤติกรรม, ควบคุมน้ำหนัก สภาพคุณจะเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นแน่นอน

สรุปง่ายๆ ก็คือ “New Norm ในอุตสาหกรรมการแพทย์จะไม่ยึดถือแค่มูลค่าอีกต่อไปว่าสร้างรายได้เท่าไหร่ หรือมีผู้ป่วยกี่คน แต่จะเน้นไปที่ ‘คุณค่า’ ที่ให้กับผู้บริโภค รวมไปถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคลากรทางการแพทย์ให้ active ในเชิงรุกมากขึ้นด้วย”

 

 

Credit Photo : THE STANDARD ECONOMIC FORUM

ปรับ Mindset กระทรวงสาธารณสุขสู่ ‘Next Chapter of Health’ กระตุ้นเศรษฐกิจได้

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงปรากฏการณ์คำว่า New Normal ว่าคาดการณ์กันไปต่างๆ นานา แต่เราไม่มีทางรู้ว่าเทรนด์นี้จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่? เหมือนตอนที่เกิดวิกฤตครั้งที่ผ่านๆ มา เช่น ไข้หวัดสเปนเมื่อปี 1918, SARs ที่มีการระบาดเมื่อปี 2003 ที่ฮ่องกง-สิงคโปร์ และ สึนามิ ที่เกิดขึ้นในไทย ที่เราก็ต่างคาดการณ์ว่าอะไรๆ จะเปลี่ยนไป แต่พอทุกอย่างหายไปสถานการณ์ดีขึ้น กลับพบว่าพฤติกรรมทุกอย่างการใช้ชีวิตของคนกลับคืนสู่ปกติ

ในขณะที่อีกมุมหนึ่งที่ต้องคิด นั่นคือ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ที่เกิดขึ้นแล้วรวมถึงเหตุการณ์ล่าสุด COVID-19 เราสามารถเรียนรู้อะไรจากมัน และช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมานี้ หากวันนึงพฤติกรรมคนเปลี่ยนไปจริงๆ อะไรที่สามารถต่อยอดวงการแพทย์ให้ดีขึ้นได้ สำหรับยุทธศาสตร์สุขภาพแห่งอนาคตในมุมมองของผม จะแบ่งได้เป็น 2 อย่าง ได้แก่

1.ยุทธศาสตร์สุขภาพเพื่อสร้างสุขภาพ

คิดภาพให้เป็นเหรียญ 2 ด้านที่เราต้องทำให้ตั้งรับให้ได้ทั้ง 2 อย่าง ด้านหนึ่งเป็นแง่ของ foundation หรือ รากฐานของระบบสุขภาพของไทย และอีกแง่ก็คือ ต้องปรับแนวทางให้ได้ 2 แบบ คือ ต้องว่องไว – ยืดหยุ่น เมื่อเผชิญกับวิกฤตใดๆ ก็ตาม ที่สำคัญที่เราจะเห็นชัดขึ้น (จากแนวคิดเดิมเมื่อ 40 ปีก่อน) คือ สุขภาพ ไม่ใช่แค่ปัญหาของหมออีกต่อไป แต่ต้องมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ผู้บริโภคด้วย ถอยไปให้ถึงหลัก Self care อย่างแท้จริง

2.ยุทธศาสตร์สุขภาพที่สร้างเศรษฐกิจ

เราควรจะต้องเปลี่ยน Mindset จากเดิมที่เป็นแค่กระทรวงดูแลเรื่องสุขภาพเป็นหลัก ต้องปรับภาพให้เป็น ‘กระทรวงเศรษฐกิจ’ ไปในตัวด้วย ไม่ใช่นึกถึงแค่กระทรวงการคลัง หรือ กระทรวงพาณิชย์เท่านั้น ปัจจุบันงบประมาณของกระทรวงสุขภาพมีไม่ถึง 20 ล้านบาท เมื่อเทียบกับงบประมาณของฮ่องกงที่มีมากถึง 14 ล้านล้านบาท บางสิ่งบางอย่างการพัฒนา การวิจัย R&D ก็ต้องใช้งบประมาณที่เหมาะสม

 

 

HEPA ต้องมา! ศูนย์รวมสุขภาพ – เศรษฐกิจเข้าด้วยกัน

ทั้งนี้ นพ.สุรพงษ์ ได้ทิ้งท้ายข้อเสนอแนะที่ว่า แนวคิดที่จะผลักดันให้กระทรวงสาธารณสุขสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ต้องเกิดขึ้นจริง ตราบใดที่เรามีการเสนอเจ้าภาพที่รับผิดชอบได้โดยตรง และมีความร่วมมือมือทุกมิติ พร้อมเสนอชื่อโครงการจัดตั้งสำนักงาน HEPA (Health Economy Promotion Agency) ให้เป็นองค์กรที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง เพื่อสนับสนุนและพัฒนาให้ประเทศไทยเป็น ‘Wellness Country’ เพราะจุดเด่นในเรื่องนี้เราสามารถเชื่อมการภาคการท่องเที่ยวได้

ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องช่วยกันผลักดันให้เกิด Wellness country ขึ้น ผมเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ เพราะหากเทียบกับหลายๆ ประเทศทั่วโลกที่ประชาชนเข้าถึงระบบการแพทย์ได้ยากกว่าไทย เช่น ญี่ปุ่น ที่โรงพยาบาลไม่ได้เปิด 24 ชั่วโมง (เฉพาะหน่วยฉุกเฉินเท่านั้น) และ สหรัฐอเมริกา ที่ประชาชนบางกลุ่มต้องใช้เวลาถึง 1 เดือนกว่าจะถึงคิวรับการรักษาได้ เป็นต้น

ดังนั้น การที่เราจะยกระดับตัวเองให้เป็น ‘Medical Hub’ ของภูมิภาค เป็นศูนย์กลางของระบบ Well-being ทั้งหลาย รวมไปถึง ธุรกิจสปาของไทย ซึ่งโด่งดังมากในระดับโลก ยุทธศาสตร์เหล่านี้เราสามารถกระตุ้นให้กลายเป็นเม็ดเงินได้ สร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศได้

 

Credit Photo : THE STANDARD ECONOMIC FORUM

วงการสุขภาพไทยขยับตัวสู่ ‘Blue zone’ สุขภาพดี อายุยืน มีความสุข

ด้านของ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ในฐานะที่เป็นนักวิเคราะห์เศรษฐกิจแถวหน้าของไทย ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) ได้ให้มุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับ วิถี Blue zone หรือ กลุ่มคนที่ดูแลสุขภาพ มีความสุข และมีวิธีการกินอาหารที่ทำให้อายุยืน ว่าเป็นแนวทางที่ไทยควรมุ่งไปชัดเจนขึ้นหลังจากนี้ โดยต่อยอดจุดแข็งของอุตสาหกรรมสุขภาพไทยให้แข็งแรงขึ้น

ทั้งยังพูดถึงความสำคัญของการศึกษาเรื่องการปรับ พันธุกรรม หรือ ยีน (Gene) ว่าเป็นกุญแจสำคัญอย่างหนึ่งที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าของวงการแพทย์ในอนาคต รวมถึงของไทยด้วย ซึ่งได้พูดอ้างในกรณีของสหรัฐฯ ที่มีการแบ่งยีนหรือจีโนมได้แล้วตั้งแต่ปี 2003 จนถึงตอนนี้ทำให้มีเทคโนโลยีทางการแพทย์เกิดขึ้นมากมาย

โดยงานวิจัยของสหรัฐฯ ได้แบ่งช่วงอายุของสุขภาพอย่างน่าสนใจ ช่วงอายุ 40-50 ปี ผู้บริโภคจะยังแข็งแรงไม่พบปัญหาสุขภาพมากนัก ถ้าไม่มีโรคร้ายที่รุนแรง – อายุ 50-80 ปี ปัญหาสุขภาพจะขึ้นอยู่กับ lifestyle กินอย่างไร ใช้ชีวิตอย่างไร – 85 ปีขึ้นไป ปัญหาสุขภาพจะขึ้นอยู่กับยีน

ดังนั้น ไทย เป็นหนึ่งในประเทศที่มีผู้สูงอายุมากที่สุดของโลก ทั้งยังมีคนที่เป็นโรคอ้วนสูงมากเช่นกัน การวิจัยและศึกษาเรื่องยีนมีความสำคัญ และช่วยให้สุขภาพคนไทยดีขึ้นได้ถ้าเราประสบความสำเร็จ พูดได้ว่าในอนาคตของการแพทย์ หมอทุกๆ คนต้องปรับตัวเองเช่นกันให้เป็นมากกว่าหมอรักษาคนทั่วไป กลายเป็น พันธุวิศวกรรม (genetic engineering)

ไทย มีภาพลักษณ์ที่ดีเป็นประเทศที่สามารถรับมือกับสถานการณ์ COVID-19 ได้เร็วประเทศหนึ่ง เราสามารถพัฒนาไปสู่ระบบสาธารณสุขที่ดีขึ้น ทำให้ระบบ Health – Public health – Health Security ของโลกมาอยู่ที่เราได้เช่นเดียวกัน ซึ่งหากเรายกระดับและสร้างความน่าเชื่อถือได้ เราจะกลายเป็นหนึ่งใน global supply chain ได้เลย

 

ผลักดัน วงการแพทย์ไปสู่ ความหวังใหม่ที่โมเดิร์นขึ้น

นพ.ชัยรัตน์ กล่าวสรุปไว้ว่า Wellness ของไทยต้องมีความหวังใหม่ ที่ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์โลก ผมมองว่า แพทย์ในอนาคตต้องเรียนรู้การควบคุม Robot, ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ไม่ใช่ให้สิ่งเหล่านี้มาแทนที่เรา ทำงานร่วมกันให้ได้ นอกจากนี้รัฐต้องกระจายอำนาจให้โรงพยาบาลสามารถจัดสรรทรัพยากรได้เอง

ทั้งนี้สิ่งที่แพทย์ในอนาคตจะต้องมีอีกอย่าง คือ High Touch และ High Trust ไม่ใช่แค่เฉพาะวิชาการหลักที่ต้องเรียนรู้ แต่ต้องเข้าใจการรักษาจิตใจคนด้วยพวก Soft skills ต่างๆ แพทย์ต้องมี EQ ไม่ใช่แค่ IQ ต้องสร้างความไว้วางใจให้คนแล้วใช้เทคโนโลยีให้เป็น นั่นถึงจะเป็นการยกระดับวงการการแพทย์อย่างแท้จริง

ส่วน ดร.ศุภวุฒิ กล่าวว่า การแพทย์ต้องให้ความสำคัญกับคำว่า ‘Care’ high trust ที่ดีและเข้าถึงผู้คนจะกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวของไทยไปด้วย “แปลงความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาเป็นเศรษฐกิจให้ได้” แต่ทุกอย่างต้องเริ่มจากคนไทยก่อนสร้างภาพลักษณ์ให้เราเป็นชาว Blue zone ให้ได้ก่อน

ทิ้งท้ายด้วย นพ.สุรพงษ์ ที่พูดย้ำว่า ‘จิตสำนึกของวิชาชีพ’ ต้องมีสูงมาก วิชาการและเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงตลอด แต่จิตสำนึกของวิชาชีพจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง และ Robot ก็ไม่สามารถมาแทนที่ได้ด้วย ที่สำคัญภาครัฐต้องสนับสนุนการผลิตจำนวนบุคคลากรทางการแพทย์ไม่ใช่แค่มีเพียงพอ แต่สามารถส่งออกในภูมิภาคได้

 

 

ที่มา : THE STANDARD ECONOMIC FORUM


  • 256
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม
CLOSE
CLOSE